Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1331
Title: การลดต้นทุนการผลิตสำหรับโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์แบบถอด-ประกอบได้
Other Titles: Production cost reduction for knock-down furniture plant
Authors: ภาวิณี อนุสรณ์เสรี, 2518-
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suthas.R@chula.ac.th
Subjects: การควบคุมต้นทุนการผลิต
โรงงานผลิตเครื่องเรือนแบบถอด-ประกอบได้
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมและหาแนวทางในการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตของโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้แบบถอด-ประกอบได้ ซึ่งในปัจจุบันโรงงานตัวอย่างใช้วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตโดยการประมาณการค่าวัตถุดิบและค่าแรงงานที่เกิดขึ้นจริงและปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตลงในแต่ละผลิตภัณฑ์ตามสัดส่วนปริมาณการผลิตที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น ทำให้ต้นทุนการผลิตที่ได้คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ในการศึกษาหาระบบต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมของโรงงานตัวอย่างนี้ ผู้วิจัยได้จัดทำระบบต้นทุนการผลิตแบบต้นทุนกระบวนการสำหรับสินค้า ได้แก่ ตู้ ขนาด 4 ฟุต 3 ลิ้นชัก และเตียง ขนาด 5 ฟุต เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีลูกค้าสั่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของสินค้าทั้งหมด โดยเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตและการจัดทำรูปแบบเอกสารที่ใช้สำหรับฝ่ายผลิตและเอกสารบันทึกค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อเก็บบันทึกไว้ในแต่ละเดือน ได้แก่ ค่าวัตถุดิบทางตรง, ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งค่าใช้จ่ายการผลิตจะมีการปันส่วนเป็น 2 แบบ ได้แก่ การปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าสู่กระบวนการโดยใช้ ชั่วโมงแรงงานทางตรง เป็นตัวขับเคลื่อนต้นทุน และการปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ โดยใช้ค่าแรงงานทางตรงและค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการ เป็นตัวขับเคลื่อนต้นทุน และนำข้อมูลเหล่านี้มาคำนวณหาต้นทุนการผลิตต่อไปสำหรับการศึกษาเรื่องการลดต้นทุนการผลิตนั้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลในด้านการผลิต พบว่าการสูญเสียในการผลิตส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสูญเสียวัตถุดิบและการสูญเสียเวลาจากการรอคอยงานในกระบวนการผลิต ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 88 ของมูลค่าความสูญเสียที่เกิดขึ้น จึงหาวิธีการในการลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นและดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ได้เสนอไว้ ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานของปริมาณวัตถุดิบที่ใช้, การวางแผนการผลิตและการจัดงานเข้าในแต่ละกระบวนการ ผลจากการนำระบบต้นทุนกระบวนการมาใช้ทำให้ทราบต้นทุนการผลิตของตู้ขนาด 4 ฟุต 3 ลิ้นชัก เท่ากับ 872.58 บาท/ตัว และเตียง ขนาด 5 ฟุต เท่ากับ 890.07 บาท/ตัว และจาก การดำเนินการตามแนวทางที่ได้เสนอแนะกับโรงงานตัวอย่างนี้ ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตของตู้ ขนาด 4 ฟุต 3 ลิ้นชักลงได้ร้อยละ 13 จากการเปรียบเทียบข้อมูลต้นทุนการผลิตต่อหน่วยในช่วงก่อนปรับปรุง เท่ากับ 1,010.05 บาท/ตัว และช่วงหลังปรับปรุง เท่ากับ 872.58 บาท/ตัว
Other Abstract: The objectives of this thesis were to study a suitable production cost system : process cost system and to find out the approaches in order to reduce loss in the knock-down furniture company. This company calculated the production cost by estimating the material cost and labour cost that were allocated by the actual production quantity which it deviated from the actual cost. To study the proper production cost system of this company, the researcher established the production cost system by using the process cost system for 4 feet high cabinet and 5 feet long bed because they were ordered 70% of total products. For this research, its 7 processes of the production were evaluated and format documents for recording all processes and expenses ; direct labour cost and factory overhead cost which was divided into 2 types ; 1) common cost to process 2) common cost to product for calculating the production cost. From collecting and analyzing production data, it was found that there were 88% of value of loss caused by material loss and time loss from waiting workpieces in the process line. To reduce loss in production process, root causes were identified to implement the proposed production improvement. The approaches were 1) determining the standard used material in processes 2) production planning, and 3) production scheduling. After implementing this production system, the production cost of 4 feet high cabinet was 872.58 baht/unit and the production cost of 5 feet long bed was 890.70 baht/unit. From proposed approaches, the production cost of 4 feet high cabinet was reduced to 13% when comparing the production cost before the improvement period with the one after the improvement period.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1331
ISBN: 9741715897
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pavinee.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.