Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1337
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิตติ อินทรานนท์-
dc.contributor.authorอภิชาติ แผ้วพาลชน, 2509--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-02T04:19:47Z-
dc.date.available2006-08-02T04:19:47Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741709315-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1337-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractศึกษาหาขีดจำกัดสูงสุดที่ยอมรับได้ในการออกแรงเข็นและลากรถเข็น และสร้างแบบจำลองเพื่อทำนายน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ มีระดับปัจจัยที่ศึกษาคือ น้ำหนักบรรทุกของรถเข็น (140 กก. 700 กก. และ 1,200 กก.) ชนิดของพื้น (พื้นคอนกรีต พื้นกระเบื้องยาง และพื้นกระเบื้องยางที่เคลือบน้ำยาขัดพื้น) และชนิดของวัสดุที่ใช้ทำล้อรถเข็น (ล้อไนล่อนและล้อเหล็ก) คำนวณค่าแรงกดอัดบริเวณหลังส่วนล่าง (L5/S1 disc) โดยใช้แนวทางชีวกลศาสตร์ และเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำ Action Limit (AL) ที่ 3,400 นิวตัน และมาตรฐานขั้นสูง Maximum Permissible Limit (MPL) ที่ 6,400 นิวตัน คำนวณค่าน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ขณะที่แรงกดอัดบริเวณหลังส่วนล่าง มีค่าเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำและขั้นสูง ผลการทดลองพบว่า น้ำหนักสูงสุด (ขีดจำกัดสูงสุดที่ยอมรับได้) ของการลากจะมากกว่าการเข็นในทุกกรณี และปัจจัยน้ำหนักบรรทุกกับชนิดของพื้นเท่านั้น ที่มีผลต่อแรงกดอัดบริเวณหลังส่วนล่างอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ชนิดของล้อไม่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ค่าน้ำหนักสูงสุดที่ยอมรับได้ของกรณีการเข็น (1) บนพื้นคอนกรีตที่ AL เป็น 193.0 กก. และที่ MPL เป็น 675.4 กก. (2) บนพื้นกระเบื้องยางที่ AL เป็น 147.4 กก. และที่ MPL เป็น 572.6 กก. (3) บนพื้นกระเบื้องยางที่เคลือบน้ำยาขัดพื้นที่ AL เป็น 149.9 กก. และที่ MPL เป็น 608.6 กก. กรณีการลาก (1) บนพื้นคอนกรีตที่ AL เป็น 204.6 กก. และที่ MPL เป็น 1,195.5 กก. (2) บนพื้นกระเบื้องยางที่ AL เป็น 151.0 กก. และที่ MPL เป็น 858.3 กก. (3) บนพื้นกระเบื้องยางที่เคลือบน้ำยาขัดพื้นที่ AL เป็น 177.1 กก. และที่ MPL เป็น 996.6 กก. และสำหรับสมการเพื่อทำนายน้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่ยอมรับได้ สำหรับงานเข็นและลากบนพื้นต่างๆ ถูกกำหนดโดย อายุ ความสูง ระยะเหยียดแขน เส้นรอบสะโพก ค่ากำลังสถิตของกล้ามเนื้อไหล่ ค่ากำลังสถิตของกล้ามเนื้อแขน และค่ากำลังสถิตของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ผลที่ได้จากงานวิจัยนี้ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการทำงาน แก่ผู้ใช้แรงงานเข็นลากเพื่อป้องกันอันตราย และยังเป็นการพัฒนาการศึกษาทางการยศาสตร์ด้านชีวกลศาสตร์ รวมทั้งใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาแบบจำลองการเข็นและลาก ที่สามารถใช้ได้กับกลุ่มประชากรอื่นๆen
dc.description.abstractalternativeTo estimate maximum acceptable weights (MAWs) of pushing and pulling a wheeled cart in the sagittal plan and to construct predictive models of MAWs. The tested factors were the wheeled cart weights (140 kg., 700 kg. and 1,200 kg.), floor materials (concrete, vinyl tile and vinyl tile which is applied with floor cleaning wax) and wheeled materials (nylon and iron). The compressive force on L5/S1 disc was calculated by a biomechanical approach and compared with the Action Limit (AL) of 3,400 Newton and Maximum Permissible Limit (MPL) of 6,400 Newton. MAWs were calculated when the compressive forces acted on the L5/S1 disc reached the Action Limit and the Maximum Permissible Limit. The results showed that the MAWs of pulling were greater than pushing in all cases. Only wheeled cart weights and floor materials affected the MAWs significantly (p<0.5). It was found that MAWs of pushing (1) on concrete floor at AL was 193.0 kg. and at MPL was 675.4 kg. (2) on vinyl tile at AL was 147.4 kg. and at MPL was 572.6 kg.(3) vinyl tile which is applied with floor cleaning wax at AL was 149.9 kg. and at MPL was 608.6 kg. For pulling (1) on concrete floor at AL was 204.6 kg. and at MPL was 1,195.5 kg. (2) on vinyl tile at AL was 151.0 kg. and at MPL was 858.3 kg. (3) vinyl tile which is applied with floor cleaning wax at AL was 177.1 kg. and at MPL was 996.6 kg. Predictive models were developed from age, stature, functional reach, hip circumference, arm strength, shoulder strength and composite strength. This thesis is not only to be a guideline for designing push and pull work in order to prevent injury, but also to develop Ergonomics study especially in biomechanics. Moreover this thesis can be used as a guide for further developing in order for the model to be used with general population.en
dc.format.extent2537695 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการเคลื่อนย้ายวัสดุen
dc.subjectเออร์โกโนมิกส์en
dc.subjectการทำงาน -- แง่สรีรวิทยาen
dc.titleขีดจำกัดสูงสุดที่ยอมรับได้ของการเข็นและลากรถเข็นบรรทุกของen
dc.title.alternativeMaximum acceptable weight for pushing and pulling a wheeled carten
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
apichartPH.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.