Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13398
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชนิตา รักษ์พลเมือง | - |
dc.contributor.advisor | วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์ | - |
dc.contributor.author | ประไพ ศิวะลีราวิลาศ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-09-06T04:46:14Z | - |
dc.date.available | 2010-09-06T04:46:14Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13398 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์รูปแบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคมในชุมชนที่ประสบผลสำเร็จ 2) สร้างรูปแบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคมในชุมชนที่ประสบภาวะวิกฤต และ 3) นำเสนอรูปแบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคม ผู้วิจัยใช้แนวคิดทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่นิยมเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย และใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาภาคสนาม จำนวน 3 ชุมชน โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม รูปแบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคม ได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและสมาชิกชุมชนที่ประสบภาวะวิกฤต ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคม ประกอบด้วย การศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาในระบบ และการศึกษานอกระบบ การศึกษาทั้งสามรูปแบบนี้เป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน รูปแบบการศึกษาที่สำคัญในการพัฒนาทุนทางสังคมของชุมชนคือ การศึกษาตามอัธยาศัย เนื่องจากเป็นกระบวนการเรียนรู้ในวิถีชีวิตของชุมชนที่เกิดจากพลังภายในของชุมชน บนพื้นฐานศักยภาพและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน หน้าที่สำคัญของการศึกษาตามอัธยาศัยคือ การสืบทอดระบบคุณค่า จิตวิญญาณและภูมิปัญญาของชุมชน ให้มีการนำระบบคุณค่าเดิมของชุมชนมาประยุกต์หรือต่อยอดกับบริบทของชุมชนในปัจจุบัน ส่วนการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบมีหน้าที่ส่งเสริมพลังการเรียนรู้ของชุมชน โดยมุ่งสร้างค่านิยมร่วมให้เห็นคุณค่า จิตวิญญาณและภูมิปัญญาของชุมชน 2. รูปแบบการศึกษาในชุมชนที่ประสบภาวะวิกฤตด้านการพัฒนาทุนทางสังคม ใช้สำหรับชุมชนที่ไม่มีองค์ความรู้และแหล่งเรียนรู้ที่มีลักษณะเฉพาะพอที่จะใช้เป็นฐานการเรียนรู้ การศึกษาที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในชุมชนลักษณะนี้ต้องให้ความสำคัญกับ เทคนิควิธีการที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทุนทางสังคม โดยเน้นที่การมีเวทีพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกในชุมชน และร่วมค้นหาระบบคุณค่า จิตวิญญาณและภูมิปัญญาเดิมในท้องถิ่น เพื่อนำมาสืบทอดและประยุกต์กับทุนทางสังคมในบริบทปัจจุบัน | en |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this study were 1) to analyze the community-based education models for social capital development in successful communities; 2) to develop the community-based education models for social capital development in the community in crisis; and 3) to propose the developed community-based education models for social capital development. The researcher applied structural-functionalism theory as the conceptual framework for this study and employed qualitative methodology in field research in 3 communities. The data were collected by means of focus-group discussion, in-depth interview, participatory and non-participatory observation. The proposed community-based education models for social capital were examined by selected and people in the community in crisis. Research findings were as follows 1. The community-based education models for social capital development were composed of informal, formal, and non-formal education which emphasized mutual learning among community members. Informal education or every-day life learning process was found to be most important since it was empowered by potentialities and participation of the members of the community. The main function of informal education was to transmit local value system, spirit, and wisdom as well as to integrate or modify its traditional social values in te present context. Both formal and non-formal education aimed at empowering the community to learn and appreciate its local value system, spirit, and wisdom. 2. The education model for social capital development in the community in crisis could be applied for community which might not have sufficient local knowledge and learning resources. It was imperatives for the community-based education model in such community to emphasize learning techniques which would inspire community members to participate in the search of their traditional values, spirit, and wiscom so that those social capital could be transmitted and applied in current context. | en |
dc.format.extent | 2366759 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1537 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ทุนทางสังคม | en |
dc.subject | ชุมชนกับโรงเรียน | en |
dc.subject | การศึกษาต่อเนื่อง | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อพัฒนาทุนทางสังคม | en |
dc.title.alternative | Development of community-based education models for social capital development | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | พัฒนศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Chanita.R@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.1537 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prapai_Si.pdf | 2.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.