Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชมพูนุช โสภาจารีย์-
dc.contributor.authorนงเยาว์ สายแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-09-06T06:38:29Z-
dc.date.available2010-09-06T06:38:29Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.isbn9741439253-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13404-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพยาบาลใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายต่อ พฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลควนขนุน จังหวัดพัทลุง จำนวน 60 คน ทำการสุ่มอย่างง่ายโดยจับฉลากได้ เบอร์คิวคู่เป็นหญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมการวิจัย นำรายชื่อหญิงตั้งครรภ์ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มาจับคู่ระดับรายได้และระดับฮีมาโตคริท จากนั้นสุ่มเข้ากลุ่มโดยการจับฉลากชื่อที่จับฉลากได้ก่อนถูกจัด เข้ากลุ่มควบคุม ชื่อที่จับได้หลังถูกจัดเข้ากลุ่มทดลอง ได้กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน และกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับการพยาบาลตามปกติจากคลินิกฝากครรภ์ และกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาล ใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายร่วมด้วย ทำการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองใช้แบบสอบถาม พฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจากจากการขาดธาตุเหล็กระหว่างตั้งครรภ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (Paired sample t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของหญิงตั้งครรภ์หลังได้รับการ พยาบาลใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายแตกต่างจากก่อนได้รับการพยาบาลใช้ทฤษฎีความสำเร็จตาม เป้าหมายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ([X-บาร์] = 64.46, SD = 3.55 และ [X-บาร์] = 54.20, SD = 6.29 ตามลำดับ t = -7.58 p<.05) โดยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุ เหล็กหลังได้รับการพยาบาลใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายสูงกว่าก่อนได้รับการพยาบาลใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมาย คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้ง ครรภ์ที่ได้รับการพยาบาลใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายแตกต่างจากหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ([X-บาร์] = 64.46, SD = 3.55 และ [X-บาร์] = 58.00, SD = 6.33 ตามลำดับ t = -5.29, p<.05) โดยพบว่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการพยาบาลใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายสูงกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการพยาบาลตามปกติen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of nursing care using goal attainment theory on anemia preventive behaviors in pregnant women. The research sample consisted of 60 pregnant women who attended Antenatal Care Clinic at Kuankanoon hospital, Patthalung province. The subjects were selected by simple random sampling using every even number of the booking queue. The subjects who met the study criteria were matched by level of income and hematocrit. The 30 pair of subjects was randomly assigned using drawing lots: the first drawing of each pair was assigned to the control group while the second drawing was assigned to the experimental group. The control group received conventional nursing care while the experimental group received nursing care using goal attainment theory. The research instrument was the "iron deficiency anemia preventive behaviors questionnaire". Data collections were done before and after given conventional nursing care and nursing care using goal attainment theory. The data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test. The major findings were as follows 1. The difference in mean scores of iron deficiency anemia preventive behaviors in pregnant women between before and after receiving nursing care using goal attainment theory was statistically significant ([X-bar] = 64.46, SD = 3.55 and [X-bar] = 54.20, SD = 6.29 respectively t = -7.58, p<.05). The mean scores of iron deficiency anemia preventive behaviors after receiving nursing care using goal attainment theory was higher than before receiving nursing care using goal attainment theory. 2. The difference in mean scores of iron deficiency anemia preventive behaviors in pregnant woment between the experimental and control group was statistically significant ([X-bar] = 64.46, SD = 3.55 and [X-bar] = 58.20, SD = 6.33 respectively t = -5.29, p<.05).The mean scores of iron deficiency anemia preventive behaviors in pregnant women receiving nursing care using goal attainment theory was higher than those receiving conventional nursing care.en
dc.format.extent1520583 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.710-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสตรีมีครรภ์en
dc.subjectภาวะแทรกซ้อนขณะมีครรภ์en
dc.subjectธาตุเหล็กen
dc.subjectเลือดจางen
dc.titleผลของการพยาบาลใช้ทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมายต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะโลหิตจาง จาการขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์en
dc.title.alternativeThe effect of nursing care using goal attainment theory on iron deficiency anemia preventive behaviors in pregnant womenen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorChompunut.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.710-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nongyao_Sa.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.