Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1340
Title: การลดการสูญเสียจากกระบวนการผลิตกระป๋องโดยประยุกต์ใช้วิธีการซิกซ์ซิกมา
Other Titles: Defective reduction in can production process by applying Six Sigma approach
Authors: อุษณีย์ ถิ่นเกาะแก้ว, 2522-
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suthas.R@chula.ac.th
Subjects: ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ)
การควบคุมกระบวนการผลิต
การควบคุมความสูญเปล่า
ภาชนะบรรจุอาหาร
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เสนอแนวทางการควบคุมคุณภาพโดยใช้แนวทางของ Six Sigma เพื่อลดของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตกระป๋อง อันเนื่องจากข้อบกพร่องต่างๆ ระบบการดำเนินการคุณภาพตามแนวทางของ Six Sigma จะใช้หลักการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติเป็นสำคัญ ขั้นตอนจะประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนที่ใช้เป็นหลักในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา คือ การวัดเพื่อกำหนดหาสาเหตุของปัญหา (Measure) การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา (Analyze) การปรับปรุงแก้ไขกระบวนการ (Improve) การควบคุมตัวแปรต่างๆ (Control) ในแต่ละขั้นตอนของการสำรวจ ผลวิจัยสามารถระบุสาเหตุของปัญหาและทำการแก้ไขซึ่งขั้นตอนเริ่มต้นของการศึกษา ได้ทำการศึกษาความแม่นยำและความถูกต้อง ของระบบการวัดการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาทำโดยแผนภาพแสดงเหตุและผล และเชื่อมโยงเพื่อหาความรุนแรงของปัญหาด้วยวิธีการ FMEA หลังจากนั้นทำการวิเคราะห์สาเหตุต่างๆเหล่านั้นว่ามีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อสามารถระบุถึงสาเหตุของปัญหาขั้นตอนต่อไปคือ การปรับปรุงเพื่อลดสัดส่วนของเสียที่เกิดขึ้น โดยอาศัยหลักการทางสถิติวิศวกรรมเพื่อการยืนยัน ผลการทดลอง สุดท้ายคือ การจัดทำมาตรการควบคุมและป้องกันปัญหา จากการดำเนินการคุณภาพตามแนวทางของ Six Sigma ในระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตกระป๋อง ลดลงจาก 4,400 DPM เป็น 2,849 DPM หรือเมื่อเปรียบเทียบในระดับ sigma สามารถปรับปรุงจากระดับ 2.85 เป็นที่ระดับ 2.986 ทั้งนี้ในแต่ละวันจะมีของเสียที่เกิดจากการตรวจสอบเฉลี่ย 1200 DPM ซึ่งหากลดการตรวจสอบที่ไม่จำเป็นลง จะส่งผลให้ของเสียลดลงได้อีก 50% โดยการประมาณการจะสามารถลดลงเหลือประมาณ 2000 DPM หรือ ระดับ sigma อยู่ที่ 3.092 ซึ่งหากมีการควบคุมอย่างต่อเนื่องประมาณ 6 เดือน จะทำให้ความผันแปรในกระบวนการผลิตลดลงอีก 1.5 sigma เป็นผลทำให้สัดส่วนของเสียลดลงอยู่ที่ระดับ 4.592 sigma นอกจากนี้ในการวิจัยนี้ได้นำสาเหตุที่ก่อให้เกิดของเสียมาแก้ไขเพียง 60% แรกของทั้งหมด หากทางทีมงานมีการนำสาเหตุที่เหลือมาทำการวิเคราะห์เพื่อแก้ไขและปรับปรุงต่อไป สัดส่วนของเสียที่เกิดขึ้นก็มีแนวโน้มจะลดลง
Other Abstract: This research has been performed on defective reduction the can production process by applying Six Sigma approach. The research aims to reduce causes of failure mode. Six Sigma approach is used as a process tools in this research. It consists 4 phases, which are measurement phase, analyze phase, improvement phase and control phase. In each phase of Six Sigma approach mainly applies the statistical techniques to make decisions. The first phase is to determine the repeatability and reproducibility of attribute Gauge R&R study. Key factors are listed by cause and effect diagram and FMEA (Failure Mode Effect Analysis). The second phase is to use statistic to analyze the actual root causes. Third part is to improve the entire key factor to reduce defect and control in the acceptance level by control phase. After 4 months of experiment, the defect has been reduced from 4,400 DPM in September'2002 to 2,849 DPM in February'2003. The sigma level improves from 2.85 to be 2.986. In each day, the average defect which occurred from inspection process was around 1,200 DPM. If unnecessary inspection is reduced, the defect will decrease 50% and remain only 2000 DPM or sigma level at 3.092. Then the variance of processes will be less than 1.5 sigma if the controlling becomes consistency during 6 months. Later the variance of processes will be decrease by 1.5sigma finally the sigma level become 4.592. Because of 60% of failure causes were studied in this research, we can reduce defect from the rest of causes then the defect trends to decline.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1340
ISBN: 9741798628
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Usanee.pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.