Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1341
Title: ชลศาสตร์การไหลในทางน้ำเปิดที่มีเขื่อนกั้นภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง
Other Titles: Hydraulics of flow in an open channel with a closure dam under tidal effects
Authors: ชัชชัย หอมสุด, 2519-
Advisors: ชัยพันธุ์ รักวิจัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Chaipant.R@chula.ac.th
Subjects: แบบจำลองทางชลศาสตร์
เขื่อน
การระบายน้ำ
น้ำขึ้นน้ำลง
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในงานป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มในแม่น้ำ มักใช้โครงสร้างปิดกั้นลำน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ความเค็มขึ้นไปทางด้านเหนือน้ำ แต่ผลจากการสร้างโครงสร้างที่ได้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง อาจเกิดผลกระทบต่อลำน้ำด้านท้ายน้ำ โดยเฉพาะบริเวณท้ายโครงสร้างปิดกั้นลำน้ำ สำหรับการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาผลของการปิดกั้นลำน้ำภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง โดยศึกษาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแบบจำลองชลศาสตร์ ณ ห้องปฏิบัติการแบบจำลองชลศาสตร์ และชายฝั่งทะเล ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อกำหนดให้อัตราการไหล ค่าสัมประสิทธิ์ความขรุขระ และระยะการปิดเปิดบานประตูระบายน้ำ เป็นตัวแปรชลศาสตร์การไหล ส่วนคาบคลื่นและความสูงคลื่นเป็นตัวแปรสภาพคลื่น แบบจำลองชลศาสตร์ในการวิจัยประกอบด้วย แบบจำลองแม่น้ำ แบบจำลองทะเลหรือแอ่งคลื่น เครื่องกำเนิดคลื่นน้ำขึ้นน้ำลง ชุดควบคุมอัตราการไหลเครื่องมือวัดความสูงคลื่น และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งแผงวงจรแปลงสัญญาณแอนาล็อกเป็นดิจิทัลในการวัดข้อมูลคลื่น โดยแบบจำลองแม่น้ำ สร้างขึ้นด้วยพลาสติดขนาด 0.30 ม x 19.5 ม x 0.20 ม กำหนดอัตราการไหลอยู่ในช่วง 0.30-1.20 ลิตรต่อวินาทีสัมประสิทธิ์ความขรุขระอยู่ในช่วง 0.0132-0.0211 และมีการเปิดปิดประตูระบายน้ำ 0-100% โดยผันแปรค่าความสูงคลื่นในช่วง 0.5-2.0 ซม. และคาบคลื่นในช่วง 70-600 วินาที ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำ เนื่องจากการปิดกั้นลำน้ำภายใต้อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง จากการทดลอง 270 กรณีการศึกษา สรุปได้ว่า อัตราส่วนคลื่นขยายตัว ณ ตำแหน่งปิดกั้นลำน้ำเทียบกับปากแม่น้ำ ขึ้นอยู่กับระยะการปิดกั้นลำน้ำเทียบกับความยาวคลื่นเป็นสำคัญ และสามารถอธิบายอัตราส่วนคลื่นขยายตัว ได้ด้วยรูปสมการ Hr=1+ae -b(L/Lc) ซึ่งในการศึกษาพยายามศึกษาว่า ค่าพารามิเตอร์ a และ b มีความสัมพันธ์กับตัวแปรชลศาสตร์การไหล (ค่าฟรุดนัมเบอร์ ระยะการเปิดปิดบานประตูระบายน้ำ สัมประสิทธิ์ความขรุขระ) อย่างไร ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์น้อย เนื่องจากการทดลองมีผลไม่คงเส้นคงวา เมื่อศึกษาเฉพาะผลของการเปิดปิดบานประตูระบายน้ำกับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำพบว่า ระยะการปิดบานที่มากขึ้นจะมีผลต่ออัตราส่วนคลื่นขยายตัวมากขึ้น และหากปิดกั้นลำน้ำทั้งหมด ความสูงคลื่นน้ำขึ้นน้ำลงที่ท้ายน้ำของประตูเพิ่มขึ้นสูงสุด ผลการศึกษามีข้อสรุปเพื่อนำไปพิจารณาเป็นแนวทางโครงการปิดกั้นลำน้ำกับเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำได้
Other Abstract: In salt intrusion mitigation of a river, tidal barriers are usually used to prevent saline intrusion to upstream. However, it may cause some effects in downstream reaches, especially at the structure toe. This investigation aimed at studying the hydraulics of flow in an open channel with a closure dam under tidal effects. A change of water level was studied using a hydraulic model at the hydraulic and coastal model laboratory, Department of Water Resources Engineering, Chulalongkorn University. In the experiment, the hydraulic parameters were discharge, roughness coefficient and gate opening while tidal wave height and tidal wave period were parameters of wave condition. The hydraulic model used in this study consist of a river model, a sea model or wave basin, a tidal wave generator, a discharge controller, wave height meters, and an IBM-PC computer with an analog to digital conversion card for measuring wave data. The river model was made of plastic with dimension 0.3 m x 19.5 m x 0.20 m The range of flowwas 0.30-1.20 l/s. The range of roughness coefficient was 0.0132-0.0211. The range of gate opening was 0-100%. For each experiment, wave height was varied between 0.5-2.0 cm and wave period was varied between 70-600 seconds. The study of the change of water level with a closure dam under the tidal effect was made from the total 270 experiment cases. It was concluded that the increasing wave height at the closure station compare to that at the river mouth depended on the closure distance from the river mouth compared to the wave length. The increasing wave height was defined by an exponential equation, Hr=1+ae -b(L/Lc). Attempt was made to relate the parameters a and b with the hydraulic parameters of flow (Froude number, gate opening, roughness coefficient). However, insignificant relationships were found probably due to inconsistency inthe experiments. The effect of gate closure upon the changes of water level was clearly identified. More closing of the gate resulted rising of the wave height. If the gatewas totally closed, the maximum wave height occurred at the gate toe. The study result had some conclusions to be considered for a closure dam project regarding the change of the water level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมแหล่งน้ำ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1341
ISBN: 9741726082
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutchai.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.