Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13427
Title: พฤติกรรมและทัศนคติของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารที่ให้บริการในเขตชุมชนชานเมือง
Other Titles: Behavior and attitude of public van users in Bangkok suburban area
Authors: เจษฎา ปริตาโพธิ์
Advisors: สรวิศ นฤปิติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Sorawit.N@Chula.ac.th
Subjects: รถตู้โดยสาร
ผู้โดยสารรถตู้
การขนส่งมวลชน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงทัศนคติของผู้เดินทางและตรวจสอบอิทธิพลของทัศนคติในเชิงจิตวิทยา ที่ส่งผลต่อเจตนาในการใช้บริการรถตู้โดยสาร โดยศึกษาจากกลุ่มผู้เดินทางที่พักอาศัยอยู่ในเขตชุมชนชานเมืองฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานคร ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม สำหรับตัวแปรทางด้านทัศนคติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรม พันธะทางจริยธรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม และเจตนาในการกระทำพฤติกรรม โดยความสัมพันธ์ภายในแบบจำลองมาจากทฤษฎีทางจิตวิทยา หรือ The theory of planned behavior (TPB) พฤติกรรมของผู้เดินทางแสดงโดยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้เดินทางด้วยรถตู้โดยสาร วิเคราะห์โดยสถิติเชิงอนุมาน การตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเชิงจิตวิทยากับเจตนาในการใช้รถตู้โดยสาร วิเคราะห์โดยแบบจำลองสมการโครงสร้าง หรือ Structural Equation Modeling (SEM) ผลการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 415 ตัวอย่าง พบว่า เพศของผู้เดินทางมีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้เดินทาง การทดสอบความแตกต่างของทัศนคติระหว่างกลุ่มผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารและกลุ่มผู้ไม่ใช้บริการรถตู้โดยสาร พบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีทัศนคติต่อการใช้รถตู้โดยสารที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบจำลองพบว่า ตัวแปรสังเกตได้มีความสอดคล้องกับตัวแปรแฝงเป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุพบว่า แบบจำลองสมมติฐานมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลของแบบจำลองทั้งสองพบว่า เจตนาในการใช้รถตู้โดยสารสามารถอธิบายได้จากตัวแปรแฝงภายในอันได้แก่ การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และเจตคติต่อพฤติกรรม ตามลำดับ โดยความสัมพันธ์มีนัยทางสถิติที่ 0.01 และมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.27 0.25 และ 0.24 ตามลำดับ หากพิจารณาความสัมพันธ์ของแบบจำลอง พบว่า ตัวแปรเชิงทัศนคติสามารถอธิบายความแปรปรวนของเจตนาในการใช้รถตู้โดยสารของผู้เดินทางได้ 39%
Other Abstract: To study the attitudes of the passenger van commuters and to investigate the influence of psychological factors on their will to continue the use of public van service. The research focused on the group of people who lived in the western urban communities of Bangkok. The data were collected by interview and questionnaire. The employed attitudinal factors were Attitude toward the behavior, Moral obligation, Subjective norm, Perceived behavioral control and Behavioral intention. The intrinsic relation of the model followed the Theory of planned behavior (TPB). Behaviors of van users were explained by descriptive statistics. The factors influencing the commuters’ attitudes were analyzed by inferential statistics. Then structural equation modeling was applied for investigating of the relation between psychological variables and the intention to use the service. The results from 415 samples of public van users show that the gender influences the psychological attitude. The differences of attitudes between public van users and non-users are statistically significant. The result from Confirmatory Factor Analysis indicates that the observed variables correspond with the latent variables. For the consideration of the causal structural relationships, the assumption model is fairly harmonious with the empirical data. When the latent variables in the model are considered, the will of public van users is directly influenced by Perceived behavioral control, Subjective norm, and Attitude toward the behavior respectively and the relationship is significant at 0.01.Their effects (coefficients) of the relationship from the models are 0.27, 0.25, and 0.24 respectively. When the Squared multiple correlations are considered, all causal variables could co-explain the variance of the attitude of the public van service usage at 39%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13427
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1701
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1701
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jesada_pa.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.