Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13432
Title: | อิทธิพลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนสวนดอกและชุมชนหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Other Titles: | The influence of Chiang Mai University on the changes of Suan-Dok and back of Chiang Mai University communities |
Authors: | ธนวดี พลายโถ |
Advisors: | ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sakchai.K@Chula.ac.th |
Subjects: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การใช้ที่ดินในเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ การพัฒนาชุมชนเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่ ชุมชนกับสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- เชียงใหม่ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบันของพื้นที่ศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลเด่นที่มีต่อการเติบโตของพื้นที่ศึกษา 3) วิเคราะห์สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขของพื้นที่ศึกษา 4) เสนอแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ศึกษา โดยขั้นตอนในการศึกษาใช้วิธีการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่จากภาพถ่ายทางอากาศในแต่ละช่วงปี และใช้แบบสอบถามในการวิเคราะห์พฤติกรรมและความคิดเห็นของประชาชน กลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ชุมชนสวนดอกและชุมชนหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ นักศึกษา บุคลากร ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ และผู้ประกอบการ เพื่อให้เห็นถึงการให้บริการของพื้นที่ชุมชนสวนดอกและชุมชนหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการของชุมชนสวนดอกและชุมชนหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น พื้นที่มีการขยายตัวทางกายภาพตามการขยายการศึกษา และการขยายตัวของพื้นที่สิ่งปลูกสร้างของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงแรกชุมชนกระจายตัวอยู่บริเวณตอนต้นของถนนสุเทพ โดยมีโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ตั้งอยู่ ซึ่งเป็นแรงดึงดูดให้ผู้คนเข้ามาอยู่ในพื้นที่ ช่วงที่สอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ขยายการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งได้จัดตั้งคณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ขึ้นมา โดยพื้นที่ตั้งของแต่ละคณะอยู่ถัดมาทางด้านตะวันตกของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ส่งผลให้พื้นที่ชุมชนเกิดการขยายตัวออกมายังช่วงกลางของถนนสุเทพ ทำให้เกิดที่พักอาศัยและร้านค้าเป็นจำนวนมากขึ้น และเริ่มมีผู้คนเข้ามาอยู่อาศัยอย่างกระจัดกระจายบริเวณปลายถนนสุเทพด้วยเช่นกัน ช่วงที่สามเมื่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ขยายพื้นที่สิ่งปลูกสร้างของมหาวิทยาลัยมายังพื้นที่ส่วนหลัง ไปจนติดกับถนนสุเทพ พื้นที่ชุมชนจึงได้ขยายออกมาทางตอนปลายของถนนสุเทพ เกิดเป็นย่านพักอาศัยสำหรับนักศึกษาและบุคคลที่เข้ามาทำงานยังพื้นที่บริเวณนี้ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้เกิดตลาดสด และการขยายเส้นทางคมนาคมของถนนสุเทพ เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนสวนดอกและชุมชนหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากพัฒนาการของพื้นที่ทำให้เห็นถึงอิทธิพลของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นอิทธิพลเด่นที่ทำให้พื้นที่ชุมชนสวนดอกและชุมชนหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกิดการเติบโตและขยายตัวอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลให้เกิดปัญหาทางด้านต่างๆ ตามมา ได้แก่ ปัญหาทางด้านกายภาพที่ส่งผลต่อนักศึกษาคือความไม่เพียงพอของระบบสาธารณูปโภค ส่วนปัญหาทางด้านสังคมคือ เกิดแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาบางกลุ่ม และปัญหาอาชญากรรม แนวทางในการพัฒนาชุมชนสวนดอกและชุมชนหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาจากการกำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนา ให้เป็นชุมชนเมืองมหาวิทยาลัยที่พร้อมด้วยบริการครบครันและสมบูรณ์แบบ ทั้งด้านที่พักอาศัยและการบริการทางสังคม ที่สนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสอดคล้องกับเอกลักษณ์ของภาคเหนือ ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาทางด้านกายภาพ อันได้แก่การจัดการพื้นที่ โดยใช้มาตรการทางผังเมืองในการกำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินของย่านการค้าและที่พักอาศัย ให้เกิดขึ้นในแนวดิ่งโดยมีการควบคุมความสูงของอาคาร การจัดการระบบคมนาคมขนส่ง โดยสนับสนุนให้เส้นทางในชุมชนมีทางเท้าและทางจักรยานสำหรับการสัญจรในชุมชน ส่วนเส้นทางหลักระหว่างชุมชนเน้นการใช้บริการขนส่งสาธารณะเพื่อลดความคับคั่ง และเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนในชุมชน สำหรับการจัดการระบบสาธารณูปโภคให้เป็นการใช้ระบบท่อรวมซึ่งง่ายต่อการจัดการ แนวทางในการพัฒนาทางด้านสังคมโดยการส่งเสริมคนในชุมชนให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่อย่างเหมาะสมที่สอดคล้องกับเอกลักษณ์ของชุมชนที่ให้บริการตอบสนองกับมหาวิทยาลัย |
Other Abstract: | To 1) study the development of studied area from the past until the present time. 2) analyze the outstanding influence on the growing up of studied area. 3) analyze the existing problems and the solutions of studied area. 4) propose the development guidelines and improve the studied area. The procedure of the study was to compare the transformation of the area by aerial photos from selected years. And use the questionnaires to analyze the behaviors and notions of people related to Suan-Dok Community and Back of Chiang Mai University Community such as students, officers, residents and entrerpreneurs to demonstrate the services provide by the studied area. The results of the study found that the development of Suan-Dok Community and Back of Chiang Mai University Community from the past until the present time : its area had physically expanded followed by the expansion of education and built-up area of Chiang Mai University. The study classified the expansion in 3 periods. The first period, the community scattered around the beginning of Suthep Road. There is Maharajnakorn Chiang Mai Hospital where attracted people to inhabit in the area. The second period, Chiang Mai University extended further education on health sciences, consequencely, Faculty of Dentistry, Faculty of Pharmacy and Faculty of Nurse were established. Due to the area of each faculty situated in the southern part of Maharajnakorn Chiang Mai Hospital, it affected the expansion of community to reach the middle of Suthep Road and increased housing and retail shops. Moreover, people tended to reside scatterly around the end of Suthep Road. The third period, when Chiang Mai University expanded to the end of Suthep Road. This affected the rising of residential area, serving for students and officers. The fast growing population affected the rising of fresh market and Suthep Road’s transport extension had to serve for the expansion of Suan-Dok Community and Back of Chiang Mai University Community. The development of this area influenced by Chiang Mai University which is the prominent influence, affecting the fast growing and expansion of Suan-Dok Community and Back of Chiang Mai University Community. This result contributed to many problems. For example, physical problem which affected to the students, was the insufficient of infrastructures and social problem was the occurance of ghetto areas and criminal problems. The guidelines for developing Suan-Dok Community and Back of Chiang Mai University Community came from the imposition of vision on development. The vision is “The university community town where fully and completely equipped with services in housing, social service which support the expansion of Chiang Mai University.” The vision consisted of physical development guidelines that were Land use management : to issue measure in city plan for imposing the commercial land-use pattern and residential zone to grow up in vertical ,to control the height of building. Transport management : to support pavement and bicycle way usage in the community. In the part of main street between the community : emphasis on using public transportation to decrese the congestion and increase the security of people in the community. Infrastructure management : to employ the combination drainage which was easy to manage. Social guideline : to support the interaction among people that was the proper guideline for land development, coinciding with the identity of community that served the university. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การวางผังเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13432 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1367 |
ISBN: | 9741742789 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1367 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanavadee_pl.pdf | 9.93 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.