Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13485
Title: | การหาความสัมพันธ์พ่อกับลูกในโคนมด้วยเครื่องหมายพันธุกรรมชนิดไมโครเซทเทลไลท์ |
Other Titles: | Paternity testing in dairy cattle based on microsatellite markers |
Authors: | สุพิชญา เชษฐสิงห์ |
Advisors: | ดวงสมร สุวัฑฒน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Duangsmorn.S@Chula.ac.th |
Subjects: | เครื่องหมายพันธุกรรม ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ โคนม ไมโครแซทเทลไลท์ (พันธุศาสตร์) การพิสูจน์ความเป็นบิดา |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ประเมินประสิทธิภาพการตรวจสอบความสัมพันธ์พ่อกับลูกในโคนมที่บันทึกในพันธุ์ประวัติ ด้วยเครื่องหมายพันธุกรรมชนิดไมโครแซทเทลไลท์ โดยเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อแช่แข็งพ่อพันธุ์โคนม และการเก็บตัวอย่างเลือดจากลูกสาว ที่เขตส่งเสริมการเลี้ยงโคนม อ.ส.ค. สกัดดีเอ็นเอ และเพิ่มชิ้นส่วนดีเอ็นเอของไมโครแซทเทลไลท์จำนวน 10 ตำแหน่งได้แก่ BM1824, ETH10, BM2113, TGLA122, TGLA227, TGLA126, SPS115,ETH152, ETH3 และ INRA023 ด้วยเทคนิคพีซีอาร์ อ่านผลด้วยวิธี polyacrylamide gel (PAGE) จากนั้นตรวจสอบผลของความสัมพันธ์และวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาในการตรวจสอบความสัมพันธ์พ่อโคนมกับลูกสาวในครั้งนี้ พบความไม่สัมพันธ์กันระหว่างพ่อกับลูกสาวที่ตรวจสอบด้วยมาร์คเกอร์ตั้งแต่ 7-10 ตำแหน่ง จำนวน 26 คู่ (พ่อกับลูกสาว) จากจำนวนที่ศึกษา 75 คู่ และประสิทธิภาพการใช้เครื่องหมายพันธุกรรมชนิดไมโครแซทเทลไลท์ ในการตรวจสอบความสัมพันธ์พ่อกับลูก สามารถให้ความเชื่อมั่นได้อยู่ระหว่าง 88-89% พบค่า PE ที่ได้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.05-0.66 และจากการศึกษาในครั้งนี้ สามารถนำข้อมูลหรือหลักการที่ได้ไปปรพยุกต์ใช้เป็นข้อมูลประจำตัวสัตว์ สำหรับบันทึกในพันธุ์ประวัติเพื่อบ่งชี้ลักษณะเฉพาะตัวของสัตว์ และใช้ในการตรวจสอบข้อมูลพันธุ์ประวัติที่มีความไม่ชัดเจน เป็นการเพิ่มความถูกต้องของการบันทึกพันธุ์ประวัติ เพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในการประมาณค่าทางพันธุกรรม ซึ่งจะส่งผลให้ต่อความก้าวหน้าทางด้านพันธุกรรมได้ |
Other Abstract: | To investigate the paternity testing in dairy cattle. Genomic DNA was extracted from blood samples in the progeny of 10 sires and frozen semen samples in sires. Each PCR was performed using a microsatellite marker for 10 loci (BM1824, ETH10, BM2113, TGLA122, TGLA227, TGLA126, SPS115, ETH152, ETH3 and INRA023) as a specific primer. The PCR products were analyzed using polyacrylamide gel electrophoresis. The allele frequencies, Exclusion Probability (PE) and Combine exclusion probability (CPE) were calculated. The results showed cows that did not inherit paternity allele for at least one loci were considered not to be daughters of the sire listed. Probability of exclusion was range 0.05-0.66 and accurate for paternity test was ranged at 88- 98%. This study can contribute toward pedigree information, an adequate genetic improvement and breeding program. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13485 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.607 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.607 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Vet - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supitchaya.pdf | 901.09 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.