Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13536
Title: | การวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป : กรณีศึกษาในโรงงานผลิตเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป จังหวัดนนทบุรี |
Other Titles: | Hazard analysis and critical control point (HACCP) in processing of Bird's Nest Beverage : case study in Bird's Nest Beverage Factory in Nonthaburi province |
Authors: | กาญจนา ปวรัถวิจิตร |
Advisors: | ลินนา ทองยงค์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์ |
Advisor's Email: | Linna.T@Chula.ac.th |
Subjects: | ระบบวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม เครื่องดื่ม -- การผลิต รังนก (อาหาร) |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน แต่ผลการวิเคราะห์โดยกรม วิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐานตามประกาศ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 214 พ.ศ. 2543 ร้อยละ 30.4 และจากการศึกษาในขั้นเตรียมการก่อนการทำวิจัยครั้งนี้ พบว่า เครื่องดื่ม รังนกสำเร็จรูปที่จำหน่ายในจังหวัดนนทบุรี ไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 46.2 และเมื่อพิจารณาเฉพาะตัวอย่าง ที่มีสถานที่ผลิตในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งมีอยู่ 5 แห่ง พบว่า ไม่ผ่านมาตรฐานร้อยละ 60 โดยตัวอย่างที่ไม่ผ่าน มาตรฐานเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสถานที่ผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อมทั้งสิ้น การศึกษาวิจัยนี้จึงได้นำ ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในกระบวนการผลิต (HACCP) ซึ่งเป็นระบบประกัน คุณภาพด้านความปลอดภัย มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป โดยการคัดเลือก สถานที่ผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม เพื่อเข้าร่วมโครงการเพียงหนึ่งแห่ง การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ดำเนินกิจกรรมการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP ทั้ง 12 ขั้นตอน เมื่อรูปแบบระบบจัดทำเสร็จแล้ว จึงได้มีการนำไปใช้ในกระบวนการผลิตจริงเป็นเวลา 2 เดือนส่วนที่สอง คือ การเก็บตัวอย่างและตรวจ วิเคราะห์ความปลอดภัยทางด้านชีวภาพ กายภาพ และเคมี ก่อนและหลังการดำเนินการระบบ HACCP ผลการศึกษา พบว่า จุดวิกฤตที่ต้องควบคุมในกระบวนการผลิตเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปชนิดขวดแก้ว คือ ขั้นตอนการปิดฝา การฆ่าเชื้อในหม้อฆ่าเชื้อ และการทำให้ขวดเย็น ส่วนจุดวิกฤตในชนิดขวดพลาสติก คือ การต้มรังนกในน้ำเชื่อม การบรรจุ การปิดฝา การทำให้ขวดเย็น และการจัดส่ง หลังการใช้ระบบ HACCP พบว่า อันตรายทางด้านชีวภาพ ได้แก่ แบคทีเรียชนิดโคลิฟอร์ม และ เชื้อจุลินทรีย์รวมลดลง และไม่พบ เชื้อ Staphylococus aureus และ Clostridium perforingens จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าระบบ HACCP สามารถนำไปใช้ในการประกันคุณภาพ เพื่อความปลอดภัยของกระบวนการผลิตเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป |
Other Abstract: | Bird’s nest beverage has become more popular among the urban population but the data regarding the microbiological assay of this product by The Department of Medical Sciences Ministry of Public Health reported that at least 30.4% did not pass the standard of the Thai Food and Drug Administration (FDA) notification 214, 2000. The preliminary data of this study identified that 46.2% of the bird’s nest beverages sold in Nonthaburi Province did not pass the standard. In Nonthaburi Province there were 5 bird’s nest beverage manufacturers and 60% of these manufacturers (predominatly the smaller manufacturers) did not reach the standard. One of the small scale manufacturers of bird’s nest beverage was selected for implementation of hazard analysis and critical control point (HACCP) system (food safety practice programs). This study was divided into two parts: the first, 12 steps of HACCP system were introduced into the industry after that the HACCP plan was operated and maintained for 2 months. The second, sampling and laboratory test before and after the implementation of the HACCP procedure were conducted to determine the biological, chemical and physical hazards. The critical control points of bird’s nest beverage packed in sealed glass container processing were sealing, retorting and cooling but in sealed plastic container processing were pasteurizing, filling, sealing, cooling, and transportation. By applying the HACCP approach it was found the biological hazard as indicated by MPN coliform and total plate count was diminished. Staphylococcus aureus and Clostridium perfringens were not detected. These results indicated that HACCP could be implementaed for ensuring the safety of bird’s nest beverage processing. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อาหารเคมีและโภชนศาสตร์ทางการแพทย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13536 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.804 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.804 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kanjana_p.pdf | 2.41 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.