Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13545
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.authorเกศินี รัตนมณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-10-01T08:46:47Z-
dc.date.available2010-10-01T08:46:47Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13545-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาการเปรียบเทียบผลของโปรแกรมให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรี และการพยาบาลตามปกติ ต่อระดับความเจ็บปวดขณะมีกิจกรรมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มควบคุม และ กลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน ทั้ง 2 กลุ่ม ได้รับการจับคู่ ให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันในเรื่อง เพศ อายุ โรคหัวใจและการผ่าตัด และยาบรรเท่าปวด โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด 1 สัปดาห์ ข้อมูลการบรรเทาความเจ็บปวดหลังผ่าตัดหัวใจร่วมกับดนตรีก่อนผ่าตัด 1 วัน และฟังดนตรีหลังผ่าตัด ในขณะมีกิจกรรมการลุกนั่ง การถอดท่อระบายทรวงอก และการทำกายภาพบำบัด ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 11 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบประเมินความเจ็บปวดชนิดมาตรวัดลักษณะคำพูดแสดงความรุนแรงความเจ็บปวด (Verbal Analog Scale) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Kolmogorov-Smirnov test และสถิติทดสอบที (Independent t-test) ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ระดับความเจ็บปวดในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะ 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดขณะมีกิจกรรมการลุกนั่งของกลุ่มที่ได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 2. ระดับความเจ็บปวดในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะ 48 ชั่วโมงแรก หลังผ่าตัดขณะมีกิจกรรมการถอดท่อระบายทรงอกของกลุ่มที่ได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 3. ระดับความเจ็บปวดในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในระยะ 48 ชั่วโมงแรก หลังผ่าตัดขณะมีกิจกรรมการทำกายภาพบำบัดของกลุ่มที่ได้รับข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to compare the effect of preparatory information combined with music listening, and conventional nursing care on pain level in post opened-heart surgery patients. The subjects were 40 post opened-heart surgery patients admitted at Police General Hospital, and were selected by a purposive sampling. The subjects were arranged into a control group, and an experimental group. The groups were matched in terms of age, sex, heart disease and type of surgery and regimen of analgesic. Each groups consisted of 20 patients. The control group received conventional nursing care. The experimental group received preparatory information before surgery 1 week, information about pain after open heart surgery and listening to music before surgery 1 day, and listened to music during sitting, chest tube removal and physio therapy. The intervention program was tested for the content validity a group of experts. Pain was assessed by using a verbal rating scale (VRS). Statistical techniques used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, Kolmogorov-Smirnov test statistic, and Independent t-test. Results were as follows: After the operation, the mean of pain level during sitting and removal chest drain of the experimental group was significantly lower than that of the control group (p < .05)en
dc.format.extent2529958 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1009-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectดนตรีบำบัดen
dc.subjectกิจกรรมบำบัดen
dc.subjectหัวใจ -- โรค -- ผู้ป่วยen
dc.subjectความเจ็บปวดหลังศัลยกรรมen
dc.titleผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อระดับความเจ็บปวดขณะมีกิจกรรมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดen
dc.title.alternativeThe effect of preparatory information combined with listening to music on pain level experienced with activities in patients after open heart surgeryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1009-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kesinee.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.