Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13584
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพฑูรย์ คงสมบูรณ์-
dc.contributor.authorภาสินี ปรีชาพืช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-10-04T03:17:22Z-
dc.date.available2010-10-04T03:17:22Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13584-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractเนื่องจากตั๋วเงินเป็นตราสารเปลี่ยนมือ การพิจารณาความรับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงิน จึงพิจารณาจากการลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน ซึ่งผู้ลงลายมือชื่อมีขอบเขตความรับผิดตามเนื้อความที่ปรากฏในขณะที่ตนได้ลงลายมือชื่อ ตามมาตรา 900 วรรคแรก โดยเนื้อความที่ปรากฏบนตั๋วเงิน ต้องเป็นรายการที่กฎหมายอนุญาตให้เขียนลงในตั๋วเงินและมีผลบังคับตามกฎหมายตั๋วเงินเท่านั้น วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาถึงการแก้ไขรายการสำคัญในตั๋วเงิน ซึ่งเกิดปัญหาที่ต้องศึกษาดังนี้คือ 1) ปัญหาตั๋วเงินที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการสำคัญกับการคงลักษณะความเป็นตั๋วเงิน ซึ่งศึกษาถึงผลทางกฎหมายที่ถึงแม้ว่าตั๋วเงินเสียไป ตั๋วเงินฉบับนั้นก็ยังสามารถโอนเปลี่ยนมือกันต่อไปได้ซึ่งเรียกว่า การสลักหลัง และการที่ผู้ทรงสามารถนำตั๋วเงินที่เสียไปมาบังคับการใช้เงิน ก็ไม่เป็นการกำเนิดตั๋วขึ้นใหม่ เพราะการสลักหลังเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วเงินให้แก่ผู้ทรง โดยบทบัญญัติมาตรา 1007 สามารถนำมาใช้บังคับกับตราสารซึ่งผู้ออกตราสารเซ็นแต่ชื่อไว้ แต่เว้นช่องว่างให้ผู้ทรงไปกรอกข้อความเอง ซึ่งทำให้ตราสารที่แต่เดิมไม่มีผลสมบูรณ์ก็กลับมีผลสมบูรณ์เป็นตั๋วเงิน 2) ปัญหาการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ประจักษ์ แม้ผู้รับโอนจะรับโอนมาโดยเห็นประจักษ์ว่าตั๋วเงินมีการแก้ไขรายการสำคัญ ก็ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย และไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน 3) ปัญหาการแก้ไขรายการสำคัญในตั๋วเงิน โดยศึกษาถึงกรณีที่เป็นรายการสำคัญและไม่เป็นรายการสำคัญ ซึ่งกระทบถึงสิทธิและความรับผิดระหว่างลูกหนี้และเจ้าหนี้และสิทธิของผู้ที่เข้าใช้เงินตามตราสารนั้นไป จากการศึกษาผู้เขียนเห็นว่า ไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมาย เนื่องจากปัญหาทุกปัญหาที่เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถนำมาปรับใช้ได้ เพียงแต่ว่าในการตีความตามมาตรา 1007 นั้นใช้บังคับกับรายการที่กฎหมายอนุญาตให้เขียนไว้เท่านั้น ซึ่งครอบคลุมถึงรายการที่ผู้ออกตราสารมอบหมายให้ผู้ทรงเติมภายหลังด้วย และผู้ทรงนั้นแม้จะรับโอนตราสารภายหลังจากการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ประจักษ์ก็ยังมีความเป็นผู้ทรงen
dc.description.abstractalternativeThe bills is a negotiable instrument, the consideration of the liability of the party in the bills lies on the signing on it. A person who puts his signature upon a bills is liable thereon according to the tenor of such bills in the first paragraph of Section 900. The tenor on the bills shall be approved by law to be written down on the bills and shall be effective in accordance with the law on bills only. This thesis aims at studying the material alteration of the bills and the problems to be studied are as follows: 1) The problem where a bills has been materially altered but its validity still remains. Although the bill is altered, it is negotiable by mean of endorsement. When the bills is in the hands of a holder, such holder may avail himself of the bill as if it has not been altered, and may enforce payment of it according to its original tenor since the endorsement is the transfer of bill right to the holder. The provisions in Section 1007 can be applied to the instrument signed by the issuer with left blank to be completed by the holder causing the invalid instrument to have a complete effect. 2) The problem of the apparent alteration. Though the assignee apparently accepts that the bills has some alterations, it is deemed that the assignee is the legal holder and it shall not be deemed that the assignee dishonestly exercises his right. 3) The problem of alteration in the bill. The study is conducted on both substantial and general items affecting the right and liability between the debtor and the creditor and the right of the user of such instrument. From the study, the researcher considers it is unnecessary to amend the provisions since the current provisions could be applied to all problems. However, the interpretation of Section 1007 is applicable to the items legally approved for writing, which shall cover the items the issuer assigns the holder for further addition and the holder, though assigned with the instrument after the apparent alteration, still remains as the holder.en
dc.format.extent1370300 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.383-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectตั๋วเงินen
dc.subjectตราสารเปลี่ยนมือได้en
dc.subjectกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -- ตั๋วเงินen
dc.titleปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับตั๋วเงินปลอม : ศึกษากรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการสำคัญในตั๋วเงินen
dc.title.alternativeLegal problems of the forged bills : material alteration of the billsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPaitoon.K@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.383-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phasinee_Pr.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.