Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13603
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรวิทย์ เจริญเลิศ | - |
dc.contributor.author | จอมขวัญ ขวัญยืน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | สมุทรสาคร | - |
dc.date.accessioned | 2010-10-07T04:38:51Z | - |
dc.date.available | 2010-10-07T04:38:51Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.isbn | 9741434294 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13603 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการจัดสวัสดิการสังคมแรงงานต่างด้าว และ 2. ศึกษาแนวทางการจัดสวัสดิการสังคมของแรงงานต่างด้าว เป็นการศึกษาเฉพาะพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครซึ่งมีแรงงานต่างด้าวมากเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ โดยศึกษารูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมแก่กลุ่มแรงงานต่างด้าวในลักษณะการให้ขั้นต่ำ (Social safety net) ซึ่งเป็นการให้ในระดับที่ทำให้บุคคลผู้นั้นดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติสุขและยังคงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีทั้งสิ้น 4 ด้าน ได้แก่ 1. บริการสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย 4 บริการที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตคือ การักษาพยาบาล ที่พักอาศัย การศึกษาของเด็กต่างด้าว และความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2. สวัสดิการที่จัดโดยองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) 3. การประกันสังคม และ 4.การสังคมสงเคราะห์ ผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า การจัดบริการสวัสดิการสังคมขั้นต่ำให้แก่แรงงานต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาครมี 2 ระดับ คือมีการจัดบริการสังคมพื้นฐาน และมีการให้ความช่วยเหลือโดยองค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ ซึ่งในด้านการจัดบริการสังคมทั้ง 4 ด้านนั้น พบว่าเงื่อนไขอันเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญมาจากความไม่พร้อมของภาครัฐ ทั้งในเรื่องของนโยบายที่มีความผันผวนส่งในแต่ละสมัย ส่งผลต่อการนำแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ระบบการจดทะเบียน และความไม่พร้อมของทรัพยากรและบุคลากรในพื้นที่ ประกอบกับปัญหาในเรื่องทัศนคติในเชิงลบที่มีต่อแรงงานต่างด้าว ทำให้การบริการไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และเนื่องจากความไม่พร้อมของภาครัฐ นายจ้างจึงเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดในการให้สวัสดิการพื้นฐานแก่แรงงานต่างด้าว ซึ่งในระยะหลังนายจ้างได้มีการปรับตัวจากการขูดรีดแรงงาน มาเป็นการแข่งขันกันให้ค่าจ้างและสวัสดิการ เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ทำให้มีการแย่งตัวแรงงานต่างด้าว ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าวของงานชิ้นนี้ เสนอต่อการจัดบริการสังคมในพื้นที่ให้เป็นไป โดยคำนึงถึงความเป็นจริงในเรื่องจำนวนประชากรและความต่างทางวัฒนธรรม และเสนอกลไกการทำงานที่ประสบความสำเร็จขององค์กรพัฒนาเอกชนในการเข้าถึงแรงงานต่างด้าวได้ด้วย การใช้กลไกอาสาสมัครและการทำงานเชิงรุกในพื้นที่ รวมถึงการทำงานประสานกันของทุกองค์กรในจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับแรงงานต่างด้าวด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | This study is aimed to the following objectives : 1.To study problem and obstacles in social welfare for Foreign migrant labour set up and 2. To study the approach of social welfare for Foreign migrant labour, limited to the area of Samutsakorn province, which is one of the most crowded location in Thailand for foreign migrant labour by studying social welfare for Foreign migrant labour in the context of social safety net. This focus is giving the basic needs to comfort and live one's life with dignity contains four levels. 1. Social service consists of four services, inwhich are essential for living: Medical care, Housing, Foreign migrant children education and safety in life and belongings. 2.Social welfare provided by NGOs 3. Social security 4. Social work/ Social administration In this study found that social welfare for Foreign migrant labour, which is social safety net in Samutsakorn province is divived into two levels: The essential social service consisting of four services provided by NGOs emerges the conditions of signnificant problems and obstacles came from the unreadiness of government finding throughout the unstable policies - Foreign migrant labour registeration, lack of human resources capacity for working in the area and negative attitude towards social Foreign migrant labour are defined root causes for services to fail the expected objectives.Moreover, with Government unreadiness, Employer is the most important factor in providing social welfare for Foreign migrant labour. Lately, employers are switched their behavior from take advantage of Foreign migrant labour to compete with pay and welfare due to the downfall of foreign migrant labors supply creating labour competition to fill-in their demand. The suggestions from this study for social welfare for Foreign migrant labour set up approach is to reveal the fact of having Foreign migrant labour and proposed successful NGOs work mechanism in reach out Foreign migrant labour via volunteer approach and proactive working in the area, including working in collaboration of all related parties in the province. | en |
dc.format.extent | 1492943 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.812 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | บริการสังคม | en |
dc.subject | สวัสดิการลูกจ้าง -- ไทย -- สมุทรสาคร | en |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว -- ไทย -- สมุทรสาคร | en |
dc.title | การศึกษาการจัดสวัสดิการแรงงานต่างด้าว : กรณีศึกษาจังหวัดสมุทรสาคร | en |
dc.title.alternative | The Study on social welfare for foreign migrant labour : in a case of Samutsakorn | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | เศรษฐศาสตร์การเมือง | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Voravidh.C@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.812 | - |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jomkwan_Kw.pdf | 1.46 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.