Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13657
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรชา ตุลานันท์ | - |
dc.contributor.author | ชนาสร นิ่มนวล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | กรุงเทพมหานคร | - |
dc.date.accessioned | 2010-10-14T10:06:25Z | - |
dc.date.available | 2010-10-14T10:06:25Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13657 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาการยอมรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษของครูและเด็กปกติในชั้นเรียนเรียนร่วมระดับปฐมวัยในโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยครูประจำชั้นชั้นเรียนเรียนร่วมจำนวน 10 คน และเด็กปกติ 140 คน จากโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และแบบวัดสังคมมิติ ผลการวิจัยดังนี้ 1) การแสดงพฤติกรรมการยอมรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนเรียนร่วม ครูส่วนใหญ่ แสดงพฤติกรรมทั้งทางกายและทางวาจาโดยพฤติกรรมทางกายที่พบมากที่สุดคือ การสบตาเด็กที่มีความต้องการพิเศษขณะพูดคุย สัมผัสจับต้องตัวเด็กและช่วยเหลือในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน พฤติกรรมทางวาจาที่พบมากที่สุดคือ พูดคุย ซักถามเกี่ยวกับเรื่องราวทั่วไป พูดกระตุ้น เรียกชื่อให้เด็กเกิดความสนใจหรือกลับมาสนใจในงานที่เด็กทำ ด้านการจัดการเรียนการสอน ครูแสดงพฤติกรรมส่งเสริมให้เด็กช่วยเหลือตนเองให้ใกล้เคียงกับเด็กปกติ ครูมีการจัดกิจกรรมและมีการช่วยเหลือในการดำเนินกิจกรรมการเรียน 2) ความคิดเห็นของครู พบว่า ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนร่วม ครูส่วนใหญ่มองว่าการจัดการเรียนร่วมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเด็กที่มีความต้องการพิเศษ มากกว่าการเข้าเรียนโรงเรียนเฉพาะสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ สำหรับความคิดเห็นต่อตัวเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ครูส่วนใหญ่รู้สึกรัก เอ็นดู ผูกพัน กับเด็กที่มีความต้องการพิเศษมากเนื่องจากครูดูแลช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษอย่างใกล้ชิด 3) การยอมรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนเรียนร่วมของเด็กปกติ พบว่า พฤติกรรมด้านการทำกิจกรรมที่มีผลคะแนนต่ำกว่าด้านอื่น ตามมาด้วยพฤติกรรมการยอมรับด้านการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ พฤติกรรมการยอมรับด้านการช่วยเหลือ และด้านที่ได้รับคะแนนมากที่สุดคือ ด้านการใกล้ชิดทางกาย อย่างไรก็ตาม คะแนนของเด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับนั้นต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยในทุกด้าน | en |
dc.description.abstractalternative | To study the acceptance of children with special needs in inclusive early childhood classroom who study in the lead schools for inclusive education, Bangkok metropolis. The samples were 10 teachers and 140 students in 10 inclusive early childhood classrooms in lead schools for inclusive education. The research instruments used in this study were interview form, observation form, and sociometry rating form. The research findings were as follows 1) Behavioral demonstration, the result of the study found that the most behavior relation between teachers and students was talking with special needs children and look in their eyes in the same times, talked and called name of special needs children. The result of the study found that the most of teaching was teachers help and support special needs children for nearly normal, make a activities and help for learning. 2) Opinion of inclusive education, the result of the study found that the most of teachers to express opinion, inclusive education appropriate for special needs children more than special education schools. Opinion of special needs children, the result of the study found that the most of teachers feel love special needs children because teachers take care special needs children close up. 3) Acceptance of students study about helping, generousity, common activity and physical similarity. Especially common activity was lowest, next a generousity, next a helping and the highest scores was physical similarity. | en |
dc.format.extent | 1241605 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.608 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เด็กพิเศษ | en |
dc.subject | การศึกษาพิเศษ | en |
dc.subject | การเรียนร่วมของเด็กพิเศษ | en |
dc.title | การศึกษาการยอมรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในชั้นเรียนร่วมระดับปฐมวัย ของโรงเรียนแกนนำจัดการเรียนร่วมในกรุงเทพมหานคร | en |
dc.title.alternative | A study of acceptance of children with special needs in inclusive early childhood classroom in the lead schools for inclusive education, Bangkok metropolis | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การศึกษาปฐมวัย | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.608 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chanasorn_Ni.pdf | 1.21 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.