Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13673
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพี จรัสจรุงเกียรติ-
dc.contributor.authorปัญจพร ลีลาชีวสิทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-10-16T07:38:12Z-
dc.date.available2010-10-16T07:38:12Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13673-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้าง ผลัด และกลวิธีทางภาษาในปริจเฉทการสนทนารายการโทรทัศน์ "หัวหมอจ้อข่าว" ข้อมูลที่ใช้ศึกษาได้จากสำเนาแถบวิดิทัศน์การสนทนาระหว่างผู้ดำเนินรายการ ในรายการโทรทัศน์ "หัวหมอจ้อข่าว" ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 จำนวน 26 ครั้ง รวมเป็นระยะเวลาประมาณ 650 นาที ผลการศึกษาเรื่องโครงสร้างและผลัด ของปริจเฉทการสนทนาในรายการโทรทัศน์ "หัวหมอจ้อข่าว" พบว่าสามารถแบ่งองค์ประกอบของโครงสร้างออกได้เป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.) ส่วนนำ ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ปรากฏตายตัว และองค์ประกอบที่ปรากฏไม่ตายตัว 2.) ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วยองค์ประกอบที่ปรากฏตายตัว ได้แก่ การเล่าประเด็นข่าวที่นำมาจากหนังสือพิมพ์ไทยรายวัน การให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย และการเข้าโฆษณา 3.) ส่วนท้ายประกอบด้วยองค์ประกอบที่ปรากฏตายตัว และองค์ประกอบที่ปรากฏไม่ตายตัว ส่วนเรื่องผลัดการสนทนาพบว่า ส่วนใหญ่เป็นผลัดการสนทนาที่มีการวางแผน ซึ่งได้กำหนดหน้าที่หลักของผู้ดำเนินรายการแต่ละคนให้ดำเนินผลัดในองค์ประกอบของโครงสร้างแต่ละส่วน การศึกษาเรื่องกลวิธีทางภาษา พบว่ามีการเลือกใช้กลวิธีทางภาษา เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของปริจเฉท ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประการ ได้แก่ จุดประสงค์ในเชิงการสื่อสารและจุดประสงค์ในเชิงพาณิชย์ การเลือกใช้กลวิธีทางภาษาเรียงตามลำดับการปรากฏจากมากไปหาน้อยมี 11 กลวิธี ดังนี้ 1. การใช้ภาษาไม่เป็นทางการ 2. การขยายความ 3. การสมมติ 4. การอ้างอิง 5. การหักมุม 6. การใช้ถ้อยคำโน้มน้าวหรือเชิญชวนอย่างตรงไปตรงมา 7. การใช้คำเลียนเสียง 8. การใช้คำขยายกริยาเกินจริง 9. การเล่นคำ 10. การบริภาษ 11. การหยอกเย้าen
dc.description.abstractalternativeThe study aims at examining structures, turns and language strategies of conversation among the reporters of “HUAMOCHOKHAO” television program. The study conducted about 650 minuites from 26 recorded compact discs of the period from July to September, 2004. Structures of conversation found in this study can be catagorized into three parts, 1) Introduction composed by fixed and unfixed factors, 2) Content composed by fixed factor starting with report on daily newspaper, providing knowledge of law and lastly before advertisement break, highlight issue of next part of the program. 3) Ending composed by fixed and unfixed factors. As for turns used in the program, the study has found that most of them were planned and set for masters according to each role in the program. It is found that the language strategy is used to complete the goal of discourse which divided to be communicative and commercial. The following eleven strategies are found and ordered according to most frequent of use 1. Using informal language 2. Magnifying content 3. Assuming 4. Citing 5. Using punch line 6. Using persuasive 7. Onomatopoeia 8.Using over adverb 9.using puns 10.Using condemn 11. Teasingen
dc.format.extent1970279 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.721-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์en
dc.subjectรายการโทรทัศน์en
dc.titleการวิเคราะห์ปริจเฉทรายการโทรทัศน์ "หัวหมอจ้อข่าว"en
dc.title.alternativeA discourse analysis of "Huamochokhao" TV programen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineภาษาไทยes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.721-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phanchaporn.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.