Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13684
Title: | ความเสี่ยงจากการใช้อินเทอร์เน็ตของวัยรุ่นกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Risks of internet usage by adolescents in Bangkok Metropolis |
Authors: | ประภาพร ชวนปิยะวงศ์ |
Advisors: | สุมนทิพย์ จิตสว่าง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sumonthip99@hotmail.com |
Subjects: | อินเตอร์เน็ตกับวัยรุ่น -- แง่สังคม วัยรุ่น -- ไทย -- กรุงเทพฯ ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงจากการใช้อินเตอร์เน็ตของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร ศึกษาทัศนคติของวัยรุ่นที่มีต่อความเสี่ยงจากการใช้อินเทอร์เน็ต และแนวทางในการป้องกัน ความเสี่ยงจาก การใช้อินเทอร์เน็ตของกลุ่มวัยรุ่น โดยศึษาปัจจัยทางด้านเพศ กลุ่มเพื่อน บริการสนทนาออนไลน์ เว็บไซต์ โป๊ ลามก การรับอีเมล์ (e-mail) ข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเพศและสถานที่พักอาศัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดย ใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน เป็นวัยรุ่นที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ต จากร้านอินเทอร์เน็ต บริเวณสามย่าน สยามสแควร์ สีลม และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจำนวน 10 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า ไคสแควร์ ในการหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม และใช้การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percent) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และใช้การอุปนัยสำหรับ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (in-depth interview) ผลการศึกษาพบว่า จำนวนวัยรุ่นหญิงมีสัดส่วนเท่ากับ วัยรุ่นชาย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ 20 ปี สภานถาพโสด ศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษา หรือเทียบเท่า วัยรุ่นที่พักอาศัยอยู่ที่บ้านของตนเอง โดยอาศัยอยู่กับพ่อแม่ มีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และมีรายได้ 2,000-5,000 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อความบันเทิง รูปแบบบริการที่เข้าถึงมากที่สุด คือ เว็บไซต์ และกระดานข่าว รองลงมา คือ การสนทนออนไลน์ และอีเมล์ (e-mail) โดยวัยรุ่นมี่ทัศนคติยอมรับ ความเสี่ยงจากการใช้อินเทอร์เน็ต ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยทางด้านเพศ บริการสนทนา ออนไลน์ เว็บไซต์โป็ ลามก การรับอีเมล์ (e-mail) ข่าวสาร ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเพศ และสถานที่พักอาศัย มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเสี่ยงจากการใช้อินเทอร์เน็ต ณ ระดับ 0.05 แต่กลุ่มเพื่อน ไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความเสี่ยงจากการใช้อินเทอร์เน็ตระดับ 0.05 |
Other Abstract: | The research aimed to study risks of internet usage by adolescents in Bangkok metropolis, attitude of adolescents in Bangkok metropolis and ways to protect risks of internet usage. The study focused on the relationship of factors such as sex, group of friends, chat room, website, e-mail and place to use internet. This study used questionnaire to collect data from a sample of 300 and adolescents who used internet from internet cafe at samyan, siamsquare and silom area and in-depth interviews were conducted with 10 adolescents. The results were analysed by using statistical significant test percentile, frequency, mean, chisquare test and inductive methods for in-depth interview. Research results showed the numbers of female samples were equal to male samples. Most of them were 20 years of age, single, studied at undergraduate and lived wiht family at home in Bangkok metropolis. The average income was 2,000-5,000 baht per month. Most of internet usage access to website webboard, chat room and e-mail for entertainment. Adolescents had a positive attitude toward risks of internet usage. When the hypotheses were tested, it was found that sex, chat room, website, e-mail and place to use internet had statistical significant relationship with risks of internet usage at 0.05 level but group of friends did not had statistical significant at 0.05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | สังคมวิทยามหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สังคมวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13684 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.425 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.425 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Pol - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
prapaporn.pdf | 1.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.