Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13702
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศุภกรณ์ ดิษฐพันธุ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)-
dc.date.accessioned2010-10-22T11:21:22Z-
dc.date.available2010-10-22T11:21:22Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13702-
dc.description.abstractศึกษาในเรื่องความงามและประสบการณ์สุนทรียะของวิถีชีวิตซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาวอีสานที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย การศึกษาจะทำให้ศิลปินมีความเข้าใจในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอีสานได้ดีขึ้น อีกทั้งยังทำให้ผู้ชมงานศิลปะเกิดความเข้าใจในกระบวนการความคิดสร้างสรรค์ของศิลปินและความสัมพันธ์ของงานศิลปะกับสังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีของชาวอีสาน ความรู้ที่ได้จากการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการสร้างสื่องานศิลปะที่เหมาะสมทั้งในสิ่งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม โดยวิธีการสัมภาษณ์ในแนวลึกด้วยคำถามที่ไม่มีโครงสร้าง จากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบและวิธีการอุปมาน รวมทั้งการวิเคราะห์บทวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและการศึกษาภาคสนาม เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่วางไว้ การศึกษาพบว่า ความงามและประสบการณ์สุนทรียะทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ยังคงอยู่ในวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวอีสาน ความงามและประสบการณ์สุนทรียะของชาวอีสานยังคงมีการสืบทอดและพัฒนาต่อๆ กันมาในการดำรงชีวิต การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมมีผลกระทบต่อวิถีชีวิต อย่างไรก็ตาม ความงามและประสบการณ์สุนทรียะยังคงดำเนินอยู่ในหัวใจของชาวอีสาน และเต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจที่จะถ่ายทอดความงามเหล่านั้นต่อไปตราบชั่วลูกชั่วหลานen
dc.description.abstractalternativeTo investigate the role of beauty and aesthetic experience in the cultural heritage and lives of people who live in Esan, a Northeast region of Thailand. The information gained from such a study could help artists understand the culture and lives of the Esan people. It could further assist the art audience to comprehend the original artist’s creative ideas as well as the relationship of arts, social cultural and technology of people in Esan. This knowledge would be meaningful to the creative process in order to create the appropriate art application both abstract and tangible. The specific areas of Esan selected for study were Khon Khan, Roi Et and Mahasaraham provinces. Data were collected using in-depth interview with non-structure questions. Appropriate descriptive comparison, and in inductive analyses procedures were implemented to develop responses to the objective of the research. The related literature and field research were included in the analysis. The results indicated that beauty and aesthetic experience, both abstract and tangible, still exists in the culture and lives of the Esan people. The beauty and aesthetic experience of the Esan people still passes on and evolves through patterns of everday live. Fluctuations in the economy and society have effected the pattern of life in Esan; however, beauty and aesthetic experience still exists and will continue to remain in the heart of the Esan people.en
dc.description.sponsorshipทุนสิ่งประดิษฐ์กองทุนรัชดาภิเษกสมโภชen
dc.format.extent12926273 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectสุนทรียศาสตร์en
dc.subjectศิลปกรรมพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)en
dc.subjectวัฒนธรรมไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)en
dc.subjectศิลปกรรม -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)en
dc.subjectไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- ความเป็นอยู่และประเพณีen
dc.titleความงามและสุนทรียะของวิถีชีวิตในอีสาน : รายงานวิจัยen
dc.title.alternativeBeauty and aesthetic experience of lives in Esanen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorSuppakorn.D@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Fine Arts - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suppakorn_Beauty.pdf12.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.