Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13790
Title: การหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดตะกอนไหลถล่มและน้ำปนตะกอนบ่าบริเวณอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ.2549
Other Titles: Determination of parameters influencing the occurrence of 2006 debris flow-debris flood in Amphoe Laplae, Changwat Uttaradit
Authors: อภิศักดิ์ จักรบุตร
Advisors: สมบัติ อยู่เมือง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ysombat@chula.ac.th
Subjects: ตะกอนลำน้ำ -- ไทย -- อุตรดิตถ์
ตะกอน (ธรณีวิทยา)
ภัยพิบัติ
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การหาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดตะกอนไหลถล่มและน้ำปนตะกอนบ่า บริเวณอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ในปี พ.ศ. 2549 กระทำโดยใช้ข้อมูลที่จัดทำและแปลความหมายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ข้อมูลจากการสำรวจระยะไกล และข้อมูลจากการสำรวจภาคสนาม ในพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยแม่พูล การวิเคราะห์เพื่อประเมินความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดตะกอนไหลถล่มและน้ำปนตะกอนบ่า ได้ใช้ข้อมูลร่องรอยการเกิดตะกอนถล่มและน้ำปนตะกอนท่วมและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง มาทำการวิเคราะห์ด้วยวิธีของความน่าจะเป็นแบบตัวแปรเดี่ยว และการคำนวณค่าความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดพิบัติภัย จากตะกอนไหลถล่มและน้ำปนตะกอนบ่า ผลการวิเคราะห์สามารถจัดทำเป็นแผนที่แสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดพิบัติภัยตะกอนไหลถล่มและน้ำปนตะกอนบ่าขึ้นในพื้นที่ ผลการศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดตะกอนไหลถล่มและน้ำปนตะกอนบ่าในครั้งนี้ นอกเหนือไปจากปัจจัยด้านปริมาณน้ำฝนซึ่งตกหนักเพียงอย่างเดียว ได้แก่ ปัจจัยระยะห่างจากทางน้ำที่น้อยกว่า 50 เมตร ปัจจัยความลาดชันที่มากกว่า 30° ปัจจัยการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบพื้นที่แหล่งน้ำ และพื้นที่ชุมชน ผลการศึกษาสามารถจัดทำสามารถจัดแบ่งระดับพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดตะกอนไหลถล่มและน้ำปนตะกอนบ่าเป็น 5 ระดับคือ ระดับสูงมาก ระดับสูง ระดับปานกลาง ระดับต่ำ และระดับต่ำมาก มีพื้นที่ 0.02, 3.12, 138.15, 6.52 และ 2.63 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ
Other Abstract: Thematic (GIS and remote sensing) data interpretation, field investigation, and laboratory analysis were carried out to investigate parameters influencing the debris flow and debris flood occurred on May 2006 in Amphoe Lablae, Changwat Uttaradit. The relationship between debris flow-flood and relevant parameters was analyzed for debris flow-flood susceptibility assessment. In Lablae sub-catchment, scar-scouring locations detected from remote sensing interpretation and field surveys were complied into a GIS database. Various maps were constructed from the flow-flood relevant parameters derived from the database. The parameters, univariant probability method, and calculation of debris flow-flood susceptibility were applied to analyze and produce a susceptibility map of debris flow-flood hazard in the sub-catchment. On the contrary to previous concludes, it was found that the disastrous event was not the work of the unusually heavy rainfall alone, the additional factors are distance from drainage less than 50 meters, slope more than 30°, water body and communities area. In Lablae sub-cachment that covering an area of 150.45 square kilometers, it can be divided into the very high-, high-, moderate-, low-, and very low susceptibility zone which have areas of 0.02, 3.12, 138.15, 6.52 and 2.64 square kilometers, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13790
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.275
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.275
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Apisak_ju.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.