Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13825
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ปิยะชาติ แสงอรุณ | - |
dc.contributor.author | สายพิณ สังคีตศิลป์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-11-05T10:52:55Z | - |
dc.date.available | 2010-11-05T10:52:55Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13825 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | ศึกษาผลการแสดงออกทางการวาดภาพคนโดยใช้แบบทดสอบวาดรูปคนกู๊ดอีนัฟ-แฮร์รีส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 23 จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 90 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบสอบการวาดรูปคนกู๊ดอีนัฟ-แฮร์รีส 2. เกณฑ์การให้คะแนนภาพวาดคน 3. แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการวาดภาพคน ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์ สามารถแสดงรายละเอียดของส่วนต่างๆ ในการวาดภาพคน เป็นไปตามเกณฑ์การให้คะแนนของกู๊ดอีนัฟ-แฮร์รีส โดยการวาดภาพคนของนักเรียนทั้งหมด สรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนรวมในการวาดคนผู้ชาย คนผู้หญิง ตนเอง มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามลำดับ 2) การวาดภาพคนผู้ชาย ของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามลำดับ ส่วนของนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้คะแนนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามลำดับ 3) การวาดภาพคนผู้หญิง ของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามลำดับ ส่วนของนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้คะแนนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามลำดับ 4) การวาดภาพตนเอง ของนักเรียนชาย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้คะแนนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามลำดับ ส่วนของนักเรียนหญิง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้คะแนนมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ตามลำดับ 5) ความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับการวาดภาพคน พบว่า นักเรียนชอบวาดภาพตามความสนใจ และชอบใช้พ่อแม่เป็นแบบในการวาด ส่วนใหญ่นักเรียนจะชอบวาดภาพเกี่ยวกับการไปเที่ยวหรือพักผ่อนในสถานที่ต่างๆ และนักเรียนชอบวาดภาพคนอื่นที่เป็นผู้หญิง โดยการวาดจากจินตนาการหรือคิดเอง นักเรียนอยากวาดภาพคนที่มีท่ายืนและคิดว่าภาพคนที่มีลักษณะท่าทางก้มหรือนั่งเป็นสิ่งที่วาดยาก ส่วนรายละเอียดในการวาดนั้น แขนขา นิ้วมือ นิ้วเท้า วาดยากที่สุด และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของศีรษะและลำตัววาดยากที่สุด เครื่องประดับที่วาดยากคือ นาฬิกา และการแต่งกายที่ชอบวาดคือ คนใส่เสื้อผ้าแบบทั่วๆ ไป นักเรียนมีความรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลินทุกครั้งเมื่อวาดภาพ และคิดว่าการวาดภาพคนอย่างสม่ำเสมอทำให้วาดภาพคนได้ดีขึ้น และอยากให้มีการสอนวาดภาพคนโดยสอนให้นักเรียนวาดด้วยตนเอง | en |
dc.description.abstractalternative | To study human figure drawings by using Goodenough-Harris drawing test of grades four to six students in schools under the welfare education division. The sample group was ninety students studying in grades four to six under the Jurisdiction of the Department of General Education, Pitsanulok province. The research instruments were 1) Goodenough-Harris Drawing Test, and 2) Questionaires : opinions of students concerning human figure drawing. The research results has revealed that grades four to six students in schools under the welfare education division can draw details of human figure as follows :1) Drawing human figure of students in grades six got the highest scores, followed by grades five and four respectively. 2) Drawing man’s figure of boy students in grades six got the highest scores, followed by grades five and four respectively. For the girl students in grades five got the highest scores, followed by grades six and four respectively. 3) Drawing woman’s figure of boy students in grades six got the highest scores, followed by grades five and four respectively. For the girl students in grades five got the highest scores, followed by grades six and four respectively. 4) Drawing oneself of boy students in grades six got the highest scores, followed by grades four and five respectively. For the girl students in grades five got the highest scores, followed by grades six and four respectively. 5) The opinions of students concerning human figure drawing were as following. They liked drawing by using imagination and liked drawing their parents as the model. The most frequently of students liked drawing about travalling or relaxing in anywhere such and woman picture from imagination. Students liked drawing human in standing posture. However, they didn’t like drawing human in sit posture or low the head posture because they thought it’s difficult. The most difficult parts of human body to draw such as arms, legs, fingers. Students enjoyed drawing pictures and believe that. Drawing human regularly can improve drawing skills and would like to study how to draw human. | en |
dc.format.extent | 1716937 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1745 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) | en |
dc.subject | แบบทดสอบวาดภาพกู๊ดอีนัฟ-แฮร์รีส | en |
dc.title | การศึกษาการวาดภาพคนโดยใช้แบบทดสอบวาดรูปคนกู๊ดอีนัฟ-แฮร์รีส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ในโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์ | en |
dc.title.alternative | A study of human figure drawings by using Goodenough-Harris drawing test of grades four to six students in schools under the Welfare Education Division | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ศิลปศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Piyacharti.s@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1745 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Saipin_Su.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.