Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13836
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวยพร พานิช-
dc.contributor.authorอารยา เปี่ยมไพบูลย์กุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-11-10T07:33:05Z-
dc.date.available2010-11-10T07:33:05Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13836-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractศึกษาการสร้างสารและวิธีการนำเสนอข่าวสารเพื่อการป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยผ่านสื่อประเภทต่างๆ ในปัจจุบัน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิจัยแบบสหวิทยาการ (Multiple methodology) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ รวมถึงการศึกษาจากเอกสาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นแหล่งข้อมูลประเภทเอกสารรวบรวมจากบทความนิตยสารสุขภาพ 51 ฉบับ แผ่นพับเอกสารจากโรงพยาบาลรัฐบาล 6 แห่ง 19 ฉบับ โรงพยาบาลเอกชน 10 แห่ง 24 ฉบับ และสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมโดยเข้าร่วมการอบรมป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อสังเกตสื่อบุคคลผู้เป็นวิทยากรในการอบรมจำนวน 2 คน เข้ารับการปรึกษาและสังเกตสื่อบุคคลผู้ทำหน้าที่ให้การปรึกษาการป้องกันมะเร็งปากมดลูกจำนวน 10 คน สัมภาษณ์สื่อบุคคลผู้ทำหน้าที่เป็นผู้นำชุมชนในการนำเสนอข่าวสารการป้องกันมะเร็งปากมดลูกจำนวน 4 คน รวมสื่อบุคคลที่ได้ศึกษาจำนวน 16 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. วิธีการนำเสนอข่าวสารเพื่อการป้องกันมะเร็งปากมดลูกของสื่อบุคคลมี 2 ขั้นตอนที่พบได้บ่อยคือ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้กับผู้รับสาร และการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูก โดยส่วนใหญ่จะเป็นการให้ข้อมูลในมุมมองที่เป็นบวกเสมอ 2. นิตยสารสุขภาพจะมีวิธีการนำเสนอในประเด็นที่เกี่ยวกับการป้องกัน มากกว่าประเด็นอื่นๆ รวมถึงมีการโฆษณาวัคซีนเอชพีวีโดยตรงของบริษัทผู้นำเข้าหรือโรงพยาบาลเอกชนที่มีการให้บริการวัคซีนนี้ 3. แผ่นพับ เอกสารจากโรงพยาบาลรัฐบาลจะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกในทุกแง่มุมอย่างครบถ้วนตั้งแต่สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง การป้องกันการรักษา ส่วนเอกสารแผ่นพับจากโรงพยาบาลเอกชนจะมุ่งนำเสนอในประเด็นการป้องกันด้วยวิธีการต่างๆ เพียงประเด็นเดียว ซึ่งการป้องกันรูปแบบต่างๆ ที่นำเสนอนั้นทางโรงพยาบาลมีให้บริการ 4. สื่ออินเตอร์เน็ตมีการนำเสนอข้อมูลที่หลากหลายและมีรูปภาพประกอบมากมาย ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายทำให้การอ่านข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณอย่างสูง ความน่าเชื่อถือของสื่อชนิดนี้คือ แหล่งที่มาของข้อความเพราะเป็นพื้นที่สาธารณะที่ใครก็ได้สามารถนำเสนอข้อมูลที่ตนต้องการ หากเป็นข้อมูลที่มาจากโรงพยาบาลหรือองค์กรที่มีผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งนรีเวชก็ย่อมน่าเชื่อถือมากกว่าen
dc.description.abstractalternativeTo study the production and presentation of information about cervical cancer prevention in different types of media. The multiple methodology was used by content analysis documentary research samples were hospital documents, brochures altogether 43 documents, Health magazines 51 volumes, Internet media from 5 websites, interviewed with personal media 4 persons and participation observed with personal media 12 persons altogether personal media 16 persons that related to presented cervical cancer prevention. The results of the study reveal that. 1. Personal media presented information about cervical cancer by consisted of 2 activities, firstly, make good relationship with receiver. Secondary, interact for the exchange of perceptions also support with positive thinking. 2. Health magazines presented the issues about prevention more any issues or negative impact instead of the direct H.P.V. vaccine advertise of import company or privacy hospitals that have service. 3. Public hospital‘s documents presented information about cervical cancer context correctly, privacy hospital‘s documents presented this information leads to only prevention that this hospital have service. 4. Internet media presented variety information, have more pictures, easy to understand. So reading internet information must awareness and significant higher perception of susceptibility.en
dc.format.extent3781654 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1749-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสื่อสารทางการแพทย์en
dc.subjectปากมดลูก -- มะเร็ง -- การป้องกันและควบคุมen
dc.subjectการโน้มน้าวใจ (วาทวิทยา)en
dc.titleการสร้างสารและวิธีการนำเสนอข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันมะเร็งปากมดลูกในสื่อต่างๆen
dc.title.alternativeProduction and presentation of information about cervical cancer prevention in different types of mediaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวาทวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorUayporn.P@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.1749-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Araya_Pi.pdf3.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.