Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13857
Title: การปรับปรุงคุณภาพยิปซัมฟลูแก๊สแหล่งแม่เมาะโดยเทคนิคการแต่งแร่
Other Titles: Upgrading of Mae Moh flue-gas gypsum by mineral processing technique
Authors: วิชา ประกายพรรณ
Advisors: ภิญโญ มีชำนะ
สมศักดิ์ สายสินธุ์ชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pinyo.M@Chula.ac.th
fmnsss@kankrow.eng.chula.ac.th, Somsak.S@Chula.ac.th
Subjects: ฟลูแก๊ส -- ดีซัลเฟอไรเซชัน
ยิปซัม
ผลิตภัณฑ์พลอยได้
การแต่งแร่
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ยิปซัมฟลูแก๊ส (Flue-gas gypsum) หรือยิปซัมเอฟจีดี (FGD gypsum) ที่ใช้ในการศึกษานี้เป็นวัสดุเหลือทิ้ง (Waste) ซึ่งเกิดจากเครื่องกำจัดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์หรือเครื่องเอฟจีดี (FGD : Flue gas desulfurizer) ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการปรับปรุงคุณภาพยิปซัมฟลูแก๊สจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ โดยเทคนิคการแต่งแร่เพื่อทำให้ยิปซัมฟลูแก๊สนั้นมีคุณภาพเท่ากับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยิปซัม โดยนำยิปซัมฟลูแก๊สมาผ่านการคัดขนาดด้วยไฮโดรไซโคลน (Hydrocyclone) แล้วนำเอาส่วนหยาบ (Underflow) ที่ได้มาผ่านเครื่องแยกแม่เหล็กแบบเปียกความเข้มสูง (Wet High Intensity Magnetic Separator : WHIMS) ก่อนนำเอาส่วนที่ไม่ติดแม่เหล็กมาผ่านขบวนการขัดสีผิวแบบเปียก (Wet scrubbing) โดยใช้สารเคมีช่วย ซึ่งขบวนการทั้งหมดดังกล่าวสามารถเพิ่มคุณภาพของยิปซัมฟลูแก๊สได้ โดยเฉพาะในด้านความขาว (Whiteness) และความขาวสว่าง (Brightness) ผลที่ได้จากศึกษาพบว่า การคัดขนาดยิปซัมฟลูแก๊สด้วยไฮโดรไซโคลนโดยการป้อนแร่ที่ความเข้มข้นแร่ป้อน 5% solid โดยน้ำหนักและความดัน 30 ปอนด์ต่อตารางนิ้วเป็นสภาวะที่สามารถคัดแยกส่วนหยาบ (Underflow) ที่มีความขาวเพิ่มขึ้นได้ดีที่สุด และสามารถเก็บแร่ได้ 92.15% ของน้ำหนักของแร่ป้อน ส่วนละเอียด (Overflow) ประกอบด้วย เถ้าลอย (Fly ash) เป็นส่วนใหญ่และมลทินอื่นๆ ในขั้นตอนต่อมานำส่วนหยาบที่ได้มาผ่านเครื่องแยกแม่เหล็กแบบเปียกความเข้มสูง ที่ความต่างศักย์ไฟฟ้า 70 โวลต์และกระแสไฟฟ้า 14 แอมแปร์ สามารถเก็บมลทินที่ติดแม่เหล็กในส่วนติดแม่เหล็กได้มากที่สุด จากนั้นนำผลิตภัณฑ์ที่ไม่ติดแม่เหล็กที่ได้ไปผ่านเครื่องขัดสีผิวโดยเติมโซดาไฟ (NaOH) ที่ 1.43 กิโลกรัมต่อตัน โดยมีความเข้มข้นแร่ป้อน 70% solid โดยน้ำหนักและความเร็วรอบที่ 600 รอบต่อนาที พบว่าผลิตภัณฑ์ยิปซัมที่ได้ความขาวมีค่าเท่ากับ 61.25 และความขาวสว่างมีค่าเท่ากับ 80.65 ซึ่งค่าความขาวและค่าความขาวสว่างดังกล่าวสูงกว่าค่าของยิปซัมธรรมชาติที่มีค่าเท่ากับ 57.55 และ 66.95 ตามลำดับ
Other Abstract: Flue-Gas Gypsum or FGD Gypsum for this study is the waste from Mae Moh power plant Flue-Gas Desulfurization (FGD) process. The objective of this study is to upgrade Mae Moh flue-gas gypsum by mineral processing technique to obtain gypsum product to be conformed with the industrial standard gypsum. The flue-gas gypsum is firstly classified by hydrocyclone and the underflow fraction of the hydrocyclone is then passed through Wet High Intensity Magnetic Separator (or WHIMS). Finally, The non-magnetic products is chemically wet scrubbed to improve the whiteness and brightness of the gypsum product. From the study, it is found that feeding slurried flue-gas gypsum through hydrocyclone with 5% solid by weight at 30 psi to obtained whiter gypsum (underflow) with 92.15% yield. The overflow consists of fly ash and other impurities. The underflow fraction is then passed through WHIMS at Voltage = 70 and Amperage = 14 to obtain non-magnetic product with less magnetic impurities. The non-magnetic product is further processed by wet scrubbing with caustic soda (NaOH) at 1.43 kilograms per ton feed with 70% solid concentration at 600 rpm for 30 minutes. The obtained product having whiteness value of 61.25 and brightness value of 80.65 which is higher than that of natural gypsum with the values of 57.55 and 66.95 respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13857
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1799
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1799
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wicha_Pr.pdf2.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.