Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13860
Title: การศึกษาปัจจัยและลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชน : พหุกกรณีศึกษาวัดพัฒนาดีเด่น
Other Titles: A study of factors and characteristics of community participation : a multi-site case study of developed temples of distinction
Authors: ปิยฉัตร เชาวลิต
Advisors: อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: วัดบางช้างเหนือ (นครปฐม)
วัดสุทธิวารี (จันทบุรี)
การพัฒนาชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยและลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชนของวัดพัฒนาดีเด่น 2) นำเสนอแนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนของวัดพัฒนาดีเด่น โดยมีพื้นที่การศึกษา 2 พื้นที่คือ วัดบางช้างเหนือ อ.สามพราน จ.นครปฐม และวัดสุทธิวารี อ.เมือง จ.จันทบุรี ด้วยวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์โดยมีผู้ให้ข้อมูลวัดบางช้างเหนือจำนวน 32 คนและวัดสุทธิวารีจำนวน 26 คน และการสนทนากลุ่มจำนวน 2 ครั้ง ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน ในประเด็นเรื่องบุคคลในชุมชนได้แก่ 1) ฐานะทางเศรษฐกิจ พบว่า การเข้าร่วมกิจกรรมไม่ขึ้นกับฐานะทางเศรษฐกิจ 2) ความเป็นผู้นำ พบว่า ผู้ที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำแบบเป็นทางการ 3) ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวัดพัฒนาดีเด่น พบว่า คนในชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมเมื่อเข้าใจในประโยชน์ ของวัดพัฒนาดีเด่น โดยเฉพาะในด้านจิตใจ 4) ความคาดหวังของคนในชุมชนที่มีต่อวัดพัฒนาดีเด่น คนในชุมชนคาดหวังให้วัดมีการพัฒนาต่อไป โดยไม่หยุดเพียงเมื่อได้รับรางวัล และคาดหวังให้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชน ในประเด็นบริบทของชุมชน ได้แก่ 1) เศรษฐกิจของชุมชน พบว่าเศรษฐกิจของชุมชนไม่ได้ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) สังคมของชุมชน ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนและปัญหาสังคมส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน คือ เมื่อความสัมพันธ์ของคนในชุมชนดีจะสามารถชักชวนกันมาร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นได้ และในส่วนของปัญหาทางสังคม เมื่อไม่มีปัญหาทางสังคม ทำให้มีความสบายใจที่จะเข้าร่วมกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นที่วัด 3) วัฒนธรรมของชุมชน ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมคือ เมื่อมีกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรม จะเป็นสิ่งยึดโยงคนในชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกิดขึ้น เกิดการสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมต่อไป 2. ลักษณะการมีส่วนร่วมของชุมชน ในส่วนของการมีส่วนร่วมทางการศึกษา 1) การศึกษาในระบบ มีการก่อตั้งโรงเรียนสำหรับนักเรียนในชุมชนและโรงเรียนพระปริยัติธรรมขึ้น โดยประชาชนมีส่วนร่วมโดยการบริจาคปัจจัยเพื่อบำรุงโรงเรียน และการช่วยเหลือแรงกายในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งมีการเรียนการสอนธรรมศึกษาสำหรับนักเรียน ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมคือ ชาวบ้านจะมาช่วยทำอาหาร แจกสิ่งของแก่นักเรียนที่มาเข้าค่ายธรรมศึกษา เนื่องจากเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียนอย่างแท้จริง 2) การศึกษานอกระบบ ทั้งสองวัดไม่ได้มีการจัดการศึกษาในส่วนนี้ เนื่องจากทั้งสองพื้นที่มีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนซึ่งสามารถจัดการศึกษานอกระบบ ที่สอดคล้องกับความต้องการของคนในชุมชนได้ อีกทั้ง ทั้งสองวัดได้ทุ่มเทไปกับการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน จึงไม่ได้มีการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพิ่มเติมอีก 3) การศึกษาตามอัธยาศัย ชาวบ้านจะมาช่วยจัดกิจกรรม และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่น การบวชชีพราหมณ์ในช่วงหลังสงกรานต์ การมาร่วมงานประจำปี ในส่วนของขั้นตอนการมีส่วนร่วม 1) คิด มีชาวบ้านเพียงบางส่วนที่เข้าไปมีส่วนร่วมในขั้นตอนนี้ 2) การตัดสินใจ ชาวบ้านที่เข้าไปมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการคิด ทำการลงประชามติว่าจะทำหรือไม่ทำกิจกรรมต่างๆ 3) การปฏิบัติการ ชาวบ้านมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ โดยกำลังกายและกำลังทรัพย์ 4) การรับประโยชน์ ชาวบ้านไม่หวังผลประโยชน์ใดๆ จากการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมของวัด ผลประโยชน์ทุกอย่างจะเป็นของวัด ชาวบ้านได้ผลประโยชน์คือได้ร่วมกิจกรรม ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5) การประเมินผล ไม่มีการประเมินผลที่เป็นแบบแผนชัดเจน เป็นการพูดคุยหลังเสร็จงานหรือประเมินในเนื้องาน 3. แนวทางการมีส่วนร่วม แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการส่งเสริมของวัด คือควรมีการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเจ้าอาวาส และพระ นอกจากนั้นวัดควรมีการจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมกับขั้นตอนในการจัดกิจกรรมทุกขั้นตอน 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการส่งเสริมของชุมชน ควรพัฒนาคุณลักษณะของผู้นำชุมชน ส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชนโดยอาจจัดกิจกรรมตามประเพณี เพื่อเป็นจุดเริ่มให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม
Other Abstract: The objectives of this study were 1) to study factors and characteristics of community participation 2) to propose guidelines for community participation. This study employed the method of a multi-site case study of developed temples of distinction by observing the community participation of developed temples, interviewing key informants, and focus group. The findings were as follows: 1. Factor affecting the community participation in the part of person in community such as 1) economical status un effected to participation 2) Being leader of person in community, a person who much affected to the participation,was not formal leader 3) the knowledge and participation about developed temples of distinction, affected to community about the activities participation in the temple 4) the community expected that the temple will be developed continuously although the temple has been awarded. The context of community such as 1) community economy did not affect to the community participation 2) society of community; the relationship between people and social problem affected to community participation, that was when the good relation happens in society the people are able to persuade together for doing activities. About social problem, when these were no social problem, the people were always happy to participate in the activities 3) the culture of community; the people participated in traditional-cutural activities a lot. 3. The guidelines for community participation ; 1) developed the characteristic of the abbot ,monks and invite community to participate in all activities. 2) developed the characteristic of the community leaders, to developed the community relationship by the traditional activities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13860
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1762
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.1762
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyachat_Ch.pdf4.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.