Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13875
Title: การผลิตเยื่อและการฟอกเยื้อด้วยไซแลนเนสของหญ้าคา Imperata cylindrical (L.) P Beauv. และหญ้าแฝก Vetiveria zizaniodes (L.) Nash Grasses
Other Titles: Pulping and xylanase bleaching of cogon Imperata cylindrical (L.) P Beauv. and vetiver Vetiveria zizaniodes (L.) nash Grasses
Authors: สุธิดา มุลาลินน์
Advisors: สีหนาท ประสงค์สุข
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Sehanat.P@Chula.ac.th
Subjects: ไซแลนเนส
เยื่อกระดาษ
หญ้าคา
หญ้าแฝก
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการผลิตเยื่อและการฟอกเยื่อด้วยไซแลนเนสของหญ้าคาและหญ้าแฝกเพื่อเปรียบเทียบสมบัติของเยื่อและกระดาษที่ผลิตได้จากหญ้าสองชนิดนี้ การทดลองเริ่มจากการผลิตเยื่อที่อุณหภูมิ 120 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยใช้ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ต่างๆ กัน คือ 7.5%, 10.0%, 12.5% และ 15.0% ของน้ำหนักหญ้าแห้ง ผลการทดลองพบว่า การใช้ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตที่ได้ของเยื่อลดลงเล็กน้อย ส่วนความแข็งแรงของกระดาษจะเพิ่มขึ้นเมื่อใช้ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์มากเกินไปจะทำให้ความแข็งแรงของกระดาษลดลง สำหรับความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่เหมาะสมต่อการผลิตเยื่อจากหญ้าคาและหญ้าแฝกคือ 10.0% ในส่วนของการฟอกเยื่อด้วยเอนไซม์ไซแลนเนสร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ของทั้งหญ้าคาและหญ้าแฝก นั้นพบว่า ค่าความขาวสว่างของกระดาษจากหญ้าทั้ง 2 ชนิด มีค่าสูงกว่าการใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือเอนไซม์ไซแลนเนสในการทำปฏิกิริยากับเยื่อเพียงอย่างเดียว ในส่วนของความแข็งแรงนั้นพบว่า การใช้เอนไซม์ไซแลนเนสร่วมกับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในการฟอกเยื่อ ทำให้เยื่อที่ได้จากทั้งหญ้าคาและหญ้าแฝกมีความแข็งแรงต่อแรงดึงและความแข็งแรงต่อแรงดันทะลุลดลง หากแต่มีความต้านทานแรงฉีกเพิ่มขึ้น หญ้าคาถือเป็นแหล่งเส้นใยที่น่าสนใจในการนำมาผลิตเป็นกระดาษมากกว่าหญ้าแฝก เนื่องจากกระดาษจากหญ้าคาให้สมบัติด้านความแข็งแรง อันได้แก่ ความแข็งแรงต่อแรงดึง ความแข็งแรงต่อแรงดันทะลุ และความต้านทานแรงฉีก มากกว่ากระดาษจากหญ้าแฝกทั้งก่อนและหลังการฟอกเยื่อ
Other Abstract: In this research, pulping and xylanase bleaching of cogon and vetiver grasses were studied in order to compare pulp and paper properties obtained from these two grasses. Firstly, the pulping of these grasses was done at 120 °C for 2 hours by using concentration of sodium hydroxide of 7.5%, 10.0%. 12.5% and 15.0% based on oven dried grass weight. The results indicated that higher sodium hydroxide concentration caused slightly lower pulp yield. Strength properties increased with increasing sodium hydroxide concentrations. However, too high sodium hydroxide concentrations decreased the strengths properties. It was also found that the optimum sodium hydroxide concentration for cogon and vetiver grasses pulping was 10.0%. For xylanase combined with H2O2 bleaching of cogon and vetiver grasses, the results indicated that pulp brightness after bleaching was higher than using only xylanase or H2O2. For strength properties, it was found that xylanase combined with H2O2 bleaching for both pulps from cogon and vetiver grasses led to lower tensile strength and burst strength but higher tear resistance. Additionally, cogon grass seemed to be a more attractive fiber source for papermaking than vetiver grass because paper made from cogon grass provided better strength properties in terms of tensile strength, burst strength and tear resistance than vetiver grass both before and after pulp bleaching.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีเยื่อและกระดาษ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13875
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.811
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.811
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthida_mu.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.