Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1390
Title: | การจัดการงานซ่อมบำรุงด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตหัวอ่าน-เขียนคอมพิวเตอร์ |
Other Titles: | Maintenance management using a networking computerized system : the case study of head gimbal assembly manufacturing |
Authors: | ภูษิต สารพานิช, 2512- |
Advisors: | จิตรา รู้กิจการพานิช |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Subjects: | เครื่องจักรกล--การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม หัวอ่านและบันทึก เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบการจัดการซ่อมบำรุงด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์หัวอ่าน-เขียนคอมพิวเตอร์ การวิจัยได้ศึกษาปัญหาระบบการซ่อมบำรุง เวลาการขัดข้องของเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยข้อมูลที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์ มาจากข้อมูลจากเอกสารการบันทึกการขัดข้องของเครื่องจักรอุปกรณ์จากสายงานการผลิต ข้อมูลเอกสารการแจ้งซ่อมของแผนกซ่อมบำรุงรักษา รายงานการขัดข้องของสายงานการผลิตของฝ่ายการผลิต เวลาการหยุดของเครื่องจักร สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนคือ 1) เวลาที่สูญเสียอันเนื่องมาจากการรอคอยช่างเทคนิคซ่อมบำรุง 2) เวลาที่ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงใช้ในการซ่อมบำรุงรักษาอุปกรณ์ ทั้งนี้นอกจากทั้ง 2 ส่วนแล้วยังพบปัญหาอื่นๆ ของระบบอีกคือ การซ่อมบำรุงเป็นแบบการซ่อมแบบฉุกเฉิน การแจ้งซ่อมใช้การแจ้งทางโทรศัพท์ และในบางครั้งใบแจ้งซ่อมสูญหายทำให้เสียเวลาในการซ่อมบำรุงที่นานขึ้น ดังนั้นจึงได้ศึกษางานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบระบบและข้อกำหนดในการสร้างโปรแกรมการซ่อมบำรุงรักษาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็น 5 ระบบ ได้แก่ 1) ระบบความต้องการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ 2) ระบบการทำงานซ่อมบำรุงรักษาเมื่อมีการแจ้งซ่อม ประกอบด้วยระบบย่อย 2 ระบบคือ ก) ระบบการเปิดงานซ่อมบำรุงรักษา ข) ระบบการปิดงานซ่อมบำรุงรักษา 3) ระบบเตือนเมื่อเครื่องจักรอุปกรณ์ต้องการซ่อมบำรุงจากสายการผลิต ประกอบด้วยระบบย่อย 2 ระบบคือ ก) ระบบแจ้งเตือนสถานะการเสียหายของเครื่องจักรแบบทันทีทันใดผ่านระบบเครือข่าย แสดงผลทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ข) ระบบการตรวจสอบและค้นหาจำนวนงานซ่อมบำรุงที่คงค้างอยู่ในระบบ 4) ระบบการแก้ไข บันทึกข้อมูลเครื่องและจักรอุปกรณ์ 5) ระบบประมวลผลและการรายงานผลการซ่อมบำรุงรักษา และทำการสร้างโปรแกรมตามการออกแบบและข้อกำหนด การวัดผลการศึกษาวิจัยหลังจากการนำระบบการซ่อมบำรุงรักษาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ใช้แทนระบบเก่าพบว่าเปอร์เซ็นต์การรอคอยงานซ่อมบำรุงโดยเฉลี่ยลดลง 3.42% เปอร์เซ็นต์การทำงานซ่อมบำรุงจริงโดยเฉลี่ยลดลง 6.95% เปอร์เซ็นต์การขัดข้องของเครื่องจักรและอุปกรณ์โดยเฉลี่ยลดลง 10.37% และสัดส่วนเปอร์เซ็นต์การรอคอยการซ่อมบำรุงต่อเปอร์เซ็นต์การหยุดการทำงานเครื่องจักรลดลงโดยเฉลี่ย 10.96% |
Other Abstract: | The propose of the thesis was designing a maintenance management that using a networking computerized system for head gimbal assembly manufacturing. This study had research to the maintenance management system of the manufacturing case study to reduce the downtime problems. All the data came from the production downtime recording, the work request maintenance, the production reporting and data analysis maintenance management system of the case study. From analyzing, we can separate the downtime of equipment in 2 parts 1) Waiting Time and 2) Repairing Time. Not only that, the another problems was found, as the work maintenance requests lose, no recording for a repairing equipment history. To study related other research and theory for designing a maintenance management using networking computerized system and specification to create a computer program for maintenance management using networking. Thus, a main computer program consist of five system as 1) Work maintenance request system 2) Work order system compose of two minor systems 2.1) Open work maintenance system 2.2) Closed work maintenance system 3) Monitoring downtime online system compose of two minor systems 3.1) Real Time online system 3.2) Back lock system 4) Administration system 5) Reporting system then created the program follow as a specification. By measuring a maintenance management using a networking after implementation got the result as mean of waiting time precentage reduced 3.42%, mean of repairing time percentage reduced 6.95%, mean of total downtime percentage reduced 10.37% and mean of ratio waiting time percentage reduced 10.96%. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมอุตสาหการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1390 |
ISBN: | 9741709994 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phusit.pdf | 2.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.