Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13918
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนันทิกา ทวิชาชาติ-
dc.contributor.authorวิทิตา ไชยศรี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.coverage.spatialไทย (ภาคใต้)-
dc.coverage.spatialยะลา-
dc.date.accessioned2010-11-16T08:01:49Z-
dc.date.available2010-11-16T08:01:49Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13918-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ในข้าราชการครู อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 286 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบทดสอบโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Davidson trauma scale : DTS) แบบวัดเหตุการณ์ความเครียดในชีวิต (Life stress event) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม Personal Resource Questionnaire (PRQ 85) และแบบทดสอบวัดบุคลิกภาพ The Maudsley Personality Inventory (MPI) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Chi-square test, t-test, One-way ANOVA, Pearson’s product moment correlation coefficient และพยากรณ์โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน (Stepwise multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ข้าราชการครูอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลามีความชุกของโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ คิดเป็นร้อยละ 76.1 เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตและลักษณะบุคลิกภาพแบบหวั่นไหวในสภาวะอารมณ์ (Scale N) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเกิดโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .001 ลักษณะบุคลิกภาพแบบแสดงตัว (Scale E) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเกิดโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P < .05 เหตุการณ์ความเครียดในชีวิตสูง ลักษณะบุคลิกภาพแบบแสดงตัว (Scale E) ต่ำและลักษณะบุคลิกภาพหวั่นไหวในสภาวะอารมณ์ (Scale N) สูง เป็นปัจจัยที่สามารถทำนายโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this cross-sectional descriptive study was to examine the prevalence of post traumatic stress disorder and associated factors of 286 teachers Meung Yala district Yala province. The self reported questionnaires was used for demographic data, Davidson trauma scale : DTS, Life stress event scale, Personal Resource Questionnaire (PRQ 85) and The Maudsley Personality Inventory (MPI). The SPSS for Windows was used for descriptive and inferential Statistical analysis. Descriptive statistics were presented as percentage, mean, standard deviation, while Inferential Statistics were done for Chi-square test, t-test, One-way ANOVA, Pearson's product moment correlation coefficent. Stepwise multiple analysis was performed to determine for significant predictive factors. The result of this study was found that prevalence of post traumatic stress disorder was 67.1%. Life stress event and Neuroticism scale were positively correlated to post traumatic stress disorder (P < .001). On the other hands, Extraversion scale was negatively correlated to post traumatic stress disorder (P < .05). In conclusion, high life stress event, low extraversion and high neuroticism were significantly factors in prediction of traumatic stress disorder for these studied sample.en
dc.format.extent951195 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1162-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา) -- ไทย (ภาคใต้)en
dc.subjectความผิดปกติทางจิตหลังภัยพิบัติ -- ไทย (ภาคใต้)en
dc.subjectครู -- ไทย (ภาคใต้)en
dc.titleความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญในข้าราชการครูอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลาen
dc.title.alternativePrevalence and related factors of post traumatic stress disorders among teachers Meung Yala district Yala province-
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorfmednta@md2.md.chula.ac.th, fmednta@md2.md.chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.1162-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
vitita.pdf928.9 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.