Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13924
Title: | การคาดการณ์อนาคตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : การประยุกต์ใช้เทคนิคเชิงปริมาณและคุณภาพ |
Other Titles: | Foresight futures scenarios of the faculty of education, Chulalongkorn University : an applying quantitative and qualitative techniques |
Authors: | วิชุดา กิจธรธรรม |
Advisors: | สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล Pruet.S@Chula.ac.th |
Subjects: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- การบริหาร จิตวิทยา -- วิจัย จิตวิทยาการศึกษา |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพอนาคตทางเลือกของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปื พ.ศ. 2554 และนำเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงานตามพันธกิจ ที่จะนำไปสู่ภาพอนาคต มีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาภาพปัจจุบัน เหตุการณ์ และแนวโน้มที่เกิดขึ้น 2) การศึกษาผลกระทบของเหตุการณ์ และแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นกับภาพอนาคตของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3) การศึกษาภาพอนาคตทางเลือกของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2554 และ4) นำเสนอนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนการดำเนินงานตามพันธกิจที่นำไปสู่ภาพอนาคตทางเลือกใน พ.ศ. 2554 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของคณะครุศาสตร์ในอดีตจวบจนปัจจุบัน ได้แก่ ผู้บริหาร คณาจารย์ ศิษย์เก่า นิสิตปัจจุบัน และผู้ใช้นิสิต จำนวนรวม 16 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมภายนอก ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมืองการปกครอง และด้านสิ่งแวดล้อม รวม 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแบบกราดสำรวจสภาพแวดล้อม แบบวิเคราะห์เพื่อจัดอันดับความสำคัญ แบบวิเคราะห์วงล้ออนาคต แบบวิเคราะห์ผลกระทบไขว้แบบวิเคราะห์ภาพอนาคต และแบบวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ผลการวิจัยพบว่า ปัจจุบันคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพันธกิจ 4 ด้าน คือ 1) ด้านการผลิตบัณฑิต 2) ด้านการวิจัย 3) ด้านการบริการวิชาการ และ 4) ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม แบ่งโครงสร้างการบริหารออกเป็น 4 ภาควิชา โรงเรียนสาธิตฝ่ายประถมและโรงเรียนสาธิตฝ่ายมัธยม สำนักงานเลขานุการ ศูนย์การบริการวิชาการ 14 ศูนย์ และศูนย์ความเป็นเลิศทางการศึกษา 6 ศูนย์ เหตุการณ์และแนวโน้มที่มีความสำคัญที่สุดที่อาจส่งผลต่อการดำเนินงาน มี 7 ประการ คือ 1) จำนวนนิสิตใหม่ระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในปีการศึกษา 2549 บางสาขาไมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด 2) นโยบายการลดกำลังคนของภาครัฐ 3) ภาครัฐกำหนดนโยบายให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ 4) การดำเนินงานภายใต้ระบบการประกันคุณภาพภายในและภายนอก 5) การลงทุนด้านการวิจัยของประเทศมีมูลค่าต่ำ 6) ความต้องการในการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อเพิ่มวิทยฐานะ และ7) กระแสการเปิดรับวัฒนธรรมที่หลากหลายมีมากขึ้น เหตุการณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดเหตุการณ์อื่นๆติดตามมาในระดับที่ 1 จำนวน 34 เหตุการณ์และผลกระทบระดับที่ 2 จำนวน 80 เหตุการณ์ เมื่อนำมาวิเคราะห์ความสอดคล้องจะคงเหลือ 42 เหตุการณ์ และเมื่อวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ของเหตุการณ์ ปรากฏว่า ภาพอนาคตที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งหมด ใน พ.ศ. 2554 มีจำนวน 7 ภาพ เมื่อนำภาพที่มีโอกาสในการเกิดสูงและมีระดับของผลกระทบสูงมาสร้างภาพอนาคตเชิงตรรกะโดยอาศัยปัจจัยภายนอกที่มีแรงขับสูงคือการแข่งขันทางการบริการทางการศึกษาและการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษา ทำให้ได้ภาพอนาคตทางเลือกของคณะครุศาสตร์ในปี พ.ศ. 2554 มีจำนวน 4 ภาพ ภาพอนาคตทางเลือกที่ควรเร่งรัดให้เกิด คือภาพอนาคตที่ 4 ความสามารถในการแข่งขันการบริการทางการศึกษาของคณะครุศาสตร์อยู่ในระดับสูง และการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการจัดการศึกษาของคณะครุศาสตร์มีมาก ซึ่งมีข้อเสนอเชิงนโยบาย 3 ประการ คือ 1) การเร่งสร้างผลผลิตและบริการที่นำชื่อเสียงมาสู่คณะครุศาสตร์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันคณะครุศาสตร์ 2) การขยายฐานการแข่งขันเข้าสู่ตานาชาติระดับภูมิภาค เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันคณะครุศาสตร์สู่ระดับสากล และ 3) การขยายการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาขั้นสูง เพื่อขยายขอบเขตการบริการการศึกษาให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | The purposes of this study were to analyze the preferable scenarios of the faculty of Education, Chulalongkorn University in the year 2011 and to propose the strategic planning policy to guide the faculty to the preferable scenarios. The process consisted of 4 stages including, 1) identifying the present status, events, and trends that emerged changes, 2) considering the impacts of those trends and events that affect the scenarios of the faculty in 2011, 3) developing the alternative possible futures and preferable scenarios of the faculty in 2011, and 4) developing strategic planning policy to guide the faculty to the preferable scenarios of the faculty in 2011. The sampling group, sixteen participants and six experts using in this study was the present and the former administrators, members, students, alumni and their employees, the expert in education, science and technology, social and culture, economics, and politics. The Environmental Scanning, Priority Setting, Futures Wheel, Cross Impact Analysis, Scenario Building, and SWOT analysis were the instruments using to measure the study variables. The research finding revealed that the 4 missions of the faculty of Education were teaching and learning, researching, serving public, and promoting art and culture. The administration structure comprised 4 departments, 1 demonstration elementary school, 1 demonstration secondary school, 14 academic centers, and 6 excellent centers. There were 7 important events and trends that might affected the faculty of Education, 1) in 2006 the new entrants at graduate levels was below the target, 2) the downsizing of the public sector, 3) performance-based evaluation of the public sector, 4) the internal and external quality assurance, 5) the budget for research investment of Thailand was low, 6) the requirement of administrators, teachers and other educational personnel to upgrade their qualification, and 7) the existing of cultural diversity acceptance. These events induced 34 primary and then 80 secondary impact events, but there were only 42 events that had high consistency. The interactions of these events developed 7 alternative scenarios of the faculty of Education in 2011. The one which had high impact and high opportunity to develop was chosen to create the preferable scenarios by using scenario logic. The 2 external driving forces, the competition of educational services and the use of educational technology , were combined with the chosen alterative scenario; as a result, the 4 preferable scenarios of the faculty of Education in 2011 were developed. The fourth preferable scenarios that needed to expedite was the competitiveness of educational provision and support of technology were high. The 3 proposed policies for the faculty to lead to the fourth scenario were 1) promoting the products and services that increase the faculty’s reputation to increase the competitiveness of the faculty, 2) expanding the education provision into the region to strengthen the competitiveness at the international community of the faculty, and 3) enhancing the education provision by educational technology to expand the educational services. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13924 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.91 |
ISBN: | 9741426984 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.91 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
wichuda.pdf | 3.35 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.