Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13926
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.advisorสุนิดา ปรีชาวงษ์-
dc.contributor.authorวิมลรัตน์ ผลงาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-11-16T10:43:42Z-
dc.date.available2010-11-16T10:43:42Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/13926-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการปรับตัวทางจิตสังคม ของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังก่อนและหลังการให้ข้อมูลด้านสุขภาพ ร่วมกับการสนับสนุนด้านอารมณ์และการปรับตัวทางจิตสังคมของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนด้านอารมณ์ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง ที่มารับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลกระบี่ จำนวน 40 คน จัดเข้ากลุ่มควบคุม 20 คนและกลุ่มทดลอง 20 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในอายุ เพศ สถานภาพสมรสและระยะเวลาของการเป็นโรคไตวายเรื้อรัง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการสนับสนุนด้านอารมณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือโปรแกรมการให้ข้อมูลด้านสุขภาพ ร่วมกับการสนับสนุนด้านอารมณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จากการทบทวนวรรณกรรมและประยุกต์ใช้แนวคิดการปรับตัว ใช้ทฤษฎีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของ Mishel (1998) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามการปรับตัวทางจิตสังคมต่อภาวะการเจ็บป่วย ซึ่งพัฒนาขึ้นจากแบบวัดการปรับตัวของ Derogatis (1986) และได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 ท่าน หาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบสอบถาม การปรับตัวทางจิตสังคมต่อภาวะการเจ็บป่วยได้ค่าเท่ากับ .91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที (Paired t-test และ Independent t–test)ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพ ร่วมกับการสนับสนุนด้านอารมณ์ มีการปรับตัวทางจิตสังคมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับการให้ข้อมูลด้านสุขภาพ ร่วมกับการสนับสนุนด้านอารมณ์มีการปรับตัวทางจิตสังคมหลังการทดลอง สูงกว่าผู้ป่วยไตวายเรื้อรังกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of providing health information combined with emotional support on psychosocial adjustment in patients with chronic kidney disease. The sample consisted of 40 chronic kidney disease adult patients at an out-patient department in Krabi Hospital. Participants were selected into an experimental group and a control group. The groups were similar in age, gender, marital status, and duration of being ill with chronic kidney disease. The experimental group received providing health information combined with emotional support, while the control group received conventional care. The research instruments were providing health information combined with emotional support program based on Uncertainty Theory (Mishel, 1988). Instruments used were a demographic data form and the Psychosocial Adjustment to Illness Scale: PAIS. The instruments were tested for content validity by 7 experts. The reliability of the Psychosocial Adjustment to Illness Scale was .91. The data were analyzed by using mean, percentage, standard deviation and t-test statistic (Paired t-test and Independent t-test). Results were as follows: 1. The psychosocial adjustment of chronic kidney disease patients received providing health information combined with emotional support at posttest was significantly higher than that of pretest at the .05 level. 2. The psychosocial adjustment of chronic kidney disease patients received providing health information combined with emotional support at posttest was significantly higher than those who received a conventional care at the .05 level.en
dc.format.extent3701330 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.766-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectไตวายเรื้อรังen
dc.subjectไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วยen
dc.subjectการปรับตัว (จิตวิทยา)en
dc.titleผลของการให้ข้อมูลด้านสุขภาพร่วมกับการสนันสนุนด้านอารมณ์ ต่อการปรับตัวทางจิตสังคมของผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังen
dc.title.alternativeThe effect of providing health information combined with emotional support on psychosocial adjustment in patients with chronic kidney diseaseen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.email.advisorSunida.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.766-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wimonrat.pdf3.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.