Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14063
Title: โครงสร้างประชากรสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่บริเวณหาดทรายเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Community structure of macrobenthos in sandy beach at Sichang Island, Chonburi Province
Authors: ณิชยา ประดิษฐ์ทรัพย์
อานุภาพ พานิชผล
สมบัติ อินทร์คง
ทิพวรรณ ตัณฑวณิช
Email: nichaya.p@chula.ac.th
Arnupap.Pa@Chula.ac.th
Sombat.I@Chula.ac.th
Tippawan.T@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ
Subjects: สัตว์หน้าดิน -- ไทย -- ชลบุรี
ประชากรสัตว์ -- ไทย -- ชลบุรี
สัตว์ทะเล -- ไทย -- ชลบุรี
Issue Date: 2551
Publisher: สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาโครงสร้างประชากรสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ คุณภาพดินตะกอนและคุณภาพน้ำชายฝั่ง ได้ดำเนินงานในบริเวณหาดทรายเขตน้ำขึ้นน้ำลงใน อ.เกาะสีชัง จ. ชลบุรี 5 แห่ง ได้แก่ หาดท่าวัง หาดทรายแก้ว หาดท่ายายทิม หาดท่าล่าง หาดถ้ำพัง โดยการวางแนวสำรวจและเก็บตัวอย่างจากผิวดินถึงระดับความลึกประมาณ 10 ซม. ภายในตารางสำรวจขนาด 0.25 ตร.ม. ระหว่างเดือนตุลาคม 2550 ถึงเดือน กันยายน 2551 พบสัตว์ทะเลหน้าดิน 113 ชนิด ใน 7 ไฟลัม สัตว์ทะเลหน้าดินที่พบชุกชุมมากในหาดท่าวัง หาดทรายแก้ว และหาดท่าล่าง คือหอยฝาเดียว (110 - 249 ตัว/ตร.ม.) โดยเฉพาะในวงศ์ Cerithiidae และ Potamididae หาดท่ายายทิมพบกลุ่มครัสเตเซียน (ไอโซพอต) มีความชุกชุมมากที่สุด (33.1 ± 15.9 ตัว/ตร.ม.) รองลงมาคือกลุ่มหอยสองฝา (Donacidae) ส่วนกลุ่มเด่นที่พบมากในหาดทรายถ้ำพัง คือ หอยสองฝา (18.0 ± 26.7 ตัว/ตร.ม.) (Donacidae) รองลงมาคือไอโซพอต ในทุกหาดที่ทำการศึกษาช่วงฤดูฝนจะพบความหนาแน่นและมวลชีวภาพของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่น้อยกว่าในฤดูแล้งทั้งนี้อาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงความเค็มที่ลดต่ำลง จากการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาแน่นของชุมชนสัตว์ทะเลหน้าดินกลุ่มต่างๆ ต่อขนาดตะกอนดินและปริมาณสารอินทรีย์ในดินพบว่าความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินกลุ่ม หอยสองฝา หอยฝาเดียว และไส้เดือนทะเลแปรผันตามกับปริมาณสารอินทรีย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ขนาดตะกอนดินแปรผกผันกับความหนาแน่นของกลุ่มไส้เดือนทะเล นอกจากนี้ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างความชุกชุมของสัตว์ทะเลหน้าดินและปริมาณซัลไฟด์ จากผลการศึกษาในครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าบริเวณหาดที่มีกิจกรรมของมนุษย์มากจะส่งผลต่อโครงสร้างประชากรสัตว์ทะเลหน้าดินมากกว่าในหาดที่มีกิจกรรมน้อย
Other Abstract: Community structure of macrobenthos and some physical factors (grain size, organic content, sulfide content and water quality) were studied in 5 beaches around Sichang island namely Ta Wang, Sai Kaew, Ta Yaitim, Ta Lang and Tam Pang, during October 2007 to September 2008. Macrobenthos samples in each beache were sampled along the transect lines and collected from the 0.25 m2 quadrate. This study found 114 species in 7 phylums. Ta Wang, Sai Kaew and Ta Lang beaches were dominated by gastropods (110 - 249 individuals/m2), especially of the family Cerithiidae and Potamididae. Crastaceans (Isopod) were dominated in Ta Yaitim beach (33.1 ± 15.9 individuals/m2), while bivalves (Donacidae) and crustaceans (Isopod) were more abundant in Tam Pang beach. Species composition and abundance of macrobenthos were varied in each beach depended on grain size and organic content of the sand. Positive correlations were found among organic content and the density of bivalve, gastropod and polychete, while the mean grain size showed negative correlation with polychete density. No significant relationship were found between benthos density and sulfide content in this study.
Discipline Code: 0105
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14063
Type: Technical Report
Appears in Collections:Aqua - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nichaya.pdf1.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.