Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14158
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อิทธิ ตริสิริสัตยวงศ์ | - |
dc.contributor.author | จุฑาทิพย์ ธนกิตติ์เมธาวุฒิ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-12-17T07:37:23Z | - |
dc.date.available | 2010-12-17T07:37:23Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14158 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | การใช้อากาศยานไร้นักบินในการถ่ายภาพถ่ายทางอากาศโดยไม่มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า ถือว่ามีความเสี่ยงอย่างยิ่งจากสาเหตุหลายประการ เช่น อาจบินชนภูเขาสูงที่กีดขวางอยู่ หรือบินเข้าไปในพื้นที่ที่อาจถูกฝ่ายตรงข้ามโจมตี หรือระหว่างการบินไม่สามารถติดต่อกับสถานีควบคุมภาคพื้นดิน เนื่องจากสัญญาณวิทยุถูกบดบังด้วยภูมิประเทศ การลดความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาสามารถทำได้โดยการใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการวิเคราะห์ภูมิประเทศ และตำแหน่งที่ตั้งของอุปสรรคและพื้นที่อันตรายต่างๆ เพื่อให้ได้แนวบิน ตำแหน่งถ่ายภาพ และวันเวลาที่เหมาะสมในการถ่ายภาพเป้าหมาย เพื่อความสำเร็จของภารกิจและเพิ่มความปลอดภัยให้กับอากาศยานไร้นักบิน งานวิจัยนี้ได้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ในซอฟต์แวร์ ArcGIS ตามแนวคิดข้างต้น โดยแบ่งการทำงานออกเป็นสามขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการหาค่าความสว่างของเป้าหมายจากตำแหน่งดวงอาทิตย์ และแบบจำลองความสูงเพื่อตรวจสอบวัน และเวลาที่จะถ่ายภาพให้มีแสงสว่างพอเพียง ไม่ถูกเงาของภูมิประเทศบดบัง ขั้นตอนที่สองคือ การวิเคราะห์หาตำแหน่งอากาศยานไร้นักบินที่เหมาะสมในการถ่ายภาพ โดยสร้างตำแหน่งจำนวนมากเหนือพื้นที่เป้าหมายในการบันทึกภาพถ่ายทางอากาศ และนำตำแหน่งดังกล่าวซึ่งเป็นจุดตัวอย่างมาตรวจสอบภายใต้เงื่อนไขว่า ไม่อยู่ในพื้นที่หวงห้าม มุมกล้องไม่เกินขีดจำกัด มองเห็นเป้าหมาย และความสูงเหนือพื้นดินไม่ต่ำกว่าที่กำหนด ขั้นตอนสุดท้ายคือ การคำนวณแนวบินจากสนามบินไปยังพื้นที่เป้าหมาย โดยเริ่มจากการสร้างพื้นที่รูปปิดที่ไม่มีพื้นที่เสี่ยงภัยหรือพื้นที่ห้ามเข้า แล้วนำตำแหน่งจุดของขอบเขตพื้นที่รูปปิดที่สร้างขึ้นรวมถึงตำแหน่งของสนามบิน และตำแหน่งสุดท้ายคือ ตำแหน่งถ่ายภาพ มาสร้างกราฟและหาแนวบินที่สั้นที่สุดโดยใช้อัลกอริทึมไดสตาร์ แล้วนำแนวบินดังกล่าวมาตรวจสอบเงื่อนไขด้านการติดต่อกับสถานีควบคุม และความสูงเหนือพื้นดิน ช่วงใดก็ตามบนแนวบินที่สร้างขึ้นที่ไม่ผ่านเงื่อนไขดังกล่าว จะถือว่าเป็นพื้นที่ห้ามเข้าและโปรแกรมจะวิเคราะห์หาแนวบินใหม่ ในลักษณะวนซ้ำจนกระทั่งได้แนวบินที่ผ่านเงื่อนไขทุกประการ โปรแกรมประยุกต์ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำมาใช้ในการวางแผนแนวบิน เพื่อการลาดตระเวณหรือเฝ้าระวังในภารกิจด้านความมั่นคงได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถต่อไปได้อีกในอนาคต | en |
dc.description.abstractalternative | Using Unmanned Aerial Vehicle (UAV) for aerial photographing without planning is always risky from many reasons such as losing UAV due to terrain collision, enemy fire or losing contact between UAV and ground control station because mountainous terrain obstructs line of sight and radio communication. Analyzing terrain and restricted area in GIS environment can reduce the risks. Optimum flight, aircraft position, date and time during are calculated to achieve mission success and maintain aircraft safety. This research aims to develop ArcGIS application program for automatic flight planning. The work is divided into three parts. The first, to analyze digital elevation model, sun angle and azimuth to determine the date and time during which light condition is appropriate. Secondly, the program generates the sample points above the target. These sample points are tested if they satisfy the following criteria; the target can be seen from the candidate position, look angle is checked with the camera specification, the candidate position is outside restricted area and terrain clearance is more than safe height above ground. Finally, flight path is calculated by computing visibility graph of points, interior or on boundary of flyable polygon which dangerous or restricted area is excluded. Then Dijkstra's algorithm is applied to determine shortest path between airfield and the selected UAV position in visibility graph. The shortest path will be checked for visibility and avoiding obstacles problems. If any path segments do not pass a criterion, they become no-go-zone. Software will create flyable zone which excludes no-go-zone and calculate flight path again until path passing all criteria. This flight planning application can be used for security purposes such as surveillance or reconnaissance. The software package allows future development and revision to enhance capability. | en |
dc.format.extent | 4856022 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.633 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อากาศยานไร้นักบิน | en |
dc.subject | ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ | en |
dc.subject | การถ่ายภาพทางอากาศ | en |
dc.title | การใช้ GIS เพื่อวางแผนแนวบินของอากาศยานไร้นักบินในการบันทึกภาพถ่ายทางอากาศ | en |
dc.title.alternative | GIS-aided flight planning of unmanned aerial vehicle for aerial photographing | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | ระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Itthi.T@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.633 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Jutatip_th.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.