Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14180
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนกพร จิตปัญญา-
dc.contributor.advisorสุรชัย เคารพธรรม-
dc.contributor.authorอำนวยพร อาษานอก-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-12-20T02:10:16Z-
dc.date.available2010-12-20T02:10:16Z-
dc.date.issued2549-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14180-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา กลุ่มอาการไม่สบาย การทำหน้าที่ด้านร่างกาย การทำหน้าที่ด้านพุทธิปัญญา การสนับสนุนทางสังคม กับ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมอง จำนวน 130 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินกลุ่มอาการไม่สบายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม แบบประเมินการทำหน้าที่ด้านพุทธิปัญญา ของคณะกรรมการจัดทำแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย พ.ศ.2542 แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม Personal Resource Questionnaire (PRQ 85:Part 2) สร้างขึ้นโดย Brandt และ Weinert ในปี 1981 ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทย โดย ชมนาด วรรณพรศิริ (2536) แบบประเมินคุณภาพชีวิตของไวทส์เนอร์และคณะ(Weitner et al.,1995) ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยโดยทัศนีย์ อินทรสมใจ (2547) ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .80, .68, .80, และ .89 ตามลำดับ และแบบประเมินการทำหน้าที่ด้านร่างกายที่ผู้วิจัยแปลและปรับปรุงจากแบบวัด Karnofsky Performance Status Scale (KPS)วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและไคสแควร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมอง อยู่ในระดับดี ([ค่าเฉลี่ย] = 2.74, SD=0.48) 2. เพศมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมองหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (c=.241)ส่วนอายุ และ ระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมองหลังผ่าตัด 3. กลุ่มอาการไม่สบาย มีความสัมพันธ์ทางลบ กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมองหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -.576 4. การทำหน้าที่ด้านร่างกาย การทำหน้าที่ด้านพุทธิปัญญา การสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมองหลังผ่าตัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .616, .284, .375 ตามลำดับen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study were to examine the relationships between sex, age, education, symptom cluster, functional status, cognitive status, social support, and quality of life in adult patients with brain tumor. Study participants consisted of 130 patients with brain tumor who attened the neurosurgery clinic of King Chulalongkorn Memorial Hospital, Police General Hospital, and the Prasat Neurological Institute. The instruments for the study included a demographic data form, Karnofsky Performance Status Scale (KPS) (Kanofsky et al., 1948), symptom cluster questionnaire, MMSE-Thai 2002, The social support questionnaire of Brandt and Weinert's concept, and the functional assessment of cancer therapy-brain questionnaire. The instruments were reviewed by a panel of experts for the content validity.Internal consistency reliability determined by Cronbach's alpha were .80, .68, .80, and .80, respectively. Data were analyzed using descriptive statistic and Pearson Product Moment Correlation and Chi square. Results were as follows: 1. The mean of quality of life in adult patients with brain tumor was at moderate level ([Mean]=2.74,SD=0.48). 2. Significant correlation was detected between sex (c=.241),and quality of life in adult patients with brain tumor (p is less than .05),while there were no correlations between age, education, and quality of life in adult patients with brain tumor.(p is less than .05), while there were no correlations between age, education, and quality of life in adult patients with brain tumor. 3. Negatively significant correlations were detected in symptom cluster(r=-.576) and quality of life in adult patients with brain tumor (p is less than .05). 4. Positively significant correlations were detected in functional status(r=.616),cognitive status (r=.284),social support(r=.375),and quality of life in adult patients with brain tumor(p is less than .05)en
dc.format.extent2160872 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2006.935-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectคุณภาพชีวิตen
dc.subjectผู้ป่วยen
dc.subjectสมอง -- โรค -- ผู้ป่วยen
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยวัยผู้ใหญ่โรคเนื้องอกสมองen
dc.title.alternativeSelected factors related to quality of life in adult patients with brain tumoren
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorhchanokp@pioneer.netserv.chula.ac.th-
dc.email.advisorSurachai.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2006.935-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
amnauyporn.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.