Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14182
Title: การวิเคราะห์เพื่อลดผลิตภัณฑ์ที่บกพร่อง : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมเซรามิก
Other Titles: An analysis for defect reduction : case study of ceramic industry
Authors: อรรถรัตน์ บุญเกตุ
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suthas.R@Chula.ac.th
Subjects: ผลิตภัณฑ์ -- ข้อบกพร่อง
การควบคุมคุณภาพ
เครื่องเคลือบดินเผา -- ตำหนิ
การควบคุมกระบวนการผลิต
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตและของเสียที่เกิดขึ้นในแผนกตกแต่งและเผาผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นจึงจะระดมสมองเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อข้อบกพร่อง โดยใช้แผนผังก้างปลา แผนภาพพาเรโต และใช้เทคนิคการวิเคราะห์สาเหตุของลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) และให้ทีมผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์เพื่อประเมินค่าความรุนแรง ค่าโอกาสในการเกิดข้อบกพร่องและค่าความสามารถในการตรวจจับข้อบกพร่อง เพื่อนำไปคำนวณค่าคะแนนความเสี่ยง (RPN) และได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องที่มีค่า RPN ตั้งแต่ 100 คะแนนขึ้นไป นอกจากนี้ได้ทำการแก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลิตที่มีข้อบกพร่องในขั้นตอนของการตกแต่งและการเผาผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น อีกทั้งยังได้จัดการฝึกอบรมและจัดทำฐานการปฏิบัติงานให้กับพนักงานที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์ที่ได้จากงานวิจัยนี้ คือ สามารถลดจำนวนผลิตภัณฑ์ที่บกพร่องที่เกิดขึ้นและทราบถึงแนวทางที่เหมาะสมในการควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมเซรามิกได้อย่างเหมาะสม ผลการดำเนินการแก้ไข พบว่า 1. เปอร์เซ็นของเสียของกระบวนการผลิตรวมลดลงจาก 16.80% เหลือ 7.78% 2. เปอร์เซ็นของเสียของกระบวนการตกแต่งลดลงจาก 9.63% เหลือ 4.44% 3. เปอร์เซ็นของเสียของกระบวนการเผาลดลงจาก 6.23% เหลือ 2.98%
Other Abstract: This thesis starts from studying the process and defects in two sections then brainstorming to look for the causes that effect to the defect by using Causes and Effect Diagram and Faiure Mode and Effects Analysis (FMEA). After that, the specialists in each section analyze to evaluate the Severity, Occurrence and Detection to calculate the Risk Priority Number (RPN). This research improves the defects that have RPN value more than 100. The result of improvement can be show as below : 1. The defect percentage of production before improvement was 16.80% and after improvement was 7.78% 2. The defect percentage of decoration before improvement was 9.63% and after improvement was 4.4% 3. The defect percentage of firing before improvement was 6.23% and after improvement was 2.98%
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14182
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.805
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.805
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
atarat.pdf2.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.