Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14188
Title: ความสอดคล้องระหว่างวัฒนธรรมองค์การกับวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลในการรับรู้ของสมาชิกองค์การ : ศึกษากรณีองค์การภาครัฐ องค์การภาคเอกชน และองค์การภาคประชาสังคมในประเทศไทย
Other Titles: Congruence between organizational and individual perceived culture : the exploratory case studies of public sector organizations, private sector organizations and civil society organizations in Thailand
Authors: ชนิดา จิตตรุทธะ
Advisors: ศุภชัย ยาวะประภาษ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: supachai.yava@gmail.com, supachai_yava@hotmail.com
Subjects: ความแตกต่างระหว่างบุคคล
การจัดการองค์การ
วัฒนธรรมองค์การ
ปัจเจกภาพ
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลที่อยู่ในการรับรู้ของสมาชิกองค์การ ในองค์ประกอบประเภทต่างๆ มีแบบแผนวัฒนธรรมสอดคล้องเป็นแบบเดียวกันหรือไม่ อย่างไร โดยใช้ทฤษฎีแบบแผนวัฒนธรรมที่เหมาะสม ของ ชาร์ลส์ แฮนดี เป็นฐานในการศึกษา และศึกษาว่าการจูงใจปัจเจกบุคคลในองค์การที่มีวัฒนธรรมองค์การแตกต่างกันต้องใช้ปัจจัยจูงใจที่แตกต่างกัน หรือไม่ อย่างไร โดยนำทฤษฎีสองปัจจัยของ เฟรเดอริค เฮอร์สเบิร์ก มาเป็นฐานในการศึกษาด้วย การศึกษาทำโดยการตรวจสอบและวิเคราะห์วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องและศึกษาการรับรู้ของสมาชิกองค์การโดยการสำรวจความคิดเห็น ในองค์การ 3 ประเภท คือ องค์การภาครัฐ องค์การภาคเอกชน และองค์การภาคประชาสังคมซึ่งมีวัฒนธรรมแตกต่างกัน 4 ประเภท คือ วัฒนธรรมสโมสร วัฒนธรรมเน้นบทบาท วัฒนธรรมเน้นงาน และวัฒนธรรมเน้นตัวตน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สำรวจทั้งหมด 12 กลุ่มตัวอย่าง ข้อค้นพบที่ได้จากการศึกษา สามารถยืนยันแนวคิดของแฮนดี โดยมีข้อสรุปดังนี้ 1. วัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลที่อยู่ในการรับรู้ของสมาชิกองค์การในองค์การประเภทต่าง ๆ มีแบบแผนวัฒนธรรมสอดคล้องเป็นแบบเดียวกัน และสามรถอธิบายถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ก่อให้เกิดความสอดคล้องระหว่างวัฒนธรรมองค์การและวัฒนธรรมปัจเจกบุคคลตามแบบแผนวัฒนธรรมแต่ละประเภท 2. การจูงใจปัจเจกบุคคลในองค์การที่มีวัฒนธรรมองค์การแตกต่างกันต้องใช้ปัจจัยการจูงใจที่แตกต่างกัน ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ ปัจเจกบุคคลต้องตระหนักและเข้าใจในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมขององค์การที่ตนทำงาน ขณะเดียวกัน องค์การก็ต้องตระหนักและเข้าใจในอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมของปัจเจกบุคคล และพยายามปรับตัวให้เกิดความสอดคล้องทางวัฒนธรรมทั้งในเชิงปทัสถานและเชิงพฤติกรรม
Other Abstract: This study is aimed to explore whether organizational culture and individual perceived culture in different type of organizations is, according to Charles Handy’s theory. ‘The Theory of Cultural Propriety’, congruent with each other or not .It’s also attempted to investigate whether there are specific motivating factors appropriate to each type of culture, using Frederick Herzberg’s Two Factor Theory. The study was conducted by reviewing theories and research work pertaining to organizational culture and work motivation so as to frame a thesis conceptual framework. The researcher then conducted a field survey in 12 sampling units which represented different types of culture, namely, the public sector organizations, private sector organizations and civil society organizations in Thailand. Findings confirm Handy’s theory and indicate the followings: 1) Organizational and individual perceived culture in different type of organizations is congruent with each other. 2) Motivation in each type of organization requires different set of motivating factors. The study proposes that both organization and individual must aware and understand the identity of its own culture and move to strike the balance between the culture in order to benefit from the congruence of culture both in behavioral and normative term.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ด.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: รัฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14188
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.286
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.286
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chanida.pdf2.47 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.