Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14233
Title: | การวิเคราะห์หาที่ตั้งฝายต้นน้ำที่เหมาะสมด้วยระบบภูมิสารสนเทศ |
Other Titles: | Analysis for selecting suitable location of check dams using GIS |
Authors: | กรุณา พิมพ์ประสานต์ |
Advisors: | อิทธิ ตริสิริสัตยวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Itthi.T@Chula.ac.th |
Subjects: | ฝาย ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ อ่างเก็บน้ำห้วยสำโหรง |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | สร้างแบบจำลองทางระบบภูมิสารสนเทศ ในการหาที่ตั้งที่เหมาะสมของฝายต้นน้ำสำหรับพื้นที่ป่าต้นน้ำ พื้นที่ศึกษาคืออ่างเก็บน้ำห้วยสำโหรง มีขนาดพื้นที่ 10.08 ตร.กม. อยู่ในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประโยชน์ของงานวิจัยนี้ช่วยในการคำนวณหาตำแหน่งและจำนวนที่เหมาะสม เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนคำนวณงบประมาณ และปริมาณน้ำเก็บกักหน้าฝายต้นน้ำ การหาตำแหน่งฝายต้นน้ำ เริ่มต้นจากการสร้างเส้นชั้นความสูงเท่ากับความสูงฝายต้นน้ำ และสร้างเส้นทางน้ำ จากข้อมูลแบบจำลองความสูงของกรมพัฒนาที่ดินฯ มาตราส่วน 1: 4,000 จากนั้นนำเส้นทางน้ำและเส้นชั้นความสูงมาซ้อนทับเพื่อหาตำแหน่งจุดตัด และกำหนดเป็นตำแหน่งที่ตั้งฝายต้นน้ำ ลดจำนวนฝายต้นน้ำด้วยวิธีการเลือกเฉพาะฝายต้นน้ำที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง หรือเลือกจากฝายที่ตั้งอยู่บนเส้นทางน้ำที่มีอยู่จริงในธรรมชาติ และเส้นทางน้ำที่มีน้ำไหลเฉพาะฤดูน้ำหลาก นำผลของตำแหน่งและจำนวนฝายต้นน้ำที่ได้ มาคำนวณหาปริมาณน้ำเก็บกักหน้าฝายต้นน้ำ ด้วยการกำหนดรูปแบบให้กับเส้นทางน้ำ เพื่อใช้เลือกวิธีการคำนวณเช่น แบบ U-shape และแบบ V-shape สุดท้ายคำนวณหางบประมาณที่ใช้ในการสร้างฝายต้นน้ำทั้งหมดในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษาพบว่า ควรมีการสร้างฝายต้นน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยสำโหรงจำนวน 679 ฝาย ใช้งบประมาณในการสร้างฝายต้นน้ำในพื้นที่ศึกษานี้ ทั้งหมด 4, 385,000 บาท มีปริมาณน้ำเก็บกักหน้าฝายต้นน้ำรวมทั้งหมด 9,442.98 ลบ.ม. เป็นฝายต้นน้ำแบบผสมผสานจำนวน 637 เป็นฝายต้นน้ำแบบกึ่งถาวรจำนวน 36 ฝาย และเป็นฝายต้นน้ำแบบถาวรจำนวน 6 ฝาย ผลของจำนวนฝายต้นน้ำที่ได้จากงานวิจัยนี้ เมื่อนำมาหาค่าเฉลี่ยของระยะห่างระหว่างฝายต้นน้ำ ผลที่ได้คือ 11.13 เมตร สรุปได้ว่า การหาที่ตั้งด้วยวิธีการนี้มีความถี่ในการสร้างฝายต้นน้ำเป็นจำนวนมาก จึงต้องมีการหาวิธีการเพื่อเพิ่มระยะห่างโดยเฉลี่ยของฝายต้นน้ำต่อไป ในงานวิจัยนี้ได้เสนอวิธีการลดจำนวนฝายต้นน้ำเพื่อเพิ่มระยะห่างโดยเฉลี่ยของฝายต้นน้ำไว้ 2 วิธีคือ การเพิ่มความสูงฝายต้นน้ำและการเพิ่มระยะห่างระหว่างฝายต้นน้ำจากระดับความสูงของที่ตั้งฝายต้นน้ำ ผลที่ได้คือมีจำนวนฝายลดลงและระยะห่างโดยเฉลี่ยของฝายต้นน้ำเพิ่มขึ้นด้วย |
Other Abstract: | To create spatial model to analyze positions of check dam in head watershed forest area by using GIS. The study area is located in Huay sam rong covered 10.08 sq.km in Kuiburee national park, Prajuabkereekhan province. Benefits of this research are to indicate locations and calculate number of check dams for planning the budget and the water capacity of checkdams. In order to locate positions of check dam, the model generates contour with the same height as checkdam height then, creates stream line from 1:4000 Land development department digital elevation model (DEM). Overlay streamline and contour layers is performed to indicate intersection points which become the positions of checkdam. For decreasing the number of check dams, the model selects the streamline which exists in nature and always flows in wet or rainy season then calculates the water capacity of checkdam from the pattern of streamline defined in U-shape and V-shape. Finally calculate the budget for building check dams in study area. From the results, the number of check dams that should be built in Hau som rong are 679 positions which cost 4,385,000 bath. The water capacity is 9,442.98 sq.m. There are 637 mixed check dams, 36 semi-permanent check dams and 6 permanent check dam. The average distance between check dams is 11.13 metres. This research offers the methods to decrease the number of checkdams for increased average distance. The first method is to increase height of checkdam and the second is to increase distance between checkdam form height of checkdam. The result shows that the number of checkdam decrease and distance between checkdam also increase. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ระบบสารสนเทศปริภูมิทางวิศวกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14233 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.805 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.805 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Karuna_pi.pdf | 2.97 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.