Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14243
Title: พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 : การกำหนดข้อสันนิษฐานทางอาญาว่าด้วยการกระทำความผิดของผู้บริหารนิติบุคคล ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์
Other Titles: Securities and Exchange Act B.E. 2535 (1992) : presumption proof for criminal liability of corporate officer pertaining to the offense of market abuse
Authors: จตุพร บัณฑิตกุล
Advisors: อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Apirat.P@Chula.ac.th
Subjects: พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล
หลักทรัพย์
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การบังคับใช้บทบัญญัติของกฎหมายที่มีโทษทางอาญาที่ใช้กับผู้บริหารนิติบุคคลที่กระทำความผิด เกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ยังขาดประสิทธิภาพ เพราะข้อจำกัดในการแสวงหาพยานหลักฐาน และหลักพิสูจน์การกระทำความผิดทางอาญาให้ปราศจากข้อสงสัย สร้างภาระแก่การดำเนินคดีอาญาของฝ่ายรัฐจนเกินสมควร แม้ว่าจะมีการกำหนดข้อสันนิษฐานในเรื่องความรับผิดอยู่บ้าง แต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้กับการกระทำความผิดทุกกรณีได้ การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวกับข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย เพื่อกำหนดภาระการพิสูจน์ให้แก่ผู้บริหารนิติบุคคล เพื่อยืนยันความโปร่งใสของการบริหาร จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายอาญามีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม เกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ของประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และสิงคโปร์กับประเทศไทย พบว่า โดยเฉพาะประเทศสิงคโปร์มีการกำหนดข้อสันนิษฐานมาใช้ในความผิดเกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรม เกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้วิจัยเห็นว่า ควรนำบทบัญญัติดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมข้อสันนิษฐาน เกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้บริหารนิติบุคคลในการกระทำความผิด เกี่ยวกับการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในลักษณะที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: The enforcement of legal provisions with criminal liability on a corporate officer committed a market abusive act is still ineffective because of limitation on searching for evidence and the principle of proving beyond reasonable doubt are too burdensome for the public criminal prosecution. Even though some liability presumptions have been prescribed, they are not applicable to every single offence. Insertion of a provision regarding legal presumption thrusting burden of proof upon a corporate officer in order to affirm management transparency would improve the effectiveness of criminal law enforcement. A comparative study between laws pertaining to the offense of market abuse in England, the United States of America, Australia, and Singapore with that of Thailand shows that Singapore has made use of liability presumption with abuses in securities exchange. The author recommends that similar legal provisions should be used as guidelines on the insertion of a presumption of proof for criminal liability of a corporate officer pertaining to the offense of market abuse into the Securities and Exchange Act B.E. 2535 (1992) which would improve the effectiveness of law enforcement in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14243
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.461
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.461
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jatuporn_bu.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.