Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14284
Title: การผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะชุมชนเก่าด้วยระบบหมัก
Other Titles: Biogas production from aged municipal solid waste by digestion system
Authors: อมรพรรณ แถมเงิน
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: fencrt@kankrow.eng.chula.ac.th, Orathai.C@Chula.ac.th
Subjects: ก๊าซชีวภาพ
ขยะ
การย่อยสลายทางชีวภาพ
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงประสิทธิภาพการผลิตก๊าซชีวภาพจากขยะชุมชนเก่าจากหลุมเทกองผสมกับขยะชุมชนสดจากรถเก็บขนขยะ โดยใช้ถังหมักที่มีการกวนอย่างสมบูรณ์ระดับห้องปฏิบัติการ ทดลองหมักขยะชุมชนโดยผสมขยะที่เตรียมไว้กับหัวเชื้อจุลชีพ (Seed) ที่มีความเข้มข้น 2.5 กรัมต่อลิตร ที่อัตราส่วนขยะต่อหัวเชื้อจุลชีพ เท่ากับ 60:40 โดยปริมาตรทุกชุดการทดลอง แบ่งการทดลองเป็น 3 ขั้นตอน คือ การทดลองที่ 1 แปรผันอัตราส่วนระหว่างขยะชุมชนเก่าจากหลุมแบบเทกองผสมกับขยะชุมชนสดจากรถเก็บขนขยะ ตั้งแต่ 1:0 1:2 1:3 1:6 และ 0:1 การทดลองที่ 2 ปรับเปลี่ยนปริมาณของแข็งทั้งหมด 3 ค่าคือร้อยละ 3 5 และ 10 และการทดลองที่ 3 ศึกษาผลของการให้ความร้อนขยะก่อนทดลอง จากผลการทดลองพบว่าขยะชุมชนสดอย่างเดียว (อัตราส่วน 0:1) และขยะชุมชนเก่าอย่างเดียว (อัตราส่วน 1:0) มีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพเท่ากับ 0.18 และ 0.06 ลิตรต่อกรัมของแข็งระเหยทั้งหมด ตามลำดับ ใช้เวลาในการผลิตก๊าซทั้งสิ้น 30 และ 16 วันตามลำดับ ผลการศึกษาอัตราส่วนผสมขยะชุมชนเก่ากับขยะชุมชนสดที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซชีวภาพได้สูงสุดคือ ที่อัตราส่วนขยะชุมชนเก่ากับขยะชุมชนสดเท่ากับ 1:3 ที่ปริมาณของแข็งทั้งหมด 5% มีอัตราการผลิตก๊าซชีวภาพได้ 0.12 ลิตรต่อกรัมของแข็งระเหยทั้งหมด สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ภายในเวลา 13 วัน พบว่า ซีโอดีกรองของน้ำในระบบหลังจากสิ้นสุดการทดลองมีค่าลดลง 63.19% โดยมีค่าซีโอดีกรองเท่ากับ 3,136 มิลลิกรัมต่อลิตร จากผลการศึกษาการให้ความร้อนขยะที่อัตราส่วนผสมขยะชุมชนเก่าต่อขยะชุมชนสดเท่ากับ 1:3 ที่ปริมาณของแข็งทั้งหมด 5% พบว่าการให้ความร้อนขยะมีผลทำให้ปริมาณก๊าซมีเทนที่เป็นองค์ประกอบของก๊าซชีวภาพมีปริมาณสูงขึ้นถึง 73.33%
Other Abstract: To the study efficiency of biogas generation from anaerobic Municipal Solid Waste (MSW) digestion. Organic fraction of MSW from opened dump (aged MSW) and fresh MSW were mixed at various ratios and performed in batch rectors: Continuous Stirred Tank Reactor (CSTR). Seed from anaerobic wastewater treatment were added to MSW sample at ratio of 40% by volume of 5 liter reactor. To achieve such study, the investigation was planned into 3 experiments. The first experiment Mixture of aged MSW and fresh MSW were tested at 5 ratios from 1:0, 1:2, 1:3, 1:6 and 0:1(by weight). Experiment 2 varied TS of mixture from 3%, 5%, and 10%. The last experiment: Mixture of MSW was heated before fermention test. The results showed that the maximum biogas production from mixture of fresh MSW and seed and aged MSW and seed were achieved at 0.18 and 0.06 L/gTVS respectively. The optimum ratio of aged MSW: fresh MSW of 1:3 and TS of 5% showed high biogas production of 0.12 L/gTVS. Biogas was generated within 13 day. After experiment, soluble COD was reduced 63.3%, final soluble COD was equal to 3,136 mg/L. For the last experiment, compared to heated MSW and unheated MSW, the heated MSW increased methane composition to 73.33% of biogas.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14284
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.615
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.615
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornpan_ch.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.