Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1428
Title: การจัดตารางเวลาเดินรถจัดส่งเครื่องดื่มน้ำอัดลมระหว่างฐานจ่าย
Other Titles: Vehicle scheduling for interfacility delivery of soft drinks
Authors: วิจิตรา ภูมิชาติพงศ์, 2521-
Advisors: สมพงษ์ ศิริโสภณศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ssompon1@chula.ac.th
Subjects: การกำหนดลำดับงาน
สินค้า--การขนส่ง
ตารางเวลาการเดินรถ
น้ำอัดลม
จีเนติกอัลกอริทึม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดตารางเวลาเดินรถด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อ จัดส่งสินค้าแบบเต็มคันด้วยกลุ่มรถจากโรงงานไปยังศูนย์กระจายสินค้าต่างๆ โดยระบบประกอบด้วย 3 ส่วนย่อย ส่วนแรกเป็นการหาขนาดรถบรรทุกที่เหมาะสม และปริมาณสินค้าในหน่วยกระบะ (Pallet) ที่จะทำการจัดส่ง โดยพิจารณาจากข้อจำกัดในการเข้าถึงศูนย์กระจายสินค้า ระยะห่างจากโรงงาน และประเภทของสินค้า ส่วนที่สองเป็นการจัดลำดับของงานเพื่อให้เกิดจำนวนเที่ยววิ่งที่สามารถจัดส่งได้ หรือจำนวนสินค้าที่จัดส่งโดยใช้รถบริษัทมากที่สุด ภายใต้ข้อจำกัดด้านทรัพยากรและข้อจำกัดด้านเวลา โดยใช้วิธีการพันธุกรรม (Genetic Algorithm) เป็นโครงสร้างหลักในการหาคำตอบ ร่วมกับวิธีการค้นหาแบบทาบู (Tabu search) เพื่อหลีกเลี่ยง การวนติดอยู่กับค่าดีที่สุดสัมพัทธ์ ส่วนที่สามเป็นการมอบหมายงานให้กับพนักงานขับรถเพื่อให้พนักงานขับรถแต่ละประเภทได้รับงานอย่างยุติธรรม โดยการจัดงานที่มีเวลาดำเนินการมากให้กับพนักงานที่เคยได้รับงานน้อย การตรวจสอบประสิทธิภาพในการทำงานของระบบพบว่า โดยส่วนใหญ่ การจัดตารางเวลาเดินรถด้วยแบบจำลองได้ผลลัพธ์ใกล้เคียงกับข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานจริงและระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานจริงได้อย่างเหมาะสมและช่วยลดเวลา ในการทำงานของพนักงาน และข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้
Other Abstract: The objective of this study is to develop a computerized vehicle scheduling system for distributing truckloads of soft drink from a plant to multiple depots. The system consists of 3 modules. The first module determines the appropriate sizes of trucks to be used and the number of loaded pallets considering the constraint concerning the accessibility to the depots, the traveled distance, and the type of ordered product. The second module searches for delivery sequences that maximize the number of completed delivery trips and the number of delivered pallets under resource and time-window constraints. The fundamental solution algorithm is the so-called Genetic Algorithm with the application of Tabu search to avoid local optimal. The third model strives to balance the drivers earnings by assigning larger orders to those drivers who have currently earned less. The system validation indicates that the schedules as produced by the system are, in most instances, in line with the real world experience. The system can be practically used as a decision support system and would help schedules substantially reduce time and errors associated with the determination of the delivery schedules.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1428
ISBN: 9741723938
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wijitar.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.