Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14294
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรทัย ชวาลภาฤทธิ์-
dc.contributor.advisorสมชาย ดารารัตน์-
dc.contributor.authorดารินทร์ ภูกิ่งงาม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2010-12-27T04:08:28Z-
dc.date.available2010-12-27T04:08:28Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14294-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยนี้ศึกษาประสิทธิภาพของระบบแผ่นกั้นไร้ออกซิเจนในการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล และผลของอัตราภาระซีโอดีที่มีต่อประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียดังกล่าว โดยใช้น้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลที่ใช้สารด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในปฏิกิริยาทรานส์เอสเทอริฟิเคชันของน้ำมันพืชที่ใช้แล้วที่ผ่านการบำบัดขั้นต้นด้วยการตกตะกอนทางเคมีทำการทดลองโดยใช้ถังปฏิกรณ์แผ่นกั้นไร้ออกซิเจนที่มีจำนวนห้อง 5 ห้อง ขนาดปริมาตรน้ำในระบบ 22 ลิตร เดินระบบแบบต่อเนื่องที่อุณหภูมิห้อง ที่เวลากักพักชลศาสตร์คงที่ 10 วัน ผลการวิจัยพบว่าที่อัตราภาระซีโอดี 0.5-3.0 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี ซีโอดีกรองเมทานอล กลีเซอรอล และน้ำมันและไขมันมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 98.45-99.05 99.01-99.41 79.05-100.00 69.86-100.00 และ 41.79-83.82 ตามลำดับ ระบบมีศักยภาพในการผลิตก๊าซชีวภาพได้เป็นอย่างดี โดยพบว่าปริมาณก๊าซชีวภาพต่อซีโอดีที่ถูกกำจัด และปริมาณก๊าซมีเทนต่อซีโอดีที่ถูกกำจัดมีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 0.19-0.38 และ 0.12-0.28 ล./ก. ซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ โดยก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มีค่าเฉลี่ยของปริมาณก๊าซมีเทนที่เป็นองค์ประกอบอยู่ในช่วงร้อยละ 63.78-74.45 การเพิ่มอัตราภาระซีโอดีให้สูงขึ้นในช่วงอัตราภาระซีโอดีเท่ากับ 0.5-1.5 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการกำจัดมลสารต่าง ๆ ในน้ำเสีย ปริมาณก๊าซชีวภาพต่อซีโอดีที่ถูกกำจัด และร้อยละของปริมาณก๊าซมีเทนในก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยที่อัตราภาระซีโอดีเท่ากับ 1.5 กก. ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน มีประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดี ปริมาณก๊าซชีวภาพต่อซีโอดีที่ถูกกำจัด และปริมาณก๊าซมีเทนต่อซีโอดีที่ถูกกำจัดสูงสุด เท่ากับร้อยละ 99.41 0.38 และ 0.28 ล./ก. ซีโอดีที่ถูกกำจัด ตามลำดับ จากผลการศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีตามระยะทางของระบบพบว่าประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีเกิดขึ้นสูงสุดในห้องที่ 1 จากนั้นประสิทธิภาพการกำจัดมีแนวโน้มลดลงตามระยะทางของระบบen
dc.description.abstractalternativeThe aim of this research were investigated the performance of anaerobic baffled reactor (ABR) for treating biodiesel wastewater and studied the effect of organic loading rate (OLR) on ABR efficiency. Wastewater used in this study was collected from biodiesel production process with alkali-catalyzed transesterification of waste vegetable oil. Such wastewater was pretreated using chemical precipitation process before fed to ABR reactors. The five-compartment ABRs with a working volume of 22.1. were run continuously in room temperature at constant HRT of 10 days. OLR was varied from 0.5 to 3.0 kg-COD/m[superscript 3]-day. The result showed that the removal efficiencies of total COD, soluble COD, methanol, glycerol and FOG were 98.45-99.05%, 99.01-99.41%, 79.05-100.00%, 69.86-100.00% and 41.79-83.82%, respectively at OLR of 0.5-3.0 kg-COD/m[superscript 3]-day. The biogas yield and methane yield were 0.19-0.38 and 0.12-0.28 1/gCOD removed, respectively. The result from biogas analysis showed that ratio of methane in biogas was ranged from 63.78% to 74.45%. The COD removal efficiency and biogas yield were increased with increase OLR from 0.5 to 1.5 kg-COD/m[superscript 3]-day. The optimum OLR was occurred at OLR of 1.5 kg-COD/[superscript 3]-day, the highest COD removal efficiency and biogas yield (methane yield) were achieved at 99.41% and 0.38 (0.28) 1/gCOD removed, respectively. Result from COD profile in each compartment of ABR Showed that COD removal efficiency was occurred in the first compartment and decreased gradually along with the following compartments.en
dc.format.extent1976400 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.923-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัดen
dc.subjectเชื้อเพลิงไบโอดีเซลen
dc.titleการบำบัดน้ำเสียจากกระบวนการผลิตไบโอดีเซลโดยระบบแผ่นกั้นไร้ออกซิเจนen
dc.title.alternativeTreatment of biodiesel wastwater using anaerobic baffled reactoren
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisororathai.c@chula.ac.th-
dc.email.advisorsomchai_d@tistr.or.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.923-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Darin_ph.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.