Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14323
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | จิรพัฒน์ เงาประเสริฐวงศ์ | - |
dc.contributor.author | อุรคินทร์ พลนิกร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2010-12-28T10:35:12Z | - |
dc.date.available | 2010-12-28T10:35:12Z | - |
dc.date.issued | 2550 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14323 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 | en |
dc.description.abstract | วิเคราะห์และลดของเสียของกระบวนการรีดขึ้นรูปเย็นในอุตสาหกรรมท่อสเตนเลส เกรด 304L โดยอาศัยการดำเนินงานตามแบบอย่างของซิกซ์ซิกม่า คือ แบ่งเป็นเฟสต่างๆ 5 เฟสด้วยกัน ในการวิเคราะห์จะใช้หลักการของการออกแบบการทดลอง (Design and analysis of experiment: D.O.E.) มาใช้วิเคราะห์และลดของเสียของโรงงานตัวอย่าง จากการศึกษาระบบการผลิตตลอดจนจนศึกษาและรวบรวมข้อมูลของเสียเพื่อวิเคราะห์ พบว่าของเสียส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการเชื่อมหลังจากที่ท่อเหล็กผ่านการรีดขึ้นรูปด้วยลูกรีดมาแล้ว ซึ่งของเสียส่วนมากที่เกิดจากกระบวนการนี้คือ การเชื่อมแล้วท่อเกิดการทะลุ หรือรอยเชื่อมทะลุเป็นแนวยาว ทำให้ไม่ผ่านมาตรฐานที่กำหนดไม่สามารถนำไปแก้ไขได้ ถัดมาเป็นของเสียที่เกิดจากกระบวนการรีดขึ้นรูปเย็น คือเกิดรอยนูนบริเวณรอยต่อชน และท่อไม่กลมไม่ตรงตามมาตรฐาน งานวิจัยนี้จึงเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตท่อสเตนเลส ตั้งแต่วิตถุดิบที่เป็นเหล็กแผ่นม้วน (Coil) จากนั้นจึงนำเข้าสู้ขั้นตอนของการรีดเย็นด้วยลูกรีดเพื่อให้ได้ความกลมและขนาดตามที่ต้องการ จากนั้นจึงนำเข้าสู่กระบวนการเชื่อมแบบ Tungsten inert gas: TIG สุดท้ายเป็นกระบวนการขัดเงาด้วยลูกกลึ้งขัดเงา โดยทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการกึ่งอัตโนมัติและเป็นแบบต่อเนื่อง จากนั้นจึงวิเคราะห์หาปัญหาด้วยการระดมสมองและอาศัยแผนภาพแสดงเหตุและผล เพื่อค้นหาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการ ใช้เทคนิค F.M.E.A. เข้ามาช่วยในการกรองปัจจัยเบื้องต้น จากนั้นจึงใช้การออกแบบการทดลองเข้ามาวิเคราะห์ผลของปัจจัยที่ส่งผลต่อรอยเชื่อมทะลุ ในส่วนของทางด้านการรีดขึ้นรูปที่เกิดปัญหาท่อที่ผ่านการรีดไม่กลม เกิดรอยนูนบริเวณรอยต่อ ซึ่งจากการระดมสมองและวิเคราะห์ด้วยแผนภาพเหตุและผลพบว่า เกิดจากการเตรียมรอยต่อของการเชื่อมไม่ต่อชนกันสนิทพอดี ซึ่งเกิดจากตั้งระยะการรีดที่ไม่ถูกต้อง จึงอาศัยเทคนิคเข้ามาช่วยในการปรับตั้ง ปัญหารอยเชื่อมทะลุเกิดจากการปรับตั้งปัจจัยที่ใช้ในการเชื่อมไม่เหมาะสม จึงได้ทดลองหาระดับการปรับตั้งใหม่เป็นดังนี้ (1) การปรับกระแสที่ใช้ในการเชื่อมคือ 80 แอมป์แปร์ (2) การปรับระยะเวลาในการเชื่อมคือ 170 วินาทีต่อเส้น (6 เมตร) (3) การปรับระยะในการอาร์คคือ 1 มิลลิเมตร ของเสียทั้งหมดจากกระบวนการเดิมอยู่ที่ประมาณ 8.2% หลังจากที่ปรับปรุงทั้งสองปัญหาดังกล่าวแล้วสามารถลดของเสียลงเหลือ 1.6% สามารถลดต้นทุนลงได้ 108.75 ล้านบาท | en |
dc.description.abstractalternative | This thesis has the objective for analyze and reduce defect from cold rolled process of stainless steel pipe 304L grade by follow up Six Sigma way. There are 5 phase to operation. In the analysis phase will use the principle of design of experiment (Design and Analysis of Experiment: D.O.E.) come to use analyze and reduce defect of example factory. From production system education including study and collect defect for analyze. Meet that defect majority matter in welding process after from cold rolled process. So, it has problem around welding zone according to the joint through in long rows. That makes it reach lower the standard and can not rework or correct. Next defect is about cold rolled process. So, it is a trace swells joint area and not round pipe for standard. These researches then begin from procedure education since preparing raw material by steel plate coils. After that it time to roll steel plate to be round pipe. Use Tungsten Inert Gas welding (TIG) to joint and polishes with paper sand at last the procedure. This is a semi automatic procedure. After that analyze by brainstorming and used cause and effect diagram for seek the factor that affect to make defect. Use F.M.E.A .techniques to screen factor that not significant. Analyze by design of experiment techniques to analyze the influence of the factor that affects to weld zone defect. In the part of cold rolled process problem that make pipe not round be not good preparing weld joint area enough. Which from the brainstorming and analyze with cause and effect diagram meet that be born from joint preparation. So, it not correct rolling gap .In the welding problem case can find the condition of welding factor is, (1) Welding amp is 80 ampere. (2) Welding speed is 170 second/6 meter. (3) Arc gap is 1 millimeter. Defect from original procedure is 8.2% and after improvement 2 problems (welding and rolling procedure) is 1.6% it can save cost amount of 108.75 million baths. | en |
dc.format.extent | 3030331 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1959 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เหล็กกล้าไร้สนิม | en |
dc.subject | การควบคุมความสูญเปล่า | en |
dc.subject | ซิกซ์ซิกมา (มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ) | en |
dc.title | การลดของเสียจากกระบวนการรีดขึ้นรูปเย็นในอุตสาหกรรมท่อสเตนเลส เกรด 304 | en |
dc.title.alternative | The reduction of defects in cold rolled process of stainless steel pipe | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Jeirapat.N@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2007.1959 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Urakin_Po.pdf | 2.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.