Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14328
Title: | การยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดสิทธิในที่ดิน ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2502) กับผลกระทบต่อการถือครองที่ดินในประเทศไทย |
Other Titles: | The replacement of Land Right Act B.E. 2467 by the announcement of Revolutionary Party No 49 (B.E. 2502) and its effiect on land occupation in Thailand |
Authors: | วินัย บุญพราหมณ์ |
Advisors: | แล ดิลกวิทยรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์ |
Advisor's Email: | Lae.D@chula.ac.th |
Subjects: | กฎหมายที่ดิน -- ไทย กรรมสิทธิ์ที่ดิน -- ไทย ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2502) การถือครองที่ดิน -- ไทย |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | อธิบายถึงการยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดสิทธิในที่ดินตามประมวลกำหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2502) กับผลกระทบต่อการถือครองที่ดินในประเทศไทย โดยอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของการถือครองที่ดิน และระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินของสังคมไทย และทำความเข้าใจว่า การเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดจากแรงผลักดันของฝ่ายใด ผลของการเปลี่ยนแปลงได้กระทบต่อการถือครองที่ดินอย่างไร และมีใครได้หรือเสียประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนั้น จากการศึกษาพบว่า มนุษย์มีความต้องการปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีวิต แต่สิ่งเหล่านี้จักต้องได้รับการผลิต วิถีการผลิตในแต่ละสังคมจะขึ้นอยู่กับนโยบายทางเศรษฐกิจและสังคมของสังคมนั้น และประกอบด้วยพลังการผลิตหรือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ และความสัมพันธ์ทางการผลิต หรือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันในกระบวนการผลิต โดยที่กรรมสิทธิ์เป็นหนึ่งในเงื่อนไขกำหนดความสัมพันธ์ดังกล่าว และมีส่วนทำให้เกิดการแบ่งชนชั้นในสังคมออกเป็น 2 ชนชั้น ได้แก่ ชนชั้นที่มีและชนชั้นที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในปัจจัยการผลิต ดังนั้น ความสัมพันธ์ภายใต้โครงสร้างดังกล่าว จึงเป็นปฏิสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างชนชั้นที่ตั้งอยู่บนฐานการช่วงชิงผลประโยชน์ และสิทธิในการเข้าถึงปัจจัยการผลิต และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตในสังคมในที่สุด สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรม ประชากรส่วนใหญ่ทำไร่ทำนาเป็นหลัก การผลิตเป็นไปเพื่อการยังชีพ ก่อนปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยมีระบบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช กษัตริย์เป็นเจ้าชีวิตและเจ้าของที่ดินทั้งหมด ราษฎรมีเพียงสิทธิอาศัยและทำกินบนที่ดิน ไม่อาจนับเป็นกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ จนมาในปี พ.ศ. 2398 รัฐบาลไทยบรรลุข้อตกลงสนธิสัญญาการค้าเบาว์ริงกับประเทศอังกฤษ อันมีผลให้เกิดการผลิตเพื่อการค้าขึ้น ระบบกรรมสิทธิ์ในที่ดินเริ่มคลี่คลาย เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ แต่สิทธิดังกล่าวยังกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มกษัตริย์ ขุนนาง และพ่อค้าต่างชาติ จนปี พ.ศ. 2475 ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองไปสู่ระบบประชาธิปไตย และในปี พ.ศ. 2497 รัฐบาลได้ออกประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ยอมรับกรรมสิทธิ์เอกชนโดยถือให้กรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่เกิน 50 ไร่ เพื่ออุตสาหกรรมไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อพาณิชยกรรมไม่เกิน 5 ไร่ และเพื่อที่อยู่อาศัยไม่เกิน 5 ไร่ ซึ่งได้รับการบังคับใช้จนกระทั่งวันที่ 13 มกราคม 2502 ก็ถูกยกเลิกโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 49 ด้วยเหตุผลว่าการจำกัดสิทธิในที่ดินเป็นการขัดขวางการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ การยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดสิทธิในที่ดิน เกิดจากแรงผลักดันทางการเมืองที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจของประเทศ การยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยการกำหนดสิทธิในที่ดิน เกิดจากแรงผลักดันทางการเองที่สนับสนุนระบบเศรษฐกิจทุนนิยม มีผลให้กลุ่มทุนสามารถเข้าถือครองที่ดินได้โดยไม่จำกัดจำนวน เกษตรกรผู้ยากไร้มีที่ดินเพียงเล็กน้อยในการผลิตเพื่อยังชีพ จึงไม่สามารถทานอำนาจทุนและต้องสูญเสียที่ดินในที่สุด |
Other Abstract: | To explain the replacement of Land Right Act B.E. 2497 By the Announcement of Revolutionary Party No.49 (B.E. 2502) and its effect on land occupation in Thailand through the analysis of relevant theories and documents in order to illustrate the changes in land occupation and property rights and understand who were the main forces behind, how did the outcome affect land occupation and who won or lost out from such changes. The study finds that humans have basic needs in order to survive, but these basic needs to a great extent, rely on production. To a certain extent, mode of production in any given society depends on the socio-economic policy of such society and consists of productive forces, or the relationships between human and nature, and relations of production, or the relationships between humans within a given production process. Property right constitutes one of the primary conditions that determines such relationships and plays a part in the class process between the owners of the rights to factors of production and those who have not such rights. Therefore, the relationships under such structure represent power interactions between different groups in the society, all of whom are trying to compete for rights and access to factors of production. This process eventually has a changing effect on the mode of production. Thai society was an agrarian society, where most of the population depended on subsistence agriculture. Before B.E. 2475, absolutism was the reigning political system, which granted the kings the rights to all lives, lands and other things within the Kingdom of Thailand. Thai peoples had only usufruct granted by the Kings, which was not considered property right. Until B.E. 2398, Thai government reached a trade agreement with Great Britain, which was known as the Bowring Treaty, and the mode of production began to become commercialized. Even though property rights began to change with the initial permission for certain agents in the private sector to acquire landed property rights, such rights were still heavily concentrated among royal family, aristocrats and foreign merchants. In the year B.E. 2475, Thailand embraced democracy and, in B.E. 2497, Land Right Act B.E. 2497 was issued and gave rise to private property right via the grants of land to individuals for the purpose of agriculture not more than 50 rais, for industry not more than 10 rais, for commerce not mere than 5 rais and for housing not more than 5 rais. The law was in use until 13 January B.E. 2502, when it was replaced by the Announcement of Revolutionary Party No.49 (B.E. 2502). The given reason was that the constraint of land right was an obstacle to the economic growth of the country. However, the replacement was brought about by the political forces in favor of capitalist economy and resulted in the strengthening of capitalist's capacity to infinitely occupy lands while the subsistence farmers, who had only marginal parcels of lands, lost out in the process. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์การเมือง |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14328 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.1960 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.1960 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Econ - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Winai_bu.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.