Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14329
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ไตรวัฒน์ วิรยศิริ | - |
dc.contributor.advisor | พรพรหม แม้นนนทรัตน์ | - |
dc.contributor.author | สุรีย์รัตน์ กิจเจริญวณิชกุล | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2010-12-28T11:23:53Z | - |
dc.date.available | 2010-12-28T11:23:53Z | - |
dc.date.issued | 2549 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14329 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาโครงการเป็นขั้นตอนแรกในการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม ในปัจจุบันการศึกษาโครงการเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการพิจารณาการลงทุนของเจ้าของโครงการ และการศึกษาโครงการยังเป็นเหมือนการวางแผนโครงการเบื้องต้น เพื่อที่จะสามารถดำเนินการปฏิบัติวิชาชีพได้อย่างถูกต้องและมีคุณภาพในการดำเนินงานในขั้นออกแบบต่อไป การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา หลักการ ทฤษฎีของการศึกษาโครงการ สภาพการปฏิบัติวิชาชีพและขอบเขตบริการในขั้นตอนการศึกษาโครงการ และค่าบริการวิชาชีพการศึกษาโครงการในปัจจุบัน ซึ่งมีประเภทโครงการและขนาดโครงการเป็นปัจจัยที่ทำให้การบริการวิชาชีพการศึกษาโครงการแตกต่างกันของสำนักงานสถาปนิกไทย โดยอาศัยการศึกษาจากเอกสาร งานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโครงการในการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมของประเทศไทย และศึกษาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) สำนักงานขนาดเล็ก บุคลากรน้อยกว่า 15 คน 2) สำนักงานขนาดกลาง บุคลากร 15-30 คน 3) สำนักงานขนาดใหญ่ บุคลากรมากกว่า 30 คน และหลังจากนั้นผู้วิจัยจึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปการบริการวิชาชีพในขั้นตอนการศึกษาโครงการ จากการศึกษาสรุปได้ว่า การบริการวิชาชีพการศึกษาโครงการของสำนักงานสถาปนิกไทยในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบคือ 1) การบริการศึกษาโครงการโดยที่เจ้าของโครงการไม่ดำเนินงานต่อในขั้นตอนออกแบบและค่าบริการวิชาชีพไม่ชัดเจน 2) การบริการศึกษาโครงการโดยที่เจ้าของดำเนินงานต่อในขั้นตอนออกแบบและค่าบริการวิชาชีพ เป็นส่วนหนึ่งของค่าบริการวิชาชีพออกแบบสถาปัตยกรรม 3) การบริการศึกษาโครงการโดยเฉพาะและมีการตกลงค่าวิชาชีพอย่างชัดเจน ผลการศึกษาพบว่า การบริการการศึกษาโครงการประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือการศึกษารายละเอียดโครงการ การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (ทางกายภาพ) และรวมไปถึงออกแบบแนวความคิด แต่สำหรับการบริการการศึกษาโครงการรูปแบบที่ 3 จะมีการบริการ การออกแบบแนวความคิด และการออกแบบร่างทางเลือกอีกด้วย และในเรื่องของค่าบริการวิชาชีพ สำนักงานสถาปนิกส่วนมาก (73%) ต้องการที่จะให้แยกค่าบริการวิชาชีพการศึกษาโครงการ เพราะยังต้องใช้องค์ความรู้ทางด้านวิชาชีพ และเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่จะพิจารณาว่าโครงการเกิดขึ้นจริง สำหรับหลักการคิดค่าบริการวิชาชีพการศึกษาโครงการควรอ้างอิงจากระบบการคิดแบบ man hour หรือแบบเหมารวมเนื่องจากการศึกษาโครงการนี้ยังไม่สามารถทราบถึงค่าก่อสร้างได้อย่างชัดเจน และประโยชน์ของการคิดแบบ man hour สามารถใช้อ้างอิงกับการเรียกเก็บค่าบริการกับเจ้าของโครงการได้อีกด้วย ข้อเสนอแนะอื่นๆ ควรให้องค์กรวิชาชีพควรปรับปรุงคู่มือสถาปนิก และเอกสารประกอบการปฏิบัติวิชาชีพ ในส่วนของการศึกษาโครงการ และมีการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทนของสถาปนิกตามคุณสมบัติและประสบการณ์ เพื่อเป็นประโยชน์แก่สถาปนิกและผู้ใช้บริการทั่วไปให้เข้าใจการปฏิบัติวิชาชีพมากยิ่งขึ้น และเพื่อพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพให้ดียิ่งขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | The pre design stage is the first stage of architectural practice. Recently, the pre design stage is a factor which clients or developers consider when investing in a project. The pre design service as planning project in order to control time, cost and quality operates when the design service is the next step. The objective of this study was to study the related theories, investigate the state, the scope and fee of pre design service in architectural firms in Thailand. Moreover, the objective of this study was to clarify the pre design service for architectural firms. The scope of pre design service depends on two factors for the different services; project scale and project type. The study was carried out using local and international papers and research studies. Other data was collected from interviews with purposefully selected subjects. The subjects can be divided into three groups: 1) small offices with fewer than 15 people, 2) medium offices with 15-30 people, and 3) large offices with more than 30 people. After analyzing the two sources of data, to be the scope of pre design service. The findings revealed that there were three types of pre design service in architectural design service. The first was the pre design service in which clients decided not to precede the project with a design stage and also the service fee wasn’t clear. The second was the pre design service in which clients decided to precede the project and the service fee was included in the architectural fee. The third was especially pre design service documents with a separate the service fee. Furthermore, the findings showed that pre design consists of project programming, a feasibility study and the conceptual stage. In terms of architectural service fee, most of the architectural firms wanted to separate the pre design service fee because of the use of architecture knowledge and they can’t exactly estimate the construction cost. For the pre design service fee should be referred to the man hour system or lump sum due to the easy breakdown and reference of costs and expenses to the client. The findings suggest that a professional organization should improve the architect’s handbooks describing pre design service and also set up a standard of architect’s salary in order to create a professional standard for architects to follow. | en |
dc.format.extent | 2792237 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.275 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรม | en |
dc.subject | สถาปนิก -- ไทย | en |
dc.subject | การออกแบบสถาปัตยกรรม | en |
dc.title | ปัญหาและความเข้าใจในการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิกในขั้นตอนการศึกษาโครงการก่อนการออกแบบ | en |
dc.title.alternative | Problem and understanding of Thai architects in professional practice : pre design stage | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | vtraiwat@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | pornprom.m@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2006.275 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sureerat_Ki.E.pdf | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.