Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14332
Title: | การศึกษาความหมายของคำกริยาแสดงการกล่าวถ้อยในภาษาไทยโดยอิงบริบท |
Other Titles: | A Context based semantic study of linguistic action verbs in Thai |
Authors: | ปวลี บุญปก |
Advisors: | สุดาพร ลักษณียนาวิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sudaporn.L@chula.ac.th |
Subjects: | วัจนกรรม ภาษาไทย -- คำกริยา ภาษาไทย -- ประโยค |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการคือ 1) ศึกษาความหมายของคำกริยาแสดงการกล่าวถ้อย (LAV) โดยอิงบริบทของการสื่อสารที่คำกริยานั้นๆ เกิดขึ้น 2) การเกิดร่วมของคำกริยาเหล่านี้กับรูปประโยคความเดี่ยว ข้อมูลของการศึกษานี้คือ ภาษาสนทนาที่เกิดขึ้นในนวนิยายไทย จำนวน 9 เรื่อง มีคำกริยาแสดงการกล่าวถ้อยที่เกิดร่วมกับรูปประโยคความเดี่ยวจำนวน 1,055 รายการ เป็น LAV ที่ไม่ซ้ำกัน จำนวน 206 คำ เมื่อวิเคราะห์ความหมายของ LAV ตามบริบทของการสื่อสาร อันได้แก่ 1) บริบทสถานการณ์ 2) เจตนาของผู้พูด และ 3) ความสัมพันธ์ของผู้พูดและผู้ฟัง ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะของสังคมและวัฒนธรรมของผู้พูดภาษาไทย สามารถจำแนก LAV เป็นคำกริยาอ้างถึงวัจนกรรม (SAV) หลัก 4 ประเภท แต่ละประเภทยังจำแนกเป็นประเภทย่อยได้ดังนี้ 1) LAV ที่เป็นวัจนกรรมการบอก (90 คำ) ได้แก่ LAV ที่เป็นวัจนกรรมการบอกที่ผู้พูดเป็นผู้เริ่มวาทกรรม (19 คำ) LAV ที่เป็นวัจนกรรมการบอกที่ผู้พูดไม่ได้เป็นผู้เริ่มวาทกรรม (68 คำ) และ LAV ที่เป็นวัจนกรรมการบอกที่เป็นการจัดการปฏิสัมพันธ์ (3 คำ) 2) LAV ที่เป็นวัจนกรรมการบอกให้กระทำ (36 คำ) ได้แก่ LAV ที่เป็นวัจนกรรม การบอกให้ทำ (15 คำ) ได้แก่ LAV ที่เป็นวัจนกรรมการบอกไม่ให้ทำ (6 คำ) และ LAV ที่เป็นวัจนกรรมการบอกให้ตอบ (15 คำ) 3) LAV ที่เป็นวัจนกรรมการแสดงความรู้สึก (79 คำ) ได้แก่ LAV ที่เป็นวัจนกรรมการแสดงความรู้สึกแบบแท้ (11 คำ) LAV ที่เป็นวัจนกรรมการแสดงความรู้สึกที่บอกอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ (56 คำ) LAV ที่เป็นวัจนกรรมการแสดงความรู้สึกที่เป็นการสั่ง (5 คำ) และ LAV ที่เป็นวัจนกรรมการแสดงความรู้สึกที่เป็นการจัดการปฏิสัมพันธ์ (7คำ) 4) LAV ที่เป็นวัจนกรรมการสัญญา (1 คำ) การศึกษาการเกิดร่วมของรูปประโยคความเดี่ยวกับ LAV ที่จัดเป็น SAV แต่ละประเภทข้างต้น พบประโยคความเดี่ยว 4 ประเภทคือ ประโยคบอกเล่าและประโยคบอกเล่าเนื้อความปฏิเสธ ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำสั่ง และประโยคคำถาม ประโยคบอกเล่าเกิดร่วมกับวัจนกรรมการบอก 80.7% ประโยคปฏิเสธพบเป็นจำนวนน้อย ส่วนใหญ่เกิดร่วมกับวัจนกรรมการบอกที่ผู้พูดไม่ได้เป็นผู้เริ่มวาทกรรมประเภทการตอบเป็นส่วนใหญ่ ในวัจนกรรมการบอกให้กระทำ พบว่าประโยคคำสั่งเกิดร่วมกับการบอกให้ทำ 75.4% และประโยคประเภทนี้เกิดร่วมกับการบอกไม่ให้ทำ 60.0% ประโยคคำถามเกิดร่วมกับการบอกให้ตอบ 98.6% ในวัจนกรรมการแสดงความรู้สึก พบว่าส่วนใหญ่แล้วเกิดร่วมกับประโยคบอกเล่าสูงถึง 62.6% และรองลงมาคือเกิดร่วมกับประโยคคำถาม 26.9% ในวัจนกรรมการสัญญาพบว่าเกิดร่วมกับประโยคบอกเล่า 100.0% สรุปผลของการศึกษาโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ในงานวิจัยนี้พบว่า LAV ซึ่งจัดให้เป็น SAV ประเภทต่างๆ นั้น มีการเกิดร่วมกับรูปประโยคแต่ละประเภทที่มีความสัมพันธ์กับชนิดของ SAV นั้นๆ อย่างชัดเจนเป็นส่วนใหญ่ ส่วนประโยคที่ไม่สัมพันธ์กับ SAV ชนิดนั้นๆ อาจเกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้านวัจนปฏิบัติศาสตร์ในแง่อื่นๆ ซึ่งต้องศึกษาต่อไป |
Other Abstract: | This research attempts to analyze (1) the context based semantics of the linguistic action verbs (LAVs) occurring in conversational language in Thai novels and (2) the co-occurring of these verbs with different types of sentences. The data were 1,055 tokens of LAVs co-occurring with the sentences found in 9 Thai novels. They consist of 206 LAVs. The semantic study of LAVs is based on the context of communication - context of situation, intention, and context of participants - in Thai culture. The 206 LAVs found in the corpus can be classified into 4 major types of speech act verb (SAV). Each type of SAV is classified into subtypes:1) Assertives (90 LAVs) including of those initiated by the speakers (19 LAVs), not initiated by the speakers (68 LAVs), and those assertives used in interactive management (3 LAVs) 2) Directives (36 LAVs) including Commanding (15 LAVs), Forbidding (6 LAVs), Questioning (15 LAVs) 3) Expressives (79 LAVs) including purely expressives (11 LAVs), expressives plus assertives (56 LAVs), expressives plus directives (5 LAVs), expressives plus interactive management (7LAVs) and 4) Commissives (1 LAV). In the study of the co-occurrence of the sentences with the LAVs, four sentence types were found. They are statement and negative statement sentences, negative sentences, imperative sentences, and interrogative sentences. 80.7% of statement sentences co-occurred with assertives. Negative sentences were found very little mainly they co-occurred with Non-initiated assertives that were mostly answering. Within directives that consist of commanding, forbidding, and questioning it was found that 75.4% imperative sentences co-occurred with commanding, and 60.0% of this type of sentences co-occurred with forbidding. In questioning, 98.6% of interrogative sentences were found. Mainly the sentence type that highly co-occurred with the different types of expressives was statement sentence, i.e., 62.6% in average. In expressives 26.9% of interrogative sentences were found. There were only a few commissives found in the corpus. All of these commissives were in statement sentences. In conclusion from this empirical study, most LAVs that can be classified into different types of SAV co-occurred with the sentence types that are mostly related to them. The sentence types that are not directly related to the SAV types may be because of other pragmatic aspects which need further investigation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14332 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1032 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2008.1032 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
pawalee_bo.pdf | 2.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.