Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14333
Title: แนวทางของกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ในประเทศไทย
Other Titles: Trends of legislation on broadcasting regulations in Thailand
Authors: วรวัชร เอี่ยมสุทธิธรรม
Advisors: ณรงค์เดช สรุโฆษิต
วิษณุ วรัญญู
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Narongdech.S@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การกระจายเสียง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
โทรทัศน์กระจายเสียง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
วิทยุกระจายเสียง -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงแนวทางของกฎหมายเกี่ยวกับการกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ที่จะนำไปสู่การปฏิรูประบบและโครงสร้างของสื่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ในประเทศไทย โดยได้วิเคราะห์ถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศไทย จากกฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน และศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของต่างประเทศที่มีรูปแบบในการประกอบกิจการที่แตกต่างออกไป และประสบความสำเร็จในการทำให้วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เป็นเครื่องมือในการให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความบันเทิง และสะท้อนความคิดเห็นของประชาชน ผลจากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 และพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันมีความล้าสมัย มิได้มุ่งหมายที่จะคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนเท่าที่ควร มีบทบัญญัติให้หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ประกอบกิจการ และควบคุมการประกอบกิจการแต่เพียงผู้เดียว ทั้งกระทรวงกลาโหม กรมประชาสัมพันธ์ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือแม้แต่บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และนอกจากนี้การประกอบกิจการโดยภาคเอกชนก็อยู่ในรูปของสัมปทานที่จำกัดแต่เฉพาะผู้ให้วงเงินสูงสุด หรือที่มีความใกล้ชิดกับกลุ่มราชการและการเมืองรับไปดำเนินการ ทำให้การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ได้ดำเนินการไปโดยภาคเอกชนเพียงไม่กี่ราย ไม่เปิดโอกาสให้กับการใช้คลื่นความถี่ในรูปแบบอื่น และยึดติดกับผลประโยชน์ทางการเมืองและธุรกิจเป็นสำคัญ ดังนั้น เพื่อให้การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ดำเนินการไป โดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน และยึดถือผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ แนวทางของกฎหมายในการประกอบกิจการ จะต้องประกอบไปด้วยองค์กรกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่มิได้เป็นองค์กรเดียวกับองค์กรกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคม และอีกส่วนหนึ่งก็คือ กฎหมายประกอบกิจการซึ่งก็จะแบ่งออกเป็นหลักเกณฑ์การเป็นผู้ประกอบกิจการ และหลักเกณฑ์การประกอบกิจการ โดยการเป็นผู้ประกอบกิจการนั้นก็จะแบ่งประเภทกิจการออกเป็น แบบบริการสาธารณะ แบบธุรกิจเอกชนและแบบชุมชน โดยที่ประเภทของกิจการแต่ละอย่างนั้นผู้ประกอบกิจการก็จะมีบุคลิกที่ไม่เหมือนกัน อันเนื่องมาจากภารกิจที่มีความแตกต่างกัน ด้านหลักเกณฑ์การประกอบกิจการนั้นก็มีขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานการดำเนินการ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ที่ใช้ควบคุมอยู่หลายอย่าง ทั้งเรื่องคุณภาพรายการ สัดส่วนรายการ การโฆษณา การดำเนินรายการ หลักค้ำประกันพหุนิยม รายการทางการเมือง และมาตรการบังคับให้เป็นไปตามกฎหมาย
Other Abstract: To study about the trends of legislation on broadcasting regulations that will lead to the reform of broadcasting in Thailand. We analyze the problems and the reason of such problems on the basis of the present legislation in Thailand with certain considerations of comparative laws. We found out that the Radio and Television Broadcasting Act B.E. 2498 (1955) and the Radio Communications Act. B.E. 2498 (1955), still in force, are out of date. They have no objective to protect the right and freedom of people as it could have been. Most of provisions only allow the government entities such as, the Ministry of Defense, the Government Public Relations Department and the Office of the Permanent Secretary as well as MCOT Public Company Limited to run and control the broadcasting. Moreover, the concession broadcasting system controlled by the private is limit for the private companies who give the highest offer or who have the strong connection with the government or political entities. As a consequence, there are few private companies that can run the broadcasting systems. This would not give the opportunity for other kinds of frequencies to operate. Therefore, the trends of legislation on broadcasting should consist of the broadcasting which is the different organization with the telecommunication organization. This would make the operation of the broadcasting for the right and freedom of people and strict only the best interest of people. The legislations should also separate the provisions of business operator from the provisions of the business operation. For the business operators, they will divide into the public services, the commercial service and the community service. The operator of each type of operation will not be the same because of the different missions. The rules of business operations are defined to determine the standard of operations which can be controlled by the quality of program, the ratio of program, the advertisement, the operation, the pluralist, the political program and the procedures in complying the law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14333
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.113
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.113
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Voravat_Ei.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.