Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14349
Title: สมบัติทางกายภาพ ทางกล และความเข้ากันได้ทางชีวภาพของอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์จัดฟันที่ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์
Other Titles: Physical-mechanical properties and biocompatibility of orthodontic elastomeric ligature fabricated from epoxidized natural rubber
Authors: ตุลย์ ศรีอัมพร
Advisors: นิยม ธำรงค์อนันต์สกุล
สมพร สวัสดิสรรพ์
นุชนาฏ ณ ระนอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Somporn.S@Chula.ac.th
NUCHANAT@doa.go.th
Subjects: อีลาสโตเมอร์
ทันตวัสดุ
ยาง
ทันตกรรมจัดฟัน -- เครื่องมือและอุปกรณ์
Issue Date: 2551
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อผลิตอีลาสโต เมอริกลิเกเจอร์จัดฟันจากยางธรรมชาติอิพอกไซด์และศึกษาเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพ / ทางกล และความเข้ากันได้ทางชีวภาพของอีลาสโต เมอริกลิเกเจอร์จัดฟันที่ผลิตขึ้นกับ อีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์จัดฟันที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้า จำนวน 7 ผลิตภัณฑ์ วัสดุและวิธีการ ผลิตอีลาสโตเมอริกลิกเกเจอร์จากยางธรรมชาติอีพอกไซด์จำนวน 4 สูตร และใช้อีลาสโต เมอริกลิเกเจอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าจำนวน 7 ผลิตภัณฑ์ ทำการทดสอบสมบัติทางกายภาพได้แก่ ทดสอบ ร้อยละของน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะเวลา 28 วัน เมื่อสัมผัสกับน้ำหรือน้ำมัน ทดสอบสมบัติทางกลได้แก่ ค่าแรงดึงเริ่มต้น และความแข็งผิวแบบชอร์เอ และทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ ที่เพาะเลี้ยงจากเหงือกของคน ผลการศึกษา การทดสอบสมบัติทางกายภาพพบว่าอีลาสโตเมอริกลิกเกเจอร์ที่ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์ทั้ง 4 สูตร มีน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปในระยะเวลา 28 วันเมื่อสัมผัสกับน้ำหรือน้ำมัน คิดเป็นร้อยละ 6.24 ถึง 8.18 และร้อยละ 4.21 ถึง 5.48 ตามลำดับ ส่วนอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้ามีน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปร้อยละ 1.12 ถึง 2.15 และประมาณร้อยละ 0.19 ถึง 1.08 ตามลำดับ การทดสอบสมบัติทางกลพบว่าอีลาสโตเมอริกลิกเกเจอร์ที่ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์ทั้ง 4 สูตรมีค่าแรงดึงเริ่มต้นอยู่ที่ช่วง 2.31 ถึง 3.70 นิวตัน ขณะที่อีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้ามีค่าแรงดึงเริ่มต้นอยู่ที่ช่วง 2.59 ถึง 5.19 นิวตัน ค่าความแข็งผิวแบบชอร์เอของอีลาสโตเมอริกลิกเกเจอร์ที่ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์อยู่ที่ช่วง 63 ถึง 71 ส่วนอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้ามีค่าความแข็งผิวแบบชอร์เออยู่ที่ช่วง 60 ถึง 65 และผลการศึกษาด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์ไฟโบรบลาสต์จากเหงือกของคน พบว่าอีลาสโตเมอริกลิกเกเจอร์ทั้งสองชนิดไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ นอกจากนี้ยังเอื้อพื้นผิวให้เซลล์ยึดเกาะ แผ่ตัวและเพิ่มจำนวนด้วย สรุป อีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ที่ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์มีร้อยละของน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อแช่ในน้ำหรือน้ำมัน โดยมีค่าสูงกว่า ในขณะที่มีค่าแรงดึงเริ่มต้นและค่าความแข็งผิวแบบชอร์เอใกล้เคียงกับค่าที่ได้จากอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้า และอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ทั้งสองชนิดแสดงสมบัติความเข้ากันได้ทางชีวภาพกับเนื้อเยื่อเหงือกของมนุษย์ได้ดีเช่นเดียวกัน ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าอีลาสโตเมอริกลิเกเจอร์ที่ผลิตจากยางธรรมชาติอีพอกไซด์มีคุณสมบัติที่ดี และมีศักยภาพเพียงพอที่จะปรับปรุงนำไปใช้เป็นยางวงในการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน
Other Abstract: Objective to fabricate orthodontic elastomeric ligatures from epoxidized natural rubber and study the physical / mechanical properties and biocompatibility of the fabricated products in comparison to the 7 commercially available orthodontic elastomeric ligatures. Materials and methods Four formulations of elastomeric ligatures were fabricate from epoxidized natural rubber. The fabricated elastomeric ligatures as well as the commercial orthodontic elastomeric ligatures were investigated for physical and mechanical properties, including the percentage of weight changes after immersion in water or oil for 28 days, initial tensile forces and surface hardnesses. The cellular biocompatibility of both types of products was also evaluated in human gingival fibroblasts in culture by using MTT technique and microscopies. Results From the physical property testing, the weight changes after immersion in water or oil for 28 days were 6.24-8.18% and 4.21-5.48%, respectively for the 4 fabricated elastomeric ligatures and 1.12-2.15% and 0.19-1.08%, respectively for the commercial orthodontic elastomeric ligatures. For the mechanical test, the fabricated elastomeric ligatures showed the range of initial tensile force at 2.36-3.64 Newton and the range of surface hardness value at 63-71 while the commercial orthodontic elastomeric ligatures demonstrated the initial tensile force at 2.59-5.19 Newton and the range of surface hardness value at 60-65. The in vitro study revealed that both fabricated products and commercial products were non cytotoxic. In addition, they offered hospitable surfaces for cell attachment, spread and proliferation to the human gingival fibroblasts. Conclusion The 4 formulations of fabricated elastomeric ligatures showed the higher of weight change value with the comparable initial tensile force and the surface hardness value to those of the commercial products. Both elastomeric ligatures fabricated from epoxidized natural rubber and the commercial elastomeric ligatures were biocompatible to human cells. These results suggested that the newly fabricated elastomeric ligatures have shown some advantages with the potential to be improved and used as orthodontic ligatures.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ทันตกรรมประดิษฐ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14349
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.192
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2008.192
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tool_sr.pdf2.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.