Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14374
Title: ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองในภาคใต้
Other Titles: Selected factors related to HbA, C level of type II diabetic patiens in Southern Region
Authors: อรวรรณ ทรัพย์วรฤทธิ์
Advisors: สุรีพร ธนศิลป์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Sureeporn.T@Chula.ac.th
Subjects: เบาหวาน -- ผู้ป่วย -- ไทย (ภาคใต้)
ฮีโมโกลบิน
น้ำตาลในเลือด
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ และความสามารถในการทำนายของปัจจัยคัดสรรกับระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองในภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สอง จำนวน 200 คน จากโรงพยาบาลศูนย์ 4 แห่ง ในภาคใต้ เลือกโดยวีธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม จำนวน 6 ชุด คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกาย แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสอบถามการใช้บริการสุขภาพ และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .67, .80, .60, .64, .67 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูตรสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบหลายขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองในภาคใต้ มีพฤติกรรมการรับประทานอาหาร และพฤติกรรมการออกกำลังกาย อยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ส่วนพฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับเหมาะสมมาก การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน การรับรู้ประโยชน์ แรงจูงใจด้านสุขภาพ และปัจจัยร่วม อยู่ในระดับสูง การรับรู้ถึงความรุนแรงของโรคอยู่ในระดับปานกลาง และการรับรู้อุปสรรคอยู่ในระดับต่ำ การใช้บริการสุขภาพ และแรงสนับสนุนทางสังคม โดยรวมอยู่ในระดับสูง 2. พฤติกรรมรับประทานอาหาร พฤติกรรมรับประทานยา ความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้ประโยชน์ ด้านแรงจูงใจด้านสุขภาพ และการใช้บริการสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำ กับระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนพฤติกรรมการออกกำลังกาย ความเชื่อด้านสุขภาพด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน ด้านการรับรู้ถึงความรุนแรงของโรค ด้านการรับรู้อุปสรรค ด้านปัจจัยร่วม และแรงสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ 3. ความเชื่อสุขภาพ ด้านการรับรู้ผลประโยชน์ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร พฤติกรรมการรับประทานยา สามารถร่วมกันทำนายระดับฮีโมโกลบินที่มีน้ำตาลเกาะ ได้ร้อยละ 16 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were study the relationships and predictors between eating behavior, exercise behavior, medication behavior, health believe, health service utilization, social support, and HbA[subscript 1]C level. A random sample of 200 type ΙΙ diabetic patients was obtained though a purposive sampling from four central hospital in southern region. Data were collected using six questionnaires: eating behavior, excercise behavior, medication behavior, health believe, health service utilization, and social support. Questionnaires were tested for content validity and reliability. Cronbach’s alpha coefficients the questionnaires were .67, .80, .60, .64, .67, and .83, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, pearson’s product moment correlation and multiple regression. The major findings were as follows: 1. Eating behavior and exercise behavior of type ΙΙ diabetic patients in southern region were at moderate level and medication behavior at high level. Health believe factor in perceived susceptibility, perceived benefits , motivation and cofactor were at high level and perceived severity was at moderate level and perceived barrier was at low level. Health service utilization and social support were at high level. 2. Eating behavior, medication behavior, health believe factor, perceived benefits, motivation and health service utilization were negative significantly related to HbA 1C level. Exercise behavior, health believe factor in perceived susceptibility, perceived severity, perceived barrier , cofactor and social support were not related to HbA[subscript 1]C level. 3. Significantly predictors HbA[subscript 1]C level of type ΙΙ diabetic patients in southern region were health believe factor in perceived benefits (beta =.263, p is less than .05), eating behavior (beta =.193, p is less than .05) and medication behavior (beta=.143, p is less than .05). The predictive power was 16% of variance (R[superscript 2]=15.7 p is less than .05).
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14374
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1397
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1397
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
orawan.pdf1.33 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.