Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14458
Title: | ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน |
Other Titles: | Selected factors related to health promoting behaviors in bodyweight control of overweight patient with hypertension |
Authors: | ธนธรณ์ เก็บไว้ |
Advisors: | สุนิดา ปรีชาวงษ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sunida.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ความดันเลือดสูง การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมน้ำหนัก |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัว อิทธิพลของครอบครัวและอิทธิพลด้านสถานการณ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานที่มารับบริการในโรงพยาบาลชุมชนในภาคใต้ของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุระหว่าง 20-59 ปี ที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชนในภาคใต้ ที่มีค่าดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 23 จำนวน 120 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน การศึกษานี้ใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์,การรับรู้อุปสรรค, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัว, อิทธิพลด้านครอบครัว, อิทธิพลด้านสถานการณ์ต่อพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัวและแบบสอบถามพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัว ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและมีความเที่ยงตรงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ.85, .86, .88, .85, .94, .85 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานอยู่ในระดับดี([ค่าเฉลี่ย] = 3.55, SD = 0.67) 2. การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักตัว อิทธิพลของครอบครัว อิทธิพลด้านสถานการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .22, .81, .75, .26 และ .36 ตามลำดับ) 3. การรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในการควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = -.68) |
Other Abstract: | The purpose of this study was to examine the relationships among perceived benefits, perceived barriers, perceived self-efficacy, body weight control activity-related affect, family influences, situational influences and health promoting behaviors in body weight control of hypertensive patients with overweight. Study sample consisted of 120 overweight hypertensive patients that received health service at the out patients department of community Hospital selected by multi-stage random sampling. The theoretical framework was based on Pender's Health Promotion Model. The instruments used in this study were self-reported questionnaires, including the Demographic questionnaire, the Perceived Benefits, the Perceived Barriers, the Perceived Self-Efficacy, the Bodyweight Control Activity-Related Effect, the Family influences, the Situational influences and the Health Promoting Behaviors in weight control. Cronbach's alpha coefficients of all measures, except Demographic Questionnaires, were .85, .86, .88, .85, .94, .85 and .79.Pearson product-moment correlation was used for statistical analysis. The results were as follows: 1.Mean score of weight control behaviors of hypertensive patients with overweight was at the good level.([x-bar] = 3.55, SD = 0.67). 2. There were positive statistical correlations between perceived benefits, perceived self-efficacy, activity-related effect, family influences, situational influences and health promotion behaviors of hypertensive patients with overweight at the level of .05 (r = .22, .81, .75, .26 and .36 respectively). 3. There was a negative statistical correlations between perceived barriers and health promotion behaviors of hypertensive patients with overweight at the level of .01(r = -.68) |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14458 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.695 |
ISBN: | 9741426828 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.695 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanatorn.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.