Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14469
Title: การเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายขององค์ประกอบคัดสรรที่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมและองค์ประกอบที่ใช้อยู่ของการรับบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง
Other Titles: A comparison of predictive validity of selected components by using accumulative average score equating and previous components of central university admission system
Authors: วชิรา โอภาสวัฒนา
Advisors: เอมอร จังศิริพรปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimorn.J@Chula.ac.th
Subjects: การให้คะแนน (นักเรียนและนักศึกษา)
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายคะแนนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้คะแนน ONET คะแนน ANET และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรี 2) ปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและคะแนนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ด้วยวิธีทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และ 3) วิเคราะห์และเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายขององค์ประกอบคัดสรรที่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมและองค์ประกอบที่ใช้อยู่ซึ่งไม่ได้รับการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสมกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต/นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2549 ที่ผ่านการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในระบบกลาง ปีการศึกษา 2549 ในเขตกรุงเทพมหานครได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 5 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ วิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และพาณิชยศาสตร์ จำนวน 2,220 คน ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ องค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือก และผลการเรียนระดับปริญญาตรี ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. องค์ประกอบที่ใช้เลือกบุคคลเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาในระบบกลาง ได้แก่ คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ คะแนน ONET และ คะแนน ANET มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทุกสาขาวิชายกเว้น สาขาวิชาพาณิชย์ศาสตร์ที่คะแนน ANET มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับปริญญาตรีอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการปรับเทียบคะแนนเฉลี่ยสะสม พบว่า ทุกสาขาวิชามีคะแนนเฉลี่ยสะสมที่ปรับต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยสะสมเดิม 3. ผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความตรงเชิงทำนายพบว่า สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์สามารถใช้องค์ประกอบคัดสรรที่ 6 ถึง 10 แทนองค์ประกอบที่ใช้อยู่ได้ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์สามารถใช้องค์ประกอบคัดสรรที่ 6, 8 และ 10 แทนได้ สาขาวิชาพาณิชยศาสตร์ทุกองค์ประกอบมีความตรงเชิงทำนายไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study were 1) to study the correlation between Cumulative Grade Point Average, Grade Point Average, ONET, ANET and Undergraduate Achievement. 2) to equate Cumulative Grade Point Average and Grade Point Average by using IRT method and 3) analyze and compare predictive validities of the selected components which were equated the accumulative average score and the current components which were not equated of the accumulative average score. The sample of this study was 2,200 freshmen, 2006 academic year of the public universities in Bangkok metropolitan area, which were Chulalongkorn University, Kasetsart University, Thammasat University, Srinakharinwirot University, and Silpakorn University. The sample used in this research were from 5 fields of study, ie. Health science, Physical science, Engineering. Architecture, and Accountancy. The data were the components of central university admission system and undergraduate achievement. The results were as follow: 1. The components of central university admission system. ie. Cumulative Grade Point Average, Grade Point Average, ONET and ANET were correlated with the undergraduate achievement at .05 level of significance in all fields of studies except Accountancy, whose ANET was not correlated with the undergraduate achievement at .05 level of statistical significance. 2. The result of accumulative average score equating was lower than previous accumulative average score all field of studies. 3. According to the result of the analysis and comparison of predictive validities, it was found that on the field of Health Science, Physical science and Engineering, the selected components 6-10 could be used instead of previous components. In the field of Architect,the selected components 6,8,10 could be used instead of previous components .As for Accountancy, the predictive validities of the selected components 1-15 were not different at .05 level of statistical significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวัดและประเมินผลการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14469
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.729
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.729
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wachira_op.pdf1.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.