Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14477
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประนอม รอดคำดี | - |
dc.contributor.author | สุภาพร หมุกรอด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2011-01-17T07:13:41Z | - |
dc.date.available | 2011-01-17T07:13:41Z | - |
dc.date.issued | 2551 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14477 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของมารดาและการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียน โรคธาลัสซีเมีย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยและมารดาเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย อายุระหว่าง 7-12 ปี ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเลือดแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างละ 20 คน โดยทำการจับคู่ (Matching) กลุ่มตัวอย่างให้มีลักษณะ เพศและอายุของเด็กให้เหมือนกัน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ซึ่งประกอบด้วย แผนการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของมารดาและการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ภาพพลิกสีเรื่องโรคธาลัสซีเมียและการดูแลตนเอง และคู่มือขาวดำเรื่องการดูแลตนเองโรคธาลัสซีเมีย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดพฤติกรรมการดูแลเด็กของมารดาและดารดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย สร้างขึ้นโดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem (1995) ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาค่าความเที่ยง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .82 และ .80 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการดูแลเด็กของมารดาเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย ภายหลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมการดูแลเด็กของมารดาเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. พฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียภายหลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. พฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมียที่ได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ดีกว่ากลุ่มที่ไดรับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this quasi-experimental research were to study the effects of supportive-educative nursing system on maternal care behaviors and self care behaviors of school age children with thalassemia. The sample was 40 school age children with thalassemia and mothers receiving treatment at hematology center of Hadyai Hospital. The subjects were equally assigned into 2 groups by matching age and sex of child. The control group received routine nursing care while the experimental group received the supportive-educative nursing system. The research instruments were the supportive-educative nursing system, maternal care behaviors scale and thalassemia self care behaviors scale which were tested for content validity by the panel of experts. The questionnaire were tested for content validity and reliability which has Cronbach’s alpha value of .82 and .80. Respectively statistical techniques used in data analysis were means, standard deviation and t-test. Major results were as follows: 1. Maternal care behavior after received the supportive-educative nursing system was significantly better than before at level .05 2. Maternal care behavior in the experimental group after received the supportive-educative nursing system was significantly better than control group at evel. 05. 3. Self care behaviors of school age children with thalassemia after received the supportive-educative nursing system was significantly better than before at level. 05 4. Self care behaviors of school age children with thalassemia received the supportive-educative nursing system better than the control group at level. 05. | en |
dc.format.extent | 1640593 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2041 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง | en |
dc.subject | เด็ก -- การดูแล | en |
dc.subject | ธาลัสสีเมียในเด็ก | en |
dc.title | ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กของมารดาและการดูแลตนเองของเด็กวัยเรียนโรคธาลัสซีเมีย | en |
dc.title.alternative | Effcts of supportive-educative nursing system on maternal care behavior and self care behaviors of school age children with thalassemia | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเด็ก | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2008.2041 | - |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Supaporn_mu.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.