Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14506
Title: การพัฒนาระบบวัดรังสีแบบโมดูลขนาดเล็ก
Other Titles: Development of a mini-modular radiation measuring system
Authors: ธีระยุทธ เพลิดพริ้ง
Advisors: เดโช ทองอร่าม
สุวิทย์ ปุณณชัยยะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Decho.T@Chula.ac.th
Suvit.P@Chula.ac.th
Subjects: เครื่องวัดรังสี
การแผ่รังสี -- การวัด
กัมมันตภาพรังสี -- อุปกรณ์
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาระบบวัดรังสีแบบโมดูลขนาดเล็ก โดยอาศัยสัดส่วนโครงโมดูลตามมาตรฐานยูโรคาร์ดเฟรม (Eurocard frame) เป็นแนวทางและได้ออกแบบโมดูลบรรจุวงจรขนาดความกว้าง 4.5 และ 9.0 ซ.ม. สำหรับประกอบชุดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็น ในการจัดระบบวัดรังสีแบบนับรวมและแบบนับแยกเฉพาะพลังงาน ประกอบด้วยโมดูลวงจรแหล่งจ่ายไฟฟ้าศักดาต่ำ วงจรแหล่งจ่ายไบอัสศักดาสูง วงจรขยายสัญญาณพัลส์ วงจรวิเคราะห์แบบช่องเดี่ยว (SCA) วงจรนับรังสี วงจรตั้งเวลา วงจรตัดสัญญาณ/เรตมิเตอร์ และวงจรเชื่อมโยงสัญญาณกับไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อถ่ายโอนข้อมูล ระบบวัดรังสีแบบโมดูลที่พัฒนาขึ้นออกแบบและสร้างโดยเลือกวัสดุพร้อมอุปกรณ์ที่หาได้ในประเทศเป็นหลักเพื่อความสะดวกในการบำรุงรักษา ผลการทดลองจัดระบบวัดรังสีแบบนับรวมพบว่าสามารถนับรังสีที่อัตรานับสูงสุด 4.5 x 10[superscript 6] cps แสดงค่านับวัดสูงสุดที่ 10[superscript 6] - 1 ครั้ง ตั้งเวลานับรังสีได้ตั้งแต่ 1 วินาที - 99 นาที และสามารถแสดงค่าเฉลี่ยของการนับรังสีด้วยเรตมิเตอร์ได้ในย่าน 100 - 10[superscript 5] cps ในขณะที่ระบบแยกนับเฉพาะพลังงานนั้นผลทดสอบความเป็นเชิงเส้นของสเกล LLD และ [data]E ของอุปกรณ์วิเคราะห์แบบช่องเดี่ยวพบว่าให้ค่า R[superscript 2] = 0.999 และ 0.999 ตามลำดับ และจากการทดลองวิเคราะห์สเปกตรัมพลังงานด้วยหัววัดรังสี NaI(Tl) พบว่าให้ผลเป็นที่พอใจสำหรับการใช้งานด้านการเรียนการสอนและงานวิจัยพื้นฐาน.
Other Abstract: Developes a Mini-modular Radiation Measuring System (MRMS) using a guideline of Eurocard frame size for MRMS dimensional construction. The single and double width(4.5 and 9.0 cm.) of MRMS-modules were designed for assembling a set of essential electronic modules of integral and differential counting systems. Those circuit modules were:Low voltage power supply, High voltage bias supply, Pulse amplifier, Single channel analyzer, Scaler, Timer, Discriminator/Ratemeter and data interfacing circuit for data transferring to a microcomputer. The testing results for integral counting system at maximum count rate of 4.5 x 10[superscript 6] cps, maximum disply of 10[superscript 6] - 1 counts, the elapse time setting between 1 s - 99 min and the average count by ratemeter ranged from 100 - 10[superscript 5] cps could be displayed. While the linearity test of LLD and [data]E of SCA function in the differential counting system were found at R[superscript 2]= 0.999 and 0.999, respectively. From the energy spectrum analysis using NaI(Tl) scintillation detector showed satisfactory results. The system performance of MRMS was capable for educational and basic research utilizations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14506
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1027
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.1027
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
theerayuth.pdf4.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.