Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1450
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุขุมวิทย์ ภูมิวุฒิสาร-
dc.contributor.advisorทรงศักดิ์ ชุษณพิพัฒน์-
dc.contributor.authorวิเศรษฐ์ อังสุรัตน์โกมล, 2521--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-08-04T06:59:06Z-
dc.date.available2006-08-04T06:59:06Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741755511-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1451-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์หลักอย่างหนึ่งของการควบคุมระบบไฟฟ้ากำลัง คือ การควบคุมให้ระบบไฟฟ้ากำลังสามารถจ่ายโหลดได้อย่างเพียงพอและระบบสามารถดำเนินการอยู่ภายในขอบเขตที่ปลอดภัย โดยมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุด ปัจจุบันได้มีแนวความคิดที่จะจ่ายโหลดอย่างประหยัดซึ่งรวมข้อจำกัดหลายอย่างในระบบไฟฟ้า โดยอาศัยเทคนิคการหาค่าเหมาะที่สุดเพื่อให้ได้ต้นทุนการผลิตรวมของระบบต่ำที่สุด ซึ่งวิธีการนี้เรียกว่า ออปติมัลเพาเวอร์โฟลว์ ออปติมัลเพาเวอร์โฟลว์เป็นรูปแบบปัญหาการหาค่าเหมาะที่สุดแบบไม่เชิงเส้นที่คำนวณหาค่าที่เหมาะสมของตัวแปรต่าง ๆ ในระบบไฟฟ้าเพื่อให้ต้นทุนการผลิตรวมต่ำที่สุดและระบบยังดำเนินการอยู่ในขอบเขตที่กำหนด โดยการทำออปติมัลเพาเวอร์โฟลว์ที่เสนอในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ คือ วิธีโปรแกรมเชิงเส้น จากการที่ระบบไฟฟ้ากําลังต้องรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในระบบได้ โดยระบบสามารถมีเสถียรภาพหลังจากเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้โดยหาจุดทํางานใหม่ที่อยู่ภายในขอบเขตของเสถียรภาพ ซึ่งจะใช้วิธีการทดลองหาจุดทํางานใหม่ขึ้นมา ถ้าจุดทํางานที่ได้ไม่เหมาะสม จะทําการหาจุดทํางานใหม่ ร่วมกับการตัดสินใจจากประสบการณ์ของวิศวกรควบคุม โดยวิธี ดังกล่าวนี้จะใช้เวลาในการคํานวณนานและอาจได้จุดทํางานใหม่ที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหานี้ ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้เสนอแนวความคิดในการรวมข้อจํากัดทางเสถียรภาพที่ใช้ระเบียบวิธี Large Step-size Integration เข้ากับการทําออปติมัลเพาเวอร์โฟลว์แบบดั้งเดิม ซึ่งทําให้ระบบสามารถหาจุดทํางานใหม่ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ วิธีการนี้เรียกว่า การวิเคราะห์ออปติมัลเพาเวอร์โฟลว์โดยรวมข้อจํากัดทางเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าโดยจะแสดงผลการทดสอบด้วยระบบขนาด 9 บัส และระบบขนาด 39 บัส ตามลําดับen
dc.description.abstractalternativeObjective of power system control is to maintain loads and to operate the system within its security limit with an objective to minimize total production cost. At present, it has an idea to economic dispatch that includes several constraints solved by optimization technique. This formulation is called an optimal power flow (OPF). OPF is non-linear optimization problem that finds optimal variables to minimize total production cost and the system should be operated within its security limit. This thesis uses linear programming to formulate OPF. Since power system should be maintained disturbances that finds new operating point by trail-and-error methods incorporating engineering experience and judgment. From this method, it takes a long time and may not be gotten suitable operating point. For solving this problem, this thesis presents to include stability constraints which is using large step-size integration method into conventional OPF. Then the system can fast find the suitable operating point. This formulation is called a stability-constrained optimal power flow (SCOPF). Simulation results are discussed in 9 buses system and 39 buses system respectively.en
dc.format.extent2604159 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectระบบไฟฟ้ากำลัง -- การจ่ายโหลดen
dc.titleการวิเคราะห์ออปติมัลเพาเวอร์โฟลว์โดยรวมข้อจำกัดทางเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าen
dc.title.alternativeA stability-constrained in optimal power flow analysisen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineวิศวกรรมไฟฟ้าen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSukumvit.P@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wises.pdf2.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.