Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14510
Title: | ฤทธิ์การต้านออกซิเดชันและคุณภาพของสารสกัดจากเปลือกของผลมังคุด Garcinia mangostana |
Other Titles: | Antioxidant activity and quality of extractives from pericarps of mangosteen garcinia mangostana |
Authors: | ศนิดา คูนพานิช |
Advisors: | วรรณา ตุลยธัญ วรินทร ชวศิริ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | vanna-tt@mail2.chula.ac.th Warinthorn.C@Chula.ac.th |
Subjects: | แอนติออกซิแดนท์ เปลือกมังคุด -- วิเคราะห์และเคมี การสกัด (เคมี) |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาฤทธิ์การต้านออกซิเดชันและคุณภาพของสารสกัดจากเปลือกของผลมังคุด ซึ่งรวมทั้งการสกัดสาร การทำให้บริสุทธิ์ และทดสอบฤทธิ์การต้านออกซิเดชันของสารสกัด ผลการศึกษาพบว่า การสกัดแบบต่อเนื่องด้วยเครื่อง Soxhlet ให้ประสิทธิภาพการสกัดสูง 19.68% (น้ำหนักสารสกัด ethanol ต่อน้ำหนักเปลือกมังคุดบดแห้ง) เมื่อเปรียบเทียบกับการสกัดด้วยวิธี maceration (12.70% น้ำหนักสารสกัด ethanol ต่อน้ำหนักเปลือกมังคุดบดแห้ง) ซึ่งเมื่อนำไปสกัดซ้ำด้วย ethyl acetate และน้ำ จะได้สารสกัด ethyl acetate เข้มข้น 14.53% (น้ำหนักสารสกัด ethyl acetate ต่อน้ำหนักเปลือกมังคุดบดแห้ง) การแยกสารสกัดเข้มข้นด้วย Silica gel column chromatography ด้วยตัวทำละลาย hexane ตัวทำละลายผสม hexane กับ ethyl acetate ตัวทำละลาย ethyl acetate และตัวทำละลายผสม ethyl acetate กับ methanol ตามลำดับ ได้สารสกัดทั้งหมด 14 fractions (B0-B13) ซึ่ง fraction ที่ B3 มีลักษณะเป็นของแข็งสีน้ำตาลแดง เมื่อตกผลึกจะได้ผลึกละเอียดสีเหลือง 2.28% (น้ำหนักผลึกละเอียดสีเหลืองต่อน้ำหนักเปลือกมังคุดบดแห้ง) สารประกอบจาก fraction ที่ B3 แสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูง โดยการฟอกจางสีของ DPPH วิเคราะห์สูตรโครงสร้างด้วยเทคนิคทาง spectroscopy (IR, [superscript 1]H-NMR, [superscript 13]C-NMR) พบว่าสารที่ได้คือ alpha-mangostin การทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันด้วยวิธี DPPH พบว่า alpha-mangostin ที่ได้มีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้ง DPPH ได้ 50% IC[subscript 50] เท่ากับ 0.0358 mM และค่ากำลังในการยับยั้งอนุมูลอิสระของสารสกัด ARP 27.9330 ผลที่ได้พบว่า alpha-mangostin มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันจึงสูง นอกจากนี้เมื่อเติมสาร alpha-mangostin ลงในน้ำมันถั่วเหลือง พบว่ายับยั้งการเกิดออกซิเดชันในน้ำมันและมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันสูงกว่า BHA. |
Other Abstract: | To study the antioxidant activity and quality of extractives from pericarps of mangosteen which included extraction, purification and test the antioxidant activity of the extractive. The results showed that continuous extraction with soxhlet apparatus significantly increased the yield (19.68% weight of ethanol extractive/weight dry pericar) of extractive as compared to maceration extractives (12.70% weight of ethanol extractive/weight dry pericarp). Further extract with ethyl acetate/water yielded ethyl acetate extractives (14.53% weight of ethyl acetate extractive/weight dry pericarp). Separation of the extractive with silica gel column chromatography eluted with hexane, mixture of hexane and ethyl acetate, ethyl acetate and mixture of ethyl acetate and methanol, respectively, yield 14 fractions (B0-B13). Fraction B3 contained red-brown solid which can be crystallized to pure yellow solid (2.28% weight of solid/weight dry pericarp). Pure compound from fraction B3 showed the best anti-oxidative effect by exhibiting the high preventive activity against bleaching of DPPH. Characterization by IR, [superscript 1]H-NMR and [superscript 13]C-NMR techniques showed that the purified compound was alpha-mangostin. Alpha-mangostin exhibited IC[subscript 50] value against DPPH at 0.0358 mM and anti-radical power (ARP) value was 27.9330. The results suggesting that alpha-mangostin has high antioxidant activity when apply directly to soy bean oil, alpha-mangostin strongly inhibited the lipid oxidation and the antioxidant activity is better than BHA. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีทางอาหาร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/14510 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.1439 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.1439 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
sanida.pdf | 1.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.